ThaiPublica > เกาะกระแส > นโยบายส่งเสริม Open Banking: สิ่งที่เป็น สิ่งที่คาด และสิ่งที่หวัง( ตอน 1) เพื่อปฏิวัติภาคการเงิน พลิกโฉมธุรกิจธนาคาร

นโยบายส่งเสริม Open Banking: สิ่งที่เป็น สิ่งที่คาด และสิ่งที่หวัง( ตอน 1) เพื่อปฏิวัติภาคการเงิน พลิกโฉมธุรกิจธนาคาร

15 กันยายน 2020


รายงานโดย ปัญจพัฒน์ ประสิทธิ์เดชสกุล, ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ

วิจัยกรุงศรีได้ทำการศึกษาแนวทาง Open Banking กระแสการพัฒนาในภาคการเงินโลกที่อาจพลิกโฉมธุรกิจธนาคาร จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ใช้บริการระหว่างกันทันทีโดยอัตโนมัติด้วยวิธีการที่ปลอดภัย ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนและธุรกิจได้อย่างมหาศาล พร้อมเผยแพร่ใน Research Intelligence ฉบับเดือนกันยายนในหัวข้อ นโยบายส่งเสริม Open Banking: สิ่งที่เป็น สิ่งที่คาด และสิ่งที่หวัง

ภาคการเงินมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมักนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของภาคการเงินซึ่งทำให้การดำ เนินชีวิตของประชาชนและการประกอบกิจการของภาคธุรกิจคล่องตัวขึ้นและมีต้นทุนที่ถูกลง กระนั้น การใช้บริการทางการเงินในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดสำคัญ คือ ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลยังไม่ได้รับประโยชน์จากข้อมูลธุรกรรมทางการเงินของตนที่ทำไว้กับธนาคารได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากข้อมูลยังไม่สามารถเคลื่อนที่ได้คล่องตัว Open banking คือ คำตอบที่จะทำให้ข้อมูลการเงินของสถาบันการเงินต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงถึงกันสะดวกรวดเร็วแบบไร้รอยต่อและปลอดภัย นอกจากนี้ ผู้ให้บริการทางการเงินที่สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการที่สมบูรณ์ขึ้นนี้จะสามารถให้บริการที่หลากหลายและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น อีกทั้งจะประเมินความเสี่ยงได้แม่นยำขึ้นด้วยกระบวนการดำเนินงานที่รวดเร็วและมีต้นทุนต่ำ

อย่างไรก็ตาม การพัฒนา Open banking นับว่ามีความท้าทายอยู่มากเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังไม่ใช่แค่เทคโนโลยีทั่วไปที่ต่างคนต่างพัฒนาได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่ายโดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างธนาคารที่เป็นผู้ถือข้อมูลการเงินของประชาชน ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลที่จะพัฒนาระบบเพื่อเปิดข้อมูลให้ธนาคารอื่นและบริษัทเทคโนโลยีสามารถเชื่อมต่อข้อมูลนี้ได้โดยง่าย

วิจัยกรุงศรีมองว่า การพัฒนา Open banking ในประเทศไทยมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้าน แต่ความร่วมมือระหว่างธนาคารที่มีขนาดการทำธุรกิจและมีการลงทุนในธุรกิจแพลตฟอร์มโมบายแบงก์กิ้งต่างกันนั้น อาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ง่ายด้วยกลไกตลาดปกติ ภาครัฐจึงมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือนี้ ซึ่งควรทำในลักษณะที่มากกว่าแค่การส่งสัญญาณให้ธนาคารและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือกัน แต่ควรออกกฎเกณฑ์เพื่อบังคับให้เกิดความร่วมมืออย่างจริงจัง ควบคู่กับการวางกรอบกติกาการทำ Open banking ที่เหมาะสม เช่น การวางมาตรฐาน Open API เพื่อให้การพัฒนานวัตกรรมการเงินเชื่อมต่อกับระบบได้ง่าย (Interoperability) ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกในการใช้งาน โดยที่จำเป็นต้องป้องกันปัญหาการขัดผลประโยชน์ (Conflict of interest) จากการครอบครองข้อมูลโดยบริษัทเทคโนโลยีที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง และป้องกันปัญหาการเอารัดเอาเปรียบจากบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในการเป็นผู้ใช้ข้อมูลการเงินแต่ฝ่ายเดียว (Free rider)

