ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > ‘ดีแทค เน็ตทำกิน’ ต่อลมหายใจ คนไทยยุคโควิด-19 “หมาขายหมึก” ปรากฏการณ์ ‘คนรุ่นใหม่กลับบ้าน’

‘ดีแทค เน็ตทำกิน’ ต่อลมหายใจ คนไทยยุคโควิด-19 “หมาขายหมึก” ปรากฏการณ์ ‘คนรุ่นใหม่กลับบ้าน’

28 เมษายน 2021


ข่าวประชาสัมพันธ์

วิธาร ไชโย หรือ ‘หมา’

‘ดีแทค เน็ตทำกิน’ ช่วยต่อลมหายใจ คนไทยยุคโควิด-19 หมาขายหมึก: มองปรากฏการณ์ ‘กลับบ้าน’ ของคนรุ่นใหม่ เมื่อโลกออนไลน์เปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจ 4.0

ในช่วง 6 ทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยอย่างต่อเนื่องได้นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านจากสังคมเกษตรมาสู่อุตสาหกรรม และก่อให้เกิดการย้ายถิ่นของแรงงานจากชนบทสู่เมือง ส่วนหนึ่งเพราะความไม่มั่นคงทางการเกษตร ความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษาและรายได้ ความแตกต่างของแรงงานค่าจ้างระหว่างเขตชนบทและเมือง และความต้องการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ

วิธาร ไชโย หรือ ‘หมา’ หนุ่มชาวจันทบุรีวัย 30 ปี เป็นอีกผู้หนึ่งที่ย้ายถิ่นฐานจากภูมิลำเนาในจังหวัดจันทบุรีมาสู่กรุงเทพฯ เพื่อไปร่ำเรียนในระดับมัธยมศึกษาและปริญญาตรี แต่เมื่อเขาทำงานที่บริษัทอีเวนต์แห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ ได้ 2 ปี เขากลับรู้สึกเหนื่อยหน่ายกับความเร่งรีบ รถติด และแออัดของกรุงเทพฯ ขณะเดียวกัน เขาคิดถึงท้องน้ำและแผ่นฟ้าอันเงียบสงบของชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จึงตัดสินใจเดินทางกลับจันทบุรีเพื่อไปเริ่มชีวิตบทใหม่ที่บ้านเกิด

จุดเริ่มต้นแห่งการเป็นผู้ประกอบการ

“ผมมีความรู้เรื่องวัตถุดิบอาหารทะเลอย่างลึกซึ้ง วัตถุดิบสดไม่สดดูยังไง เพราะผมออกเรือจับหมึกกับพ่อตั้งแต่เด็กๆ ก่อนนำปลาหมึกที่พ่อจับได้มาย่างขาย ซึ่งมีหลากหลายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นปลาหมึกกล้วย หมึกกระดอง หมึกหอม หมึกสาย ซึ่งผมนำความรู้ความเชี่ยวชาญที่ผมมีมาเปิดเป็นร้านขายปลาหมึกย่างเล็กๆ แถววงเวียนปลาพะยูน บริเวณหาดเจ้าหลาว สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดบ้านเกิดผม” วิธารเล่าถึงที่มาที่ไปของเส้นทางแห่งการเป็นนายตัวเอง

จุดเด่นของร้าน ‘หมาขายหมึก’ คือวัตถุดิบที่สดใหม่ มีเรือและท่าเรือของตัวเองที่ห่างจากร้านของเขาไปเพียงไม่กี่กิโลเมตร โดยการออกเรือครั้งหนึ่ง เรือรุ้งตะวันของพ่อเขาจะใช้เวลาประมาณ 5 วันต่อการออกเรือหนึ่งรอบ โดยของทะเลจะขึ้นทุกวันพฤหัสบดี ซึ่งมีหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นปลากระตัก ปลาจรง ปลาช่อนทะเล และที่ขาดไม่ได้คือปลาหมึก ซึ่งวิธารนั้นรับปลาหมึกทั้งหมดไปจำหน่ายที่ร้านของเขา

