ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > ทำความเข้าใจเด็ก Gen Z ผ่านสายตาของน้องๆ ค่าย YSLC 2.0

ทำความเข้าใจเด็ก Gen Z ผ่านสายตาของน้องๆ ค่าย YSLC 2.0

20 กันยายน 2020


ข่าวประชาสัมพันธ์

น้องๆ จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี, โรงเรียนกสิณธรเซนต์ปีเตอร์ และโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี จับกลุ่มเพื่อเข้าค่าย YSLC2.0. โดยดีแทค ดีป้า และกองทุนสื่อ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา Cyberbullying ในชื่อทีม “ถ้าเธอโดนแกล้ง เราคือเพื่อนกัน”

ทำความเข้าใจเด็ก Gen Z: อ่านปัญหา สถานะ และความหวังต่อสังคมที่พวกเขาต้องการ ผ่านสายตาของน้องๆ ค่าย YSLC2.0

ประเทศไทยกำลังถูกท้าทายด้วยมรสุมของปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากท้อง ความยากจน การศึกษา สิ่งแวดล้อม ฯลฯ แต่หนึ่งในปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการทิศทางของประเทศอย่างมีนัยสำคัญคือ “การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” โดยปัจจุบันจำนวนประชากรไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมีจำนวนทั้งสิ้นราว 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนทั้งสิ้น 15% และคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 25% ภายใน 10 ปีข้างหน้า ขณะที่อัตราการเกิดลดลงอยู่เพียงแค่ 0.3% ต่อจำนวนประชากร จากตัวเลขดังกล่าว ทำให้การให้ความสำคัญต่อ “คุณภาพ” ของประชากรเป็นอีกหนึ่งอีกทางรอดของประเทศท่ามกลางความท้าทายนานัปการ

ดีแทคในฐานะ Corporate citizenship ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา “ทักษะ” ของเด็กและเยาวชนโดยกำหนดเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ความยั่งยืน โดยล่าสุดร่วมมือกับ “สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” หรือดีป้า และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการจัดค่าย YSCL 2.0 ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเข้าค่ายออนไลน์ เพื่อเรียนรู้ “หลักสูตรที่ไม่มีสอนในโรงเรียน” และนำเสนอโครงการเพื่อต่อยอดไอเดียของน้องๆ ผ่านเงินทุนจากผู้ใหญ่ใจดีอย่าง “ดีป้าและกองทุนสื่อ”

ท่ามกลางการผลิบานของพลังเยาวชน dtac blog ได้พุดคุยกับน้องๆ เยาวชนในค่าย YSCL 2.0 ทีม “ถ้าเธอโดนแกล้ง เราคือเพื่อนกัน” ซึ่งประกอบไปด้วย น้องฟิล์ม – ฐิตาพร มั่งคั่ง อายุ 18 ปี น้องฟลุ๊ค – สหรัฐ สุวรรณวงศ์ อายุ 18 ปี และน้องฝน – ธัญลักษณ์ ศรีรัตนัย อายุ 17 ปี จากโรงเรียนเตรียมอุดมพัฒนาการ นนทบุรี น้องเฟรนด์ – ธนารีย์ ประเสริฐดี อายุ 17 ปี จากโรงเรียนกสิณธรเซนต์ปีเตอร์ และน้องต๊อดติ – ณภัทร สมจารี อายุ 18 ปี จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี

ปัญหา: Cyberbullying เรื่องของเด็กที่ไม่เด็ก

แม้จะอยู่กันต่างโรงเรียน แต่มิตรภาพของน้องได้ก่อตัวขึ้นที่สถาบันติวเตอร์แห่งหนึ่ง และที่นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของพลังเยาวชนในการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาที่พวกเขาเผชิญอยู่ นั่นคือ “การกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์” หรือ Cyberbullying โดยน้องๆ ได้ชักชวนและฟอร์มทีม เพื่อเข้าอบรมค่าย YSLC 2.0 และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาคิดเป็นโซลูชั่นที่เรียกว่า “อบอุ่น” ซึ่งเป็นแชทบอทที่จะมาทำหน้าที่เป็น “เพื่อน” ที่คอยพูดคุย รับฟังปัญหา และคอยให้คำปรึกษาต่างๆ กับคนที่ประสบปัญหา Cyberbullying อยู่