นอกจากนี้ ภาครัฐควรประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการพัฒนาระบบ Open API ของภาคเอกชนให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยหน่วยงานนี้ควรมีความสามารถในการช่วยเหลือธนาคารและบริษัทเทคโนโลยีให้สามารถแก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบและสร้างนวัตกรรมต่อยอดจากระบบนี้ได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียว กัน ภาครัฐจำเป็นต้องมีกลไกดูแลความปลอดภัยทางด้านข้อมูลของประชาชนและสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนถึงสิทธิในการใช้ข้อมูลการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของ Open banking และระบบนิเวศการเงินของประเทศที่เข้มแข็งในอนาคตอันใกล้

“WHAT IS HAPPENING”: เทรนด์การเงินโลกกำลังวิ่งเข้าสู่ Open banking

ธุรกรรมทางการเงินไม่ว่าจะเป็นการหาเงิน ใช้เงิน เก็บเงิน หรือกู้เงิน ล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนในระบบเศรษฐกิจ ผู้คนต่างต้องการความสะดวก ความรวดเร็วในการทำธุรกรรมเหล่านี้ด้วยราคาที่ย่อมเยาว์ ยิ่งหากเราต้องทำธุรกรรมกับธนาคารหลายแห่ง มันคงจะเป็นการดีถ้าธนาคารแต่ละแห่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของเรากันเองทันทีโดยอัตโนมัติด้วยวิธีการที่ปลอดภัย โดยที่เราไม่ต้องเป็นผู้เดินส่งเอกสารระหว่างธนาคาร ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะช่วยลดภาระของธนาคารและผู้ใช้บริการแล้ว ยังจะช่วยย่นระยะเวลาในการทำธุรกรรมบางอย่างที่ปกติอาจจะต้องใช้เวลาเป็นวันให้สามารถเกิดขึ้นได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกจากนี้ อำนาจในการต่อรองจะกลับมาอยู่ที่ผู้ใช้บริการที่จะสามารถให้ธนาคารหลายๆ แห่งแข่งกันให้ข้อเสนอที่ดีที่สุด ทำให้มีทางเลือกในการใช้บริการมากกว่าเดิม ในขณะเดียวกัน ยิ่งสถาบันการเงินมีข้อมูลการเงินของผู้ใช้บริการครบถ้วนเท่าใด ก็จะยิ่งสามารถประเมินความเสี่ยงได้แม่นยำขึ้นสามารถให้บริการในราคาที่ถูกลง ตลอดจนสามารถเสนอบริการต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการได้ดียิ่งขึ้นด้วย สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ด้วย Open banking

Open banking คืออะไร
Open banking คือ การที่ผู้ให้บริการทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินหรือบริษัทเทคโนโลยี สามารถใช้ข้อมูลการเงินของผู้ใช้บริการจากสถาบันการเงินแห่งต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ซึ่งช่องทางเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือ API หรือ Application Programming Interface

API เป็นวิธีการที่ซอฟต์แวร์สื่อสารถึงกันซึ่งทำให้การทำงานของแอปพลิเคชันต่างๆเชื่อมต่อกับระบบได้อัตโนมัติ และเมื่อนำมาผนวกกับคำว่า Open เราจะได้คำว่า Open API ซึ่งคือ การเปิดให้แอปพลิเคชันต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อระบบกันได้ โดยที่แอปพลิเคชันหรือบริษัทผู้ให้บริการแก่ประชาชนไม่ต้องติดต่อทำข้อตกลงกับบริษัทที่ถือข้อมูลมาก่อน Open API มีความสำคัญเนื่องจากสามารถนำไปสู่ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลหรือ Open data ที่ทำให้แอปพลิเคชันสามารถดึงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว (ภาพที่ 1 ) ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าระบบ Open API เป็นการทำลายกำแพงที่ปิดกั้นข้อมูลจำนวนมหาศาลไว้ และเอื้อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างสูงสุด

