ThaiPublica > ThaiPublica Channel > ThaiPublica Podcast > ข่าวเจาะ EP 17 ทศวรรษถัดไปของไทย ธุรกิจโตอย่างไร เมื่อคนไทยกว่า 40% เข้าสู่วัยเกษียณ

ข่าวเจาะ EP 17 ทศวรรษถัดไปของไทย ธุรกิจโตอย่างไร เมื่อคนไทยกว่า 40% เข้าสู่วัยเกษียณ

25 กันยายน 2020


ข่าวเจาะ EP 17 ทศวรรษถัดไปของไทย ธุรกิจโตอย่างไร เมื่อคนไทยกว่า 40% เข้าสู่วัยเกษียณ

คุณลัทธกิตติ์ ลาภอุดมการ นักวิเคราะห์จาก KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ผู้จัดทำบทวิเคราะห์ “ทศวรรษถัดไปของไทย ธุรกิจโตอย่างไรเมื่อคนไทยกว่า 40% เข้าสู่วัยเกษียณ” ได้มาเล่าเรื่องราวปัญหาที่น่ากังวลคือ นับจากวันนี้ไปอีก 10 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจไทยกำลังจะเจออุปสรรคและความท้าทายใหม่ ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จากทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยเองและโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

จากข้อมูลล่าสุด ประเทศไทยกำลังเป็นประเทศแรกๆของโลก ที่กำลังเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย คือ จะคนไทยมากกว่า 40% จะเข้าสู่วัยเกษียณและเตรียมเกษียณ ขณะที่ประเทศยังติดกับดักรายได้ปานกลาง เป็นการแก่ ก่อนที่จะรวย

ในปี 2015 ที่ผ่านมา เป็นปีแรกที่คนไทยวัยทำงานมีจำนวนลดลง โดยในปี 2020 อายุเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 40 ปี แก่ที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย

ในปี 2028 ประชากรโดยรวมของไทยจะค่อยๆลดลง และในปี 2030 คนไทย 42% จะมีอายุมากกว่า 50 ปี เป็นวัยเกียณ หรือเตรียมเกษียณ

ในปี 2040 โครงสร้างประชากรของไทยจะเปลี่ยนไป สัดส่วนผู้สูงอายุต่อคนวัยทำงานในปัจจุบันที่มีสัดส่วน 1:4 จะเปลี่ยนเป็น 1:2 และในปี 2050 ในคนไทยทุก 3 คน จะมีผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี จำนวน 1 คน

รายการข่าวเจาะตอนี้ จะพาคุณผู้ฟังไปสำรวจปัญหาว่า 10 ปีข้างหน้านี้ไทยจะเจอกับความท้าทายสำคัญด้านใดบ้าง โครงสร้างเศรษฐกิจไทยจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ธุรกิจแบบไหนที่จะเติบโต แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวใหม่คืออะไร เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการหาทางออกอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง นำไปสู่ข้อเสนอแนะทางนโยบายของภาครัฐในการเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น

บทวิเคราะห์ฉบับเต็ม “ทศวรรษถัดไปของไทย ธุรกิจโตอย่างไรเมื่อคนไทยกว่า 40% เข้าสู่วัยเกษียณ”

  • “The Long View” 10 ปีข้างหน้าไทยจะเจอความท้าทายสำคัญด้านใดบ้าง เมื่อคนกว่า 40% เข้าสู่วัยเกษียณ
  • ดำเนินรายการโดย จิรัฐิติ ขันติพะโล

    อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง

  • Youtube
  • Soundcloud
  • Apple Podcast
  • Google Podcast
  • Spotify