“แต่เดิมเราก็อาจจะทำได้เพียงแค่การโคดดิ้งเบื้องต้น แต่พอเราได้เข้าโปรแกรมห้องเรียนเด็กล้ำ ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่ไม่มีในห้องเรียนอย่างการแยกแยะข่าวปลอม การทำความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ รวมถึงหัวข้อ AI chatbot ที่ทำให้เราได้เรียนรู้การสร้างแชทบอทแบบง่าย แต่ใช้งานได้จริงด้วย Dialogue flow ซึ่งทำให้พวกเรามีวิธีคิดในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถนำทักษะที่ได้เรียนรู้ร่วมมือกันประดิษฐ์ออกมาเป็น Line chatbot ที่ชื่อว่าอบอุ่นตัวนี้ได้” น้องฟลุ๊ค ผู้ซึ่งรับบทบาทในการเขียนโปรแกรมกล่าว

น้องฟิล์ม ผู้ทำหน้าที่ในการหาข้อมูลคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับการกลั่นแกล้ง บอกว่า ในหลักสูตรห้องเรียนเด็กล้ำประกอบด้วย 12 หัวข้อ แต่ละหัวข้อใช้เวลาในการเรียนประมาณครึ่งวัน ซึ่งถือว่าต้องใช้ความพยายามและการจัดสรรเวลาอย่างมีนัยสำคัญ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับความรู้และทักษะที่ได้รับมานั้นถือว่า “คุ้มค่า” ทั้งหมดไม่มีสอนในห้องเรียน มันช่วยให้เธอและเพื่อนๆ เปิดโลกทรรศน์และขยายขอบเขตความรู้ติดตัว ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของ Hard skills แต่ยังรวมถึง Soft skills ด้วย ที่ทำให้พวกเธอมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังได้อาจารย์เจนและอาจารย์เบลจาก Fab cafe มาเป็น mentor ของโปรเจ็คให้ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ไม่ได้หาได้ง่ายเลย

“ก็อาจมีความรู้สึกท้อถอยหรือล้มเลิกกลางคันบ้าง บางหัวข้ออาจไม่ได้อยู่ในความสนใจของเรา แต่เมื่อเปิดใจกับมัน สิ่งนั้นกลับกลายเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามาก อย่างเรื่องเฟคนิวส์ หรือ Data visualization ที่ให้ทักษะในการอธิบายข้อมูลด้วยแผนภูมิต่างๆ ที่เข้าใจง่าย” น้องต๊อดติ กล่าว

สถานะ: เกิดมากับมือถือ

Mcinsey&Company บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกให้นิยามของ Gen Z ไว้ว่าเป็นประชากรที่เกิดระหว่างปี 2538-2553 เป็นเด็กที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีและเข้าถึงอินเทอร์เน็ตตั้งแต่เด็ก เช่นเดียวกับฟลุ๊คที่บอกว่า ประสบการณ์ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตครั้งแรกของเขาคือช่วง “อนุบาล” โดยใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อดูการ์ตูน แต่กว่าจะมีความสามารถในการใช้งานได้จริงก็คือช่วงมัธยมศึกษาตอนต้น

“ผมว่ารุ่นผมอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีตอนปลาย คือก็ยังทันยุคเทคโนโลยีเดิมอย่างแผ่นซีดีและโซเชียลมีเดียอย่าง Hi5 อยู่บ้าง ในขณะเดียวกันก็เห็นและได้ใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเฟซบุ๊ก ยูทูปและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน” น้องต๊อดติ กล่าว