ตัวอย่างหนึ่งของ Open API ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายแล้ว คือ API ของ Google Maps ที่เป็นแอปพลิเคชันแผนที่และบอกทิศทาง และเปิดข้อมูลแผนที่ให้แอปพลิเคชันอื่นๆ เรียกใช้งานได้ ทำให้มีแอปพลิเคชันจำนวนมากอาศัยข้อมูลแผนที่นี้สร้างลักษณะเฉพาะ (Feature) ในการระบุตำแหน่งที่อยู่ เส้นทางการเดินทาง และคำนวณระยะเวลาเดินทางได้ เช่น แอปพลิเคชันร้านอาหารอาจเชื่อมต่อกับ Google Maps ผ่านช่องทาง API เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกดูที่ตั้งของร้านผ่านแผนที่ในแอปพลิเคชัน Google Maps ได้ เป็นต้น

Open API ของผู้ให้บริการแห่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนตัวชิ้นส่วน LEGO ที่สามารถนำมาประกอบเพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์ได้อีกมากมาย โดยปัจจุบันมีธุรกิจเกิดใหม่จำนวนมากในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ประสบความสาเร็จจากการใช้ Open API ของ Google เช่น อุปกรณ์ดิจิทัลที่ใช้ติดตามกิจกรรมการออกกาลังของผู้สวมใส่อย่างเช่น Applewatch และ Fitbit แพลตฟอร์มให้บริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าอย่างเช่น Grab และ Lineman ซึ่งใช้ข้อมูลที่ตั้งและแผนที่ผ่าน API ในการประเมินค่าโดยสาร การแสดงตำแหน่งผู้ใช้บริการ และการติดตามตำแหน่งของผู้ให้บริการแบบ Real time (ภาพที่ 2)และแพลตฟอร์มธุรกิจอื่น ๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งใช้ข้อมูลพิกัดตาแหน่งสถานที่ของ Google เป็นหนึ่งในลักษณะสาคัญของการบริการ สาหรับการให้บริการทางการเงิน Open banking สามารถทำผ่านระบบการรับรองตัวตนและการขอใช้ข้อมูลได้หลายระบบ ระบบหนึ่งที่มีการใช้กันแพร่หลายคือ OAuth 2.0 ซึ่งจะมีขั้นตอนการรับรองตัวตนและการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้ข้อมูลผ่าน Open APIs ของสถาบันการเงินต่าง ๆ ด้วยรหัส (Token) ซึ่งมักมีการตั้งให้รหัสมีอายุการใช้งานในช่วงเวลาเพียงสั้น ๆ เพื่อความปลอดภัยด้านข้อมูล (ภาพที่3)

Open API ในระบบการเงินจะทำให้เกิดนวัตกรรมการเงินใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น

