ThaiPublica > Sustainability > NaTive AD > “Technology for All” สถาบันนวัตกรรม ปตท. โชว์เครื่องต้นแบบย่อยสลายเปลี่ยนขยะอาหารเหลือทิ้งให้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน

“Technology for All” สถาบันนวัตกรรม ปตท. โชว์เครื่องต้นแบบย่อยสลายเปลี่ยนขยะอาหารเหลือทิ้งให้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน

28 กันยายน 2020


“Technology for All” สถาบันนวัตกรรม ปตท. โชว์เครื่องต้นแบบย่อยสลายเปลี่ยนขยะอาหารเหลือทิ้งให้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน

การจัดการขยะเป็นความพยายามที่ทุกฝ่ายหาทางแก้ไข เพื่อตอบโจทย์แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันขับเคลื่อน ปัจจุบันปัญหาขยะชุมชนของไทยมีแนวโน้มมากถึง 28 ล้านตันต่อปี เป็นขยะตกค้างที่ไม่สามารถกำจัดได้ประมาณ 5.8 ล้านตัน ในส่วนนี้เป็นขยะเศษอาหารประมาณ 4 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 60% ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา

ด้วยนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนของ ปตท. ที่มุ่งมั่นในการดูแลสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ของปตท. ประกอบกับแนวคิด Technology for All ของผู้นำองค์กรที่ต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม สถาบันนวัตกรรม ปตท. จึงพัฒนานวัตกรรมช่วยจัดการปัญหาขยะเศษอาหารตั้งแต่ต้นทางและเปลี่ยนขยะเศษอาหารเหล่านั้นให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ครบวงจรตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยเปลี่ยนของเสียให้เป็นวัสดุที่มีคุณค่ากลับมาใช้ได้อีกโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม

สถาบันนวัตกรรม ปตท. โดยทีมวิจัยจากฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มทำการคัดเลือกและพัฒนาเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยสลายขยะเศษอาหาร โดยเชื้อจุลินทรีย์จะทำงานร่วมกับเครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติที่ได้รับการพัฒนาแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2562 ให้สามารถควบคุมสภาวะให้เชื้อจุลินทรีย์ทำงานย่อยสลายขยะเศษอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดไร้กลิ่นเหม็นรบกวน

กระบวนการทำงาน ตัวเครื่องจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ (1) ส่วนย่อยสลายขยะเศษอาหาร และ (2) ส่วนดูดซับกลิ่น โดยทั้งสองส่วนดังกล่าวได้ผ่านการออกแบบและพัฒนาเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณขยะเศษอาหารได้สูงสุดถึง 5 กิโลกรัมต่อวัน ด้วยตัวเครื่องที่มีขนาดด้านกว้าง ยาว และสูง ไม่เกิน 1 เมตร ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน รวมทั้งระบบควบคุมสภาวะต่างๆ ได้ถูกติดตั้งเพื่อควบคุมสภาวะการทำงานโดยอย่างอัตโนมัติ ผู้ใช้งานเพียงแค่เปิดเครื่องและเริ่มการใช้งานและใส่ขยะเศษอาหารพร้อมเชื้อจุลินทรีย์ได้ทันที หลังจากนั้นผ่านไป 12 ชั่วโมงก็จะได้วัสดุปรับปรุงดิน (Bio-Soil) ที่เกิดจากการย่อยสลายขยะเศษอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการบำรุงต้นไม้ให้เจริญงอกงามและบำรุงดินที่เสื่อมสภาพให้มีคุณภาพได้เป็นอย่างดี

จากนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์

สำหรับความคืบหน้าของนวัตกรรมเครื่องต้นแบบสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติ ได้ผ่านการทดสอบการใช้งานจริง ณ ห้องอาหาร สถาบันนวัตกรรม ปตท. ซึ่งวัสดุปรับปรุงดินที่ได้จากการย่อยสลายเศษอาหารได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์โดยห้องปฏิบัติการแล้วพบว่าว่ามีธาตุอาหาร NPK และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของต้นไม้ และก็ได้ถูกนำไปใช้ในการบำรุงต้นไม้ในพื้นที่ของสถาบันนวัตกรรม

จากนั้นเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2563 ที่ผ่านมา นวัตกรรมเครื่องต้นแบบย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติได้ถูกย้ายมาติดตั้งทดสอบการใช้งานจริงที่อาคารบริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) เป็นระยะเวลาร่วมกว่า 2 เดือน พบว่า เครื่องต้นแบบย่อยสลายขยะเศษอาหารอสามารถย่อยสลายขยะเศษอาหารที่เกิดขึ้นจากอาคาร EnCo ได้เป็นอย่างดีภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมง และสามารถรองรับปริมาณขยะเศษอาหารได้ถึง 5 กิโลกรัมต่อวัน โดยไม่เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนรวมทั้งเชื้อรา

จากการทดสอบการใช้งานที่ EnCo สามารถลดขยะเศษอาหารที่จำเป็นต้องนำไปกำจัดได้ทั้งหมด 139.6 กิโลกรัม และสามารถเปลี่ยนขยะเศษอาหารให้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน (Bio-soil) กลับมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด 29.06 กิโลกรัม ซึ่ง Bio-soil ที่ได้นี้ได้ถูกนำไปใช้ในการบำรุงต้นไม้ที่บริเวณอาคารจอดรถ 2 ของ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด

ด้วยความสำเร็จในงานวิจัยและการนำมาทดสอบการใช้งานจริงดังกล่าว สถาบันนวัตกรรม ปตท. จึงได้ร่วมมือกับบริษัท อินทรีย์ อีโคไซเคิล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านการจัดการของเสียอย่างครบวงจร ร่วมกันผลักดันนวัตกรรมเครื่องต้นแบบย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัตินี้ในการขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ในการใช้งานในวงกว้างต่อไป นับเป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะและเปลี่ยนขยะเศษอาหารให้มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นตามแนวคิด Circular Economy ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย Social Innovation