น้องๆ ทั้ง 4 คนประสานเสียงบอกว่า โทรศัพท์มือถือได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเขาไปแล้ว ตั้งแต่ตื่นนอนก็ใช้โทรศัพท์ในการตั้งปลุก ใช้มือถือในการสื่อสาร อ่านข่าวสารเหตุบ้านการเมือง หาสถานที่ท่องเที่ยวและแรงบันดาลใจต่างๆ ผ่านโลกอินเทอร์เน็ต อย่างเฟซบุ๊กจะเป็นช่องทางในการผูกมิตรกับเพื่อน อินสตาแกรมเอาไว้ติดตามเซเล็บดาราหรือเพื่อนที่เราสนใจ ส่วนทวิตเตอร์เอาไว้ติดตามข่าวหรือกระแสให้ทันเหตุการณ์ แต่สำหรับทีวีแล้ว เรียกได้ว่าเปิดน้อยมากหรือไม่ได้เปิดเลย

“การเกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีทำให้คนรุ่นพวกเรามีโอกาสมากขึ้น มีความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูล แต่ขณะเดียวกัน ก็เกิดโอกาสในการเผชิญกับความเสี่ยงที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเสี่ยงทางออนไลน์อย่าง Cyberbullying ข่าวปลอม และความรุนแรงของคอนเทนท์ที่หลายครั้งที่เราก็เสพคอนเทนท์นั้นโดยไม่รู้ตัว ทำให้ทักษะในการรับมือกับภัยออนไลน์มีความสำคัญมากขึ้น” น้องเฟรนด์ กล่าว

ความหวัง: ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

แม้น้องๆ ทั้ง 4 คนจะเกิดมาพร้อมกับโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยี แต่ขณะเดียวกัน ปัญหาที่พวกเขาเป็นห่วงอย่างมากคือ “ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพการศึกษา การเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ความพร้อมของสถานศึกษาและพื้นฐานครอบครัว โดยเฉพาะระหว่างเด็กเมืองและเด็กต่างจังหวัด

“อย่างการล็อกดาวน์ในช่วงโควิด เทรนด์ทวิตเตอร์ที่ดังมากและกลายเป็นประเด็นช่วงหนึ่งคือ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หนูมีเพื่อนนักเรียนเครือข่ายต่างจังหวัด หลายคนไม่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้ เพราะไม่มีคอมพิวเตอร์หรือมือถือ บางพื้นที่อินเทอร์เน็ตเข้าไม่ถึง ขณะที่การสอนออนไลน์ก็ยังมีความไม่พร้อมอยู่มาก เพราะด้วยการปรับเปลี่ยนกระทันหัน ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในแง่ของความเหลื่อมล้ำที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ควรได้รับการแก้ไขในระดับนโยบาย” น้องฟิล์ม กล่าวย้ำ

dtac blog ถามต่อว่าน้องๆ อยากเห็นสังคมที่คาดหวังเป็นอย่างไร?

“เราอยากเห็นสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความสุข แต่นั่นต้องเริ่มจากตัวเอง โดยเฉพาะการมีความรับผิดชอบส่วนรวมและเคารพต่อสิทธิผู้อื่น อย่างการใช้อินเทอร์เน็ต ทำอย่างไรถึงจะมีการบูลลี่ลดลง มีมารยาทในการอยู่บนโลกออนไลน์ และนี่คุณค่าที่พวกเราให้และคาดหวังต่อสังคมเช่นเดียวกัน” น้องๆ ทั้ง 4 กล่าวทิ้งท้าย

และนี่คือตัวอย่างของน้องในโครงการ YSCL2.0 จากทั้งหมด 20 ทีมที่ส่งโครงการนำเสนอ เพื่อพัฒนาไอเดียต่อยอดด้วยพลังของน้องๆ เอง เพราะดีแทค ดีป้า และกองทุนสื่อฯ เชื่อมั่นอย่างยิ่งในพลังของเยาวชน เราจึงขอเชิญชวนน้องๆ เข้ามาเรียนรู้หลักสูตรที่ไม่มีสอนในห้องเรียนกับ “ห้องเรียนเด็กล้ำ” ได้ที่ https://learn.safeinternet.camp/

Thailand’s Gen Zs tackle Cyberbullying with Chatbot

September 18, 2020 – When these teenage friends heard of dtac’s Young Safe Internet Leader Camp, they immediately knew they could contribute. Although they come from three different schools, they bonded at a tutorial school. And unfortunately, one thing they had in common is the experience of bullying.