เมื่อบริษัทเทคโนโลยีหรือธนาคารสามารถเข้าถึงข้อมูลการเงินของลูกค้าจากสถาบันการเงินต่าง ๆ อย่างสะดวก ก็จะสามารถให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ ได้ (ตารางที่ 11)ตัวอย่างเช่น การให้บริการแอปพลิเคชันเครื่องมือบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Financial Management Tools: PFM tools ) แก่บุคคลทั่วไป โดยอาศัยการรวมข้อมูลการเงินอย่างครบถ้วนจากธนาคารทุกแห่งมาไว้ในที่เดียวเพื่อใช้วิเคราะห์รายรับรายจ่ายและประมาณการกระแสเงินสด ช่วยติดตามการใช้จ่ายและแจ้งเตือนการจ่ายบิล เพิ่มความสะดวกในการจัดเก็บใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ แนะนำแหล่งเงินออมที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ช่วยบริหารจัดการหนี้ หรือแม้กระทั่งแนะนำโปรโมชันของสินค้าที่ผู้ใช้บริการซื้อประจำ อีกตัวอย่างของการใช้ Open APIในภาคการเงิน ได้แก่ การขอสินเชื่อผ่านแอปพลิเคชันของบริษัทเทคโนโลยี ที่เรียกข้อมูลธุรกรรมการเงินจากธนาคารต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานยื่นให้ธนาคารพิจารณาทันทีด้วยระบบอัตโนมัติ จากปัจจุบันที่ผู้ใช้บริการจะต้องขอข้อมูลส่วนตัวในรูปแบบกระดาษ เช่น หลักฐานการเดินบัญชี จากธนาคารที่ใช้บริการประจำพื่อนำไปเป็นหลักฐานให้กับธนาคารอีกรายถึงแม้ปัจจุบันจะเริ่มมีการให้ข้อมูลเป็นรูปแบบดิจิทัลก็ตาม ผู้ใช้บริการยังต้องเป็นผู้นำส่งข้อมูลด้วยตัวเองอยู่ดี นอกจากนี้ ข้อมูลมักไม่ได้จัดอยู่ในรูปแบบที่ธนาคารอีกแห่งสามารถนำไปประมวลผลได้ทันที (Machine readable) และอาจเสี่ยงต่อการแก้ไขหรือปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งจะเห็นได้ว่ากระบวนการทั้งหมดนี้ใช้เวลาและมักมีค่าบริการ ซึ่งเป็นภาระโดยตรงของผู้ใช้บริการ

โลกการเงินกำลังมุ่งสู่ Open banking เราจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อมองย้อนดูวิวัฒนาการของภาคการเงินไทยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา (ภาพที่ 4)จะเห็นว่า เทคโนโลยีคือปัจจัยสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาด้านต่าง ๆ อันเป็นการปลดล็อคข้อจำกัดทางการเงิน ได้แก่

