ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > EXIM BANK เผยผลการดำเนินงาน 9 เดือน ปี’63 เคียงข้างผู้ประกอบการไทยเร่งฟื้นฟูธุรกิจจากวิกฤติโควิด-19

EXIM BANK เผยผลการดำเนินงาน 9 เดือน ปี’63 เคียงข้างผู้ประกอบการไทยเร่งฟื้นฟูธุรกิจจากวิกฤติโควิด-19

26 ตุลาคม 2020


ข่าวประชาสัมพันธ์

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยผลการดำเนินงานในรอบ 9 เดือนของปี 2563 (มกราคม-กันยายน 2563) ว่า EXIM BANK มีสินเชื่อคงค้าง 129,771 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20,027 ล้านบาท หรือ 18.25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการค้า 34,836 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อการลงทุน 94,935 ล้านบาท ทั้งนี้ การปล่อยสินเชื่อของ EXIM BANK ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 116,353 ล้านบาท เป็นปริมาณธุรกิจของ SMEs 40,284 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 34.62%

การสนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยายฐานการค้าและการลงทุนไปยังต่างประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 EXIM BANK มีวงเงินสนับสนุนสินเชื่อโครงการระหว่างประเทศรวมทั้งสิ้น 94,835 ล้านบาท โดยเป็นสินเชื่อคงค้างจำนวน 55,483 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12,717 ล้านบาท หรือคิดเป็น 29.74% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ EXIM BANK มุ่งเน้นการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยายการส่งออกและลงทุนไปยังตลาดใหม่ (New Frontiers) ซึ่งรวมถึงกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 มีสินเชื่อคงค้างจำนวน 39,990 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,308 ล้านบาทหรือ 15.30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและเป้าหมายการดำเนินงานของ EXIM BANK ภายใต้ทีมไทยแลนด์ ภายหลังการเปิดสำนักงานผู้แทนของ EXIM BANK ในย่างกุ้ง เวียงจันทน์ และพนมเปญเมื่อปี 2560-2562 และปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการเปิดสำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในเวียดนามเป็นลำดับต่อไป

สำหรับการให้บริการประกันการส่งออกและการลงทุนเพื่อช่วยให้ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจได้อย่างมั่นใจ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ผู้นำเข้าในต่างประเทศมีโอกาสที่จะชำระเงินล่าช้าหรือประสบปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 125,192 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28,420 ล้านบาทหรือ 29.37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

นอกจากนี้ EXIM BANK ได้สนับสนุนผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณฟื้นตัวจากโควิด-19 โดยติดต่อไปยังลูกค้าทุกราย เพื่อสอบถามความต้องการของกิจการ และออกมาตรการช่วยเหลือ/เยียวยาลูกค้า ประกอบด้วยการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือน สำหรับลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อทั้งระยะสั้นและระยะยาวกับ EXIM BANK การขยายเงื่อนไขบริการประกันการส่งออก การสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ ทั้งสินเชื่อระยะยาวและสินเชื่อระยะสั้น อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 2% ต่อปี เพื่อนำไปใช้หมุนเวียนในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกและลงทุนที่ได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากโควิด-19 ปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ ต่อเติม ปรับปรุงโรงงาน หรือส่งเสริมการจ้างงาน รวมทั้งเครื่องมือทางการเงินในการบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น บริการประเมินความเสี่ยงผู้ซื้อ/ธนาคารผู้ซื้อในต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีข้อมูลในการตัดสินใจค้าขายกับผู้ซื้อในต่างประเทศ และประกันการส่งออก เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ

ขณะเดียวกัน EXIM BANK ยังสนับสนุนด้านข้อมูลและความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ โดยเร่งชี้โอกาสเพื่อให้ผู้ประกอบการปรับตัวและเล็งเห็นช่องทางการค้าในตลาดใหม่ ๆ ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ด้าน e-Commerce ผ่านการให้คำปรึกษา จัดอบรม และสัมมนาออนไลน์แก่ผู้ประกอบการไทย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 EXIM BANK ได้ช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการจำนวนประมาณ 6,000 ราย วงเงินรวม 54,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ลูกค้า EXIM BANK ที่ยังประสบปัญหาในการดำเนินกิจการส่งออกหรือลงทุนระหว่างประเทศในปัจจุบันสามารถเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูผู้ประกอบการหลังสถานการณ์โควิด-19 ได้ เพื่อขอขยายระยะเวลา เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระเงินกู้ตามความต้องการของกิจการ โดยสามารถขอรับวงเงินสินเชื่อเพิ่มได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ถดถอยและกระทบต่อสภาพคล่องของผู้ประกอบการ ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 EXIM BANK มีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL Ratio) 6.26% โดยมีสินเชื่อด้อยคุณภาพจำนวน 8,120 ล้านบาท นอกจากนี้ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ (TFRS 9) ทำให้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 EXIM BANK มีค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) จำนวน 13,565 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง คิดเป็นอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) 167.05% สำหรับผลประกอบการในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 EXIM BANK มีกำไรก่อนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และสำรองอื่น ๆ เท่ากับ 1,758 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากการสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจภายนอกที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้ EXIM BANK มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 1,271 ล้านบาท

“จากผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 EXIM BANK มีกำไรก่อนสำรองกว่า 1,700 ล้านบาท แสดงให้เห็นฐานะทางการเงินที่มั่นคงและแข็งแกร่งของธนาคาร อย่างไรก็ตาม เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูกิจการของลูกค้า อันจะเป็นการขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกและเศรษฐกิจไทย ธนาคารจำเป็นต้องเร่งขยายบริการทั้งทางการเงินและไม่ใช่การเงินให้แก่ลูกค้าตามความต้องการของแต่ละกิจการที่แตกต่างไป และตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามสภาวะความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจในตลาดโลก เป็นไปตามบทบาทหน้าที่ของการเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาที่พร้อมตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของทุกภาคส่วนตามวัตถุประสงค์การก่อตั้ง โดยมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนของประเทศไทยแม้ในสภาวะที่ภาคเศรษฐกิจไทยและทั่วโลกได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในปีนี้” นายพิศิษฐ์ กล่าว

EXIM Thailand Announces 9M/2020 Operating Results Aiming to Work alongside Thai Entrepreneurs for Business Recovery amid COVID-19 Pandemic

Mr. Pisit Serewiwattana, President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), revealed that, in the first 9 months (January-September) of 2020, the Bank’s total outstanding loans amounted to 129,771 million baht, a 20,027 million baht or 18.25% growth year-on-year, comprising 34,836 million baht in trade finance and 94,935 million baht in project finance. The Bank’s loan approvals contributed to a business turnover of 116,353 million baht, of which 40,284 million baht or 34.62% came from SMEs.

In supporting Thai entrepreneurs’ expansion of trade and investment abroad in the first 9 months of 2020, EXIM Thailand recorded a total accumulated loan approval amount of 94,835 million baht for international projects, with outstanding loans accounting for 55,483 million baht, a 12,717 million baht or 29.74% growth year-on-year. EXIM Thailand has focused on encouraging Thai entrepreneurs to export to and make investment in new frontiers, which also include CLMV (Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Vietnam). As of the end of September 2020, total outstanding loans amounted to 39,990 million baht, a year-on-year increase of 5,308 million baht or 15.30%. This is in response to the government’s policy and the Bank’s operational targets under the Thailand team and by its representative offices in Yangon, Vientiane and Phnom Penh opened during 2017-2019 and in Vietnam which is now under preparation to open this year.

As regards EXIM Thailand’s export credit and investment insurance facilities to enhance Thai exporters and investors’ confidence in business start-up or expansion, particularly under the current circumstances where importers overseas are likely to delay payment or lack liquidity, in the first 9 months of 2020, the Bank recorded 125,192 million baht in export credit and investment insurance business turnover, up by 28,420 million baht or 29.37% year-on-year.

Meanwhile, with Thai economy signaling recovery from COVID-19 economic disruption, EXIM Thailand has continued its support for Thai entrepreneurs. The Bank has inquired all its clients about their needs and taken several measures to assist/revive their businesses, such as suspension of payment of principal and interest for 6 months for clients having both short-term and long-term credit lines with the Bank, relaxation of terms and conditions of export credit insurance facility, provision of short-term and long-term soft loans with a minimum interest rate of 2% per annum for use as working capital in businesses related to export and investment and affected either directly or indirectly by the virus spreading, modification of machinery and equipment, extension or renovation of factories, or labor retention or employment. The Bank has also provided financial tools for management of international trade risks through assessment of risks associated with foreign buyers/buyers’ banks so that Thai entrepreneurs have information available for their decision in trading with foreign buyers and offering of export credit insurance facility to hedge risks of foreign buyers’ non-payment for goods. Moreover, the Bank has made available relevant knowledge and information to boost entrepreneurs’ competitiveness by exploring new trade opportunities in new frontiers for Thai entrepreneurs so that they adjust their businesses to accommodate such opportunities, and has also promoted e-commerce by providing entrepreneurs with advice and inviting them to training courses as well as online seminars. As of the end of September 2020, EXIM Thailand financially and non-financially assisted around 6,000 entrepreneurs, accounting for a total of 54,000 million baht. The clients with persisting problems in export or international investment can participate in the Bank’s post COVID-19 business rehabilitation schemes to apply for loan restructuring that suits their business operation and request additional credit facilities until December 31, 2021.

Under the prevailing economic circumstances, the Bank recorded NPL ratio of 6.26% as of the end of September 2020 with total NPL amount of 8,120 million baht. If based on the new financial reporting standard (TFRS 9), the Bank’s allowance for expected credit loss would be 13,565 million baht as of the end of September 2020, resulting in a strong NPL coverage ratio of 167.05%. EXIM Thailand’s profit before expected credit loss and other reserves in the first 9 months of 2020 amounted to 1,758 million baht. However, due to higher allowance for expected credit loss in line with the current high-risk external economic situations, the Bank posted a net loss of 1,271 million baht.

“Considering the operating results in the first 9 months of 2020, EXIM Thailand posted pre-provisioning profit of more than 1,700 million baht, hence the Bank’s strong and stable financial standing. However, in order to support, revive and rehabilitate the clients’ businesses which will subsequently help drive the country’s export and economy, we have to accelerate our offering of both financial and non-financial facilities to meet the clients’ diverse requirements and set aside allowance for expected credit loss to cope with global economic uncertainties. This is in line with the Bank’s role and establishment objective as a development bank well positioned to respond to the needs and expectations of all sectors. Our ultimate goal is to drive Thailand’s international trade and investment strategies even in the backdrop of the prolonged COVID-19 crisis,” added Mr. Pisit.