This is an all too common problem in Thailand. Surveys indicate about 90 percent of students have experienced physical or verbal abuse. dtac thus joined hands with the Digital Economy Promotion Agency (DEPA) and the Thai Media Fund to organize an online camp where young participants opportunities can develop their ideas to make the internet a safer place for youth.

To better understand Thailand’s Gen Zs, dtacblog met 18-year-old Thitapron” Film “ Mangkang ,18-year-old Saharath “Fluke” Suwannawong and 17-year-old Thanyaluck “Fon” Srirattanai from the Triamudomsuksa Pattanakarn Nonthaburi School; 17-year-old Tanaree “Friend” Prasertdee from the Kasintorn Saint Peter School, and 18-year-old Napat “Totti” Somjaree from the Debsirin Nonthaburi School.

Cyberbullying: No Minor Issue

The team joined the YSCL 2.0 camp with the project of creating a chatbot named “Ob Oon” (warmth). Their intent was for the chatbot to listen to students suffering from bullying and provide them with advice.

“Before we joined the camp, we had only very basic coding skills. We got to study how to recognize fake news, developed a better understanding of sexual diversity, and studied how to build an AI-powered chatbot,” said Fluke.

dtac’s focus on educating children on sexual diversity stems from research that LBTQ students represent about 50 percent of bullied kids.

“With our new skills, we were able to build a simple but effective chatbot with dialogue flow. As we developed our problem-solving skills and a focus on the systematic exploration of solutions, Ob Oon grew into a function chatbot running on the popular messaging app, LINE,” Fluke added.

The camp features 12 lessons, each of which lasts roughly a half day.

“The knowledge and skills from the class are well worth it,” said Film. “These are the things we cannot find in normal classrooms. The class expanded my horizons and enriched our knowledge. It’s a good mix of soft skills and hard skills. I really liked meeting the team from FabCafe, who were our team’s mentors.”

FabCafe is a creative collaboration space where experience and budding “makers” can meet. They are among the experts that dtac pulls together to make the camp an enriching experience.

“Exposure to unfamiliar topics like fake news or data visualization proved so relevant to our projects. It equipped us with the skills to explain our data with easy-to-understand charts,” Totti said.

Status: Born with Mobile Phones

All members of the “If You Are Bullied, We Are Friends” said mobile phones are part of their lives. During the day, they use mobile phones for communications and news updates. They also browse internet with their mobile phone. They turn to Facebook to maintain ties with friends, Instagram to monitor their favorite celebrities or friends and Twitter to stay up to date about latest news. They disclose that they have hardly ever watch TV. And dtac’s research confirms that mobile penetration is nearly 90 percent among teenagers.

“Growing up with technology means we get greater opportunities and convenience in getting information. But at the same time, it means we are heavily exposed to online risks like cyberbullying, fake news and violent content. Dgital resilience is now a critical skill for all youth.” Friend said.

Hope: Bridging the Educational Inequality Gap

The team also expressed their concerns over educational inequality. They are aware that not all schools are equipped in the same way and that there are gaps between urban and rural students.

“During the COVID-19 lockdown, educational inequality became a hot topic on Twitter. Many of my friends are in the provinces. The lockdown required online learning. But they did not have a computer or a tablet. Internet services have not yet reached some areas. Online classes were not well-prepared either because the change to online mode was so sudden. Problems that arose clearly underline inequality. They are structural problems that must be addressed at policymakers’ level,” Film said.

Asked if how they expect for a better future in the society, they said they want to see a peaceful and happy society. Social responsibility and respect are core values of their generation. Regarding internet usage, they also wish to see an end to cyberbullying. This all bodes well for the future of the internet in Thailand!

The curriculum developed by dtac, DEPA and the Thai Media Fund is available at https://learn.safeinternet.camp/