  • การติดตั้งระบบคู่สายเช่า (Leased line) และการพัฒนาไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเอื้อให้ธนาคารสามารถบริการผ่านตู้ ATM โดยเริ่มมีการใช้งานตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 19801 ระบบคู่สายเช่าถือเป็นเทคโนโลยีหลังบ้านสำคัญที่ช่วยให้ธนาคารส่งข้อมูลระหว่างสาขาได้อย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนต่ำ ธนาคารสามารถนำข้อมูลของลูกค้าที่ทำธุรกรรมกับสาขาต่าง ๆ มารวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลางเพื่อส่งข้อมูลล่าสุดที่ครบถ้วนไปยังจุดให้บริการลูกค้า (Customer touchpoint) ได้ทันที เอื้อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมต่างสาขาธนาคารได้ ต่อมา ธนาคารได้ปรับขั้นตอนการให้บริการทางการเงินบางประเภท เช่น การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ จากเดิมที่อาศัยดุลยพินิจของแต่ละสาขา ต่อมาย้ายมาอยู่ที่ส่วนกลาง ทำให้การทำงานของธนาคารมีมาตรฐานและความโปร่งใสขึ้น เทคโนโลยีนี้จึงนับว่าเป็นการพลิกโฉม (Disrupt) การทำงานของสาขาในลักษณะ “ต่างคนต่างอยู่”(Stand alone)อย่างไรก็ตาม การให้บริการทางการเงินยังมีต้นทุนสูง ธุรกรรมการเงินบางประเภทต้องใช้เวลาดำเนินการ และการโอนเงินระหว่างธนาคารยังไม่มีความสะดวก โดยต้องทำผ่านระบบเรียกเก็บเงินตามเช็ค (Clearing system) เช่น เช็คที่เข้าสาขาต่างจังหวัดต้องใช้เวลาถึง 7 วันในการนำเงินเข้าบัญชีลูกค้า
  • อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งและแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง เริ่มมีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรกตั้งแต่ปี 20032 ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนแก่ธนาคารแล้ว ที่สำคัญยังเป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการแก่ลูกค้าของธนาคารด้วย โดยช่องทางออนไลน์นี้สามารถรองรับการให้บริการลูกค้าได้จำนวนมากขึ้นด้วยต้นทุนที่เท่าเดิม (Scalable) จึงมีประสิทธิภาพมากกว่าการให้บริการผ่านสาขาธนาคาร นอกจากนี้ ช่องทางออนไลน์ยังเอื้อให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินได้ด้วยตัวเองโดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกประชาชนยังไม่นิยมใช้ช่องทางนี้ จนกระทั่งสมาร์ทโฟนเริ่มแพร่หลายในช่วงทศวรรษที่ 2010 ธนาคารจึงได้พัฒนาแอปพลิเคชันโมบาย
    แบงก์กิ้งซึ่งเอื้อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้สะดวกทุกที่ผ่านโทรศัพท์มือถือของตน หลังจากนั้น ธุรกรรมทางการเงินบนช่องทางออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด นอกจากนี้ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและระบบ Cloud ทำให้ผู้ให้บริการรายใหม่โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีสามารถเข้ามาประกอบธุรกิจการเงินได้ง่ายขึ้น ก่อให้เกิด Disruption ทั้งในแง่ของการแข่งขันในภาคการเงินและการให้บริการของสาขาธนาคาร
  • แม้ว่าเทคโนโลยีโมบายแบงก์กิ้งจะเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ติดต่อกับลูกค้าของธนาคาร แต่ธนาคารแต่ละแห่งต่างมีโมบายแบงก์กิ้งของตนเอง และแยกกันเก็บข้อมูลของลูกค้าที่แม้ว่าจะเป็นคนเดียวกันก็ตาม ภาคการเงินยังไม่มีระบบเชื่อมโยงข้อมูลของลูกค้าระหว่างธนาคารหรือเปิดให้ผู้ให้บริการรายใหม่ที่มิใช่ธนาคารสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาการให้บริการทางการเงิน ดังนั้น หากเปรียบเทียบธนาคารเป็นดั่งคน การพัฒนาเพียงเทคโนโลยีโมบายแบงก์กิ้งจึงเป็นเหมือนการพัฒนาแขนขาและรูปลักษณ์ของธนาคารให้เคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น หรือมีประสิทธิภาพและเข้าถึงลูกค้าได้ดีขึ้น แต่ยังไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงถึงหัวใจของการเป็นตัวกลางทางการเงิน

    Open banking จะพลิกโฉมธุรกิจธนาคารอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

    การเชื่อมโยงข้อมูลการเงินของผู้ใช้บริการจากสถาบันการเงินต่าง ๆ จะเป็นการทลายกำแพงความไม่เท่าเทียมของข้อมูล (Information asymmetry) ทั้งระหว่างผู้ให้บริการด้วยกันเอง และระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการ ทำให้สามารถเห็นข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งถือเป็นหัวใจของการทำหน้าที่เป็นตัวกลางของแพลตฟอร์ม2 และเป็นบทบาทหลักของธุรกิจธนาคาร เนื่องจาก