“เมื่อเรือขึ้นแล้ว ทีมงานจะนำของทะเลที่ได้มาแยกชนิด อย่างปลาหมึกก็จะมีการคัดไซส์ แบ่งเป็นเล็ก กลาง ใหญ่ จากนั้นนำไปทำความสะอาด และทำตามกระบวนการต่อไป อย่างหมึกกระตอยก็จะนำไปตากแห้ง เช่นเดียวกับหมึกศอกขนาดใหญ่ที่นำไปจำหน่ายไหว้เจ้าตามธรรมเนียมของคนจีน บางส่วนก็จะนำไปแช่แข็งทันที เพื่อให้ลูกค้าได้รับประทานแต่ของสดและอร่อยเท่านั้น” เขากล่าว

นอกจากนี้ เขายังใช้เทคนิคการย่างทั้งตัว บั้งด้วยกรรไกร ตัดเป็นชิ้นพอดีคำ ส่วนไข่หมึกสดใช้วิธีการย่างแบบโบราณโดยการเอาใบตองมารอง วัตถุดิบทั้งหมดนั้นส่งตรงจากเรือ ไม่ผ่านการแช่น้ำยาใดๆ วิธารใช้เทคนิคชาวเลล้างทำความสะอาดหมึกสดด้วยน้ำเค็ม ทำให้หมึกคงรสชาติ ผนวกกับเทคนิคการย่างด้วยเตาถ่าน แบบใส่ใจตัวต่อตัว ทำให้สินค้าเป็นที่ถูกอกถูกใจคอปลาหมึกย่าง

ทำให้ดีต้องรู้ลึกรู้จริง

ในความเห็นของวิธารนั้น การจะทำสิ่งใดก็ตาม ต้องทำให้สุด เชี่ยวชาญไปเป็นอย่างๆ เขาจึงเลือกขายเฉพาะปลาหมึกย่าง ซึ่งของร้านหมาขายหมึกนั้นมีเอกลักษณ์คือรสชาติที่หอม สด กรอบแบบธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นคาว นอกจากความพิเศษของวัตถุดิบแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือน้ำจิ้ม หรือที่ชาวจันทบุรีเรียกกันว่า ‘พริกเกลือ’ อันเป็นสูตรเฉพาะตัวของทางร้านและทำสดวันต่อวัน ใช้พริกขี้หนูสวนเม็ดเล็ก ปั่นด้วยรากผักชี ประโคมด้วยกระเทียมอย่างถึงเครื่อง ส่วนมะนาวต้องเป็นมะนาวเขียวที่แช่เย็น สดใหม่เท่านั้น

นอกจากปลาหมึกสดและปลาหมึกตากแห้งแล้ว วิธารยังได้พัฒนาสินค้าอื่นๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบด้วยการแปรรูปพร้อมทาน เช่น หมึกกระตอยต้มน้ำดำ และไข่หมึกย่างใบตองที่นำไปอุ่นพร้อมทานได้เลย

ออนไลน์เปิดโอกาส

ผู้ประกอบการชาวเลรายนี้เลือกที่จะแบ่งปันภูมิปัญญาชาวบ้านและความรู้ด้านอาหารทะเลผ่านเฟซบุ๊กเพจ ‘หมาขายหมึก’ อีกด้วย ซึ่งนอกจากผู้ชมจะเพลิดเพลินไปกับของทะเลนานาชนิดแล้ว ยังสามารถเลือกช้อปของทะเลระหว่างการไลฟ์สด เพียงทิ้งคำสั่งซื้อไว้ที่ช่องคอมเมนท์หรืออินบ๊อกซ์ทางเฟซบุ๊ก เมื่อลูกค้าทำการสั่งซื้อและชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ของจะถูกส่งตรงถึงหน้าบ้านของลูกค้าทั่วไทยภายในวันถัดไป โดยมีการแพ็คของอย่างดี รักษาความสดชนิดว่าเหมือนกินกันริมทะเลเลยทีเดียว

“หลายคนอาจสงสัยว่าของทะเลจะขายทางออนไลน์ได้จริงหรือ มันขายได้ เพียงแต่เราต้องเข้าใจและเชี่ยวชาญในสินค้าของเรา เพื่อให้สามารถรักษาคุณภาพตามที่เราต้องการได้” วิธารอธิบาย