    1)ข้อมูลคือหัวใจของธุรกิจธนาคาร บทบาทหลักของธนาคารคือ การเป็นตัวกลางในการจัดสรรเงินจากผู้ที่ต้องการออมเงินไปให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืมเงิน (Financial Intermediary) ซึ่งในการทำหน้าที่ดังกล่าว การประเมินความเสี่ยงของผู้กู้มีความสำคัญมาก หากธนาคารไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้กู้ที่เพียงพอก็จะไม่สามารถประเมินความเสี่ยงและให้สินเชื่อในราคาที่เหมาะสมได้ แต่ด้วยข้อมูลที่เหมาะสมและมากเพียงพอ ธนาคารจะสามารถให้บริการด้วยต้นทุนความเสี่ยง (Risk cost) ที่ต่ำลง จึงสามารถทำกำไรได้มากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ธนาคารแสวงกำไรจากความไม่เท่าเทียมของข้อมูล
    2) ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีลักษณะที่เหมือนกัน ( สูงกว่าผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมอื่น) ซึ่งในทางทฤษฎี ธนาคารแต่ละแห่งสามารถเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมือนกับคู่แข่งให้แก่ลูกค้าได้ เช่น เสนอเงินกู้เงินฝากที่เหมือนกับคู่แข่งได้ แต่ในความเป็นจริง ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ของธนาคารขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete information) กับต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้ธนาคารอื่น (Switching cost) ดังนั้น การมี open banking banking มันจะทำให้ข้อมูลสมบูรณ์มากขึ้นและจะนำไปสู่การแข่งขันที่สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากขึ้น

    ดังนั้น การมี Open banking จะลดช่องทางการแสวงกำไรของธนาคารจากความไม่เท่าเทียมของข้อมูล และจะสร้างแรงกดดันให้ธนาคารหันมาแข่งขันกันที่การบริการที่ดีที่สุดสาหรับลูกค้า ซึ่งจะทาให้อำนาจการต่อรองย้ายจากผู้ถือข้อมูล (ธนาคาร) ไปอยู่ในมือของเจ้าของข้อมูล (ผู้ใช้บริการ) มากขึ้น จนอาจถึงขั้นที่ลูกค้าสามารถเลือกบริการทางการเงินบนแพลตฟอร์มรวม คล้ายกับการเลือกใช้บริการจองตั๋วเครื่องบินผ่านแพลตฟอร์มอย่าง Skyscanner หรือแพลตฟอร์มจองห้องพักของโรงแรมอย่าง Booking.com com ที่เป็นเสมือนร้านค้าที่นำผลิตภัณฑ์ของหลาย ๆ ธนาคารมาวางเสนอให้ลูกค้าได้เลือกใช้ ธนาคารที่ไม่สามารถให้บริการแพลตฟอร์มได้ด้วยตัวเองอาจต้องแปลงสภาพไปเป็นแค่ผู้ให้บริการทาง การเงินแก่แพลตฟอร์มที่ประชาชนใช้ประจำ หรือธนาคารอาจจะทำงานอยู่เบื้องหลังให้แก่บริษัทที่ให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้า

    Open Banking จึงอาจเป็นการปฏิวัติภาคการเงิน จากปัจจุบันที่ธนาคารให้บริการแก่ลูกค้าทุกขั้นตอนอย่างครบวงจร (Comprehensive Services) ไปสู่การแยกส่วน (Modularized )3ของห่วงโซ่การบริการทางการเงิน คล้ายคลึงกับการแยกส่วนบริการในห่วงโซ่คุณค่า (Value chainchain) ของอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น การผลิตรถยนต์และธุรกิจโรงแรม ที่ถูกพลิกโฉมไปก่อนหน้านี้แล้ว นักวิเคราะห์หลายคนจึงมองว่า หากมีการทำ Open API ข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วนสมบูรณ์จะเข้ามาพลิกโฉมอุตสาหกรรมการเงินครั้งสำคัญ คล้ายกับเทคโนโลยีทรงอิทธิพลอื่น ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต Cloud computing ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และ Distributed ledger (DLT) ที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมโลกก่อนหน้านี้แล้ว

    การพัฒนา Open banking ด้วยระบบ Open API ในหลายประเทศรวมถึงไทยยังอยู่ในระยะตั้งไข่