หลังจากที่เขาได้เข้าร่วมอบรมกับทีมงาน ‘ดีแทค เน็ตทำกิน’ โดยช่วยตั้งชื่อร้านและชื่อเพจหมาขายหมึก พร้อมทั้งถ่ายคลิปวิดีโอร้านลงเพจเฟซบุ๊ก จนทุกวันนี้มียอดคนดูคลิปกว่า 3 ล้านวิว ทำให้ร้านของเขาเป็นที่รู้จักมากขึ้น กลายเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กของหาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี

“การมีตัวตนบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญมาก การมีความรู้เรื่องการขายออนไลน์ ทำให้มียอดขายที่ดีขึ้น คนรู้จักมากขึ้น ยิ่งขายไปเรื่อยๆ ก็มีลูกค้าประจำ และทำให้ธุรกิจอยู่ตัว ที่สำคัญเราไม่จำเป็นต้องไปกระจุกตัวในเมืองเหมือนแต่ก่อน ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าในชุมชน” เขาทิ้งท้าย

โครงการ ดีแทค เน็ตทำกิน เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้เข้าร่วมฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะและสร้างรายได้จากช่องทางออนไลน์ ติดตามเราได้ผ่านเพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/dtacnetforliving/


How the son of a fisherman escaped the city by building a business online

Vithan Chaiyo, a 30-year-old native of Chanthaburi province, moved from Bangkok for his secondary education and a bachelor’s degree. After his graduation, he worked as an event organizer for two years during which he felt suffocated by the stress of urban life. Missing the vast expanses of sea and sky of his province, he quit his job and headed back home for a new chapter in his life, one where learning to sell online would play a critical part.

Beginning of Entrepreneurship

“I know seafood. I can tell which ingredient is fresh and which is not. I’d go catch squids with my dad during my childhood. Our catch was then grilled for sale. We’d catch many types of mollusks: squid, cuttlefish, bigfin reef squid, and octopus. So, after I returned to my hometown, I used my knowledge to open a small stall selling grilled squid near the beach,” Mr. Vithan said.

The stall, named Hma Khay Hmuk, stands out because of its fresh ingredients. Mr. Vithan has his own pier and fishing trawler, which is moored just a few kilometers away from the stall. Each fishing expedition takes “Roong Tawan”, the boat owned by Mr. Vithan’s father, about five days. Normally, its catch will be unloaded at the pier every Thursday. When Roong Tawan returns from the sea, it has many types of sea animals on it – anchovy, torpedo scad, cobia, and of course squids. All the squid caught by the Roong Tawan go to Hma Khay Hmuk, which prides itself on its fresh ingredients.

After being grilled, the squids are cleaned with seawater and cut into bite-size pieces, while squid eggs are grilled on banana leaves in a charcoal oven, the traditional way. In addition to its all-natural techniques, Hma Khay Hmuk’s secret sauce is, well, its secret sauce. Made daily, it consists of small hot peppers crushed with parsley roots and garlic and splashed with fresh lime juice.

Mr. Vithan claims the sustainability of his business does not rest solely on the quality of his grilled squid. He also credits online sales with allowing him to make a living in a rural area

Mr. Vithan shares his seafood knowledge with his fans through his stall’s Facebook page: Hmakhayhmuk. As Mr. Vithan shows a dazzling range of seafood during his live sessions, he also takes orders. Once the purchase order is confirmed with a payment, the seafood will be delivered to their home the next day.

“We cannot ignore the online world anymore. Some people doubt that it’s possible to sell seafood online. The secret is to be an expert in your field and uphold quality,” Mr. Vithan said.

Mr. Vithan attended a training with the dtac “Net for Living” team before he named his stall and Facebook page Hma Khay Hmuk. The team recorded a video clip about his stall and uploaded it on Facebook to help Mr. Vithan promote his business. To date, the clip has already attracted more than three million views. With growing recognition, Hma Khay Hmuk is now a landmark on Chanthaburi’s Chao Lao Beach.

“A digital presence is very important these days. It enables us to sell our products online. And when our followers come to Chanthaburi, they drop by my stall,” Mr. Vithan said.

But what Mr. Vithan is most thankful for is the confidence that he won’t have to go back to Bangkok to make a living.

dtac Net for Living provides training to entrepreneurs wishing to develop new revenue streams online. Follow us on https://www.facebook.com/dtacnetforliving/