    Open banking ไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่เพราะบางประเทศพัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว โดยในปี 1999 บริษัท Envestnet Yodlee ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐฯ ได้ให้บริการทางการเงินในลักษณะการรวบรวมข้อมูลของลูกค้าจากธนาคารหลายแห่ง และในปัจจุบันมีบริษัทเทคโนโลยีที่ทำธุรกิจลักษณะนี้จานวนอย่างน้อย 112 บริษัท ซึ่งได้ระดมเงินลงทุนแล้วรวมประมาณ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำ นวนนี้มีบริษัทที่สามารถเติบโตได้เร็วมากจนมีขนาดใหญ่กว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเป็นที่รู้จักในวงการกันว่าเป็นบริษัทระดับ “ยูนิคอร์น”(ตารางที่ 2) กระนั้น ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา Open banking banking บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งไม่ได้ใช้ระบบ Open API หรือวิธีที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน แต่ใช้วิธีดึงข้อมูลของลูกค้าจากหน้าเว็บไซต์ของธนาคารโดยตรง (Screen scraping)

    การทำ API มีหลายแบบ ทั้งในมิติของผู้ใช้ข้อมูลและประเภทข้อมูล (ภาพที่ 5) โดยในมิติของผู้ใช้ข้อมูล ธนาคารอาจจะเปิด API เพื่อใช้งานเพียงแค่ภายใน (Closed API ) หรืออาจเชื่อมต่อข้อมูลกับคู่ค้าบางรายเท่านั้น(Partnered) ซึ่งทั้งสองแบบนี้ยังถือว่าเป็นระบบ API แบบปิด แต่ถ้ามีการเปิดให้ธนาคารหรือบริษัทเทคโนโลยีอื่นสามารถใช้งานได้โดยทั่วกันจึงจะถือเป็น Open API

    ในมิติของประเภทข้อมูล ธนาคารสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลหลายประเภทผ่าน API เช่น การเปิด API ข้อมูลผลิตภัณฑ์การเงินและค่าธรรมเนียมของธนาคาร การเปิด API เพื่อเชื่อมต่อระบบซอฟต์แวร์สาหรับใช้ทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านระบบของธนาคารโดยอัตโนมัติ และการเปิด API เพื่อให้ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า อาทิ ข้อมูลธุรกรรมในบัญชีกระแสรายวันของลูกค้า ข้อมูลธุรกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต โดยการส่งข้อมูลส่วนบุคคลให้บริษัทอื่นจำเป็นต้องได้รับการยินยอม (Consent) โดยเจ้าของข้อมูล ซึ่งข้อมูลแต่ละประเภทมีระดับของความอ่อนไหวและระดับของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานแตกต่างกัน

    สำหรับไทย การเชื่อมต่อส่วนใหญ่ยังกระจุกอยู่ในด้านการชำระเงิน และยังไม่ได้เปิดข้อมูลการเงินของประชาชนในลักษณะของ Open API ให้สถาบันการเงินหรือบริษัทเทคโนโลยีสามารถใช้ได้โดยข้อมูลที่ธนาคารมีการทำ Open API มักจะเป็นข้อมูลการให้บริการของธนาคารที่ประชาชนเข้าถึงได้โดยทั่วไป เช่น ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย ราคากองทุน และที่ตั้งและเวลาทำการของสาขาธนาคาร เป็นต้น หลายคนจึงอาจสงสัยว่า ทำไม Open API จึงยังไม่เกิดขึ้นในไทย

    การเปิด Open API แบบเต็มรูปแบบไม่เหมือนการพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำเสร็จแล้วสามารถเสียบปลั๊กแล้วใช้งานได้เลย แต่จะเกิดได้จากความร่วมมือของหลายฝ่ายเท่านั้น แม้ว่าในต่างประเทศจะมีตัวอย่างของธุรกิจจำนวนมากที่ทำ Open banking มาระยะหนึ่งแล้ว อีกทั้งในประเทศไทยยังมีปัจจัยที่สนับสนุนการเปิด Open API หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความต้องการของผู้บริโภค ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาของระบบนิเวศการเงินที่ก้าวหน้าไปพอสมควรแล้ว แต่การพัฒนา Open API ในไทยก็ยังไม่เกิดขึ้น เพราะกุญแจสำคัญของการทำ Open banking คือ การให้ความร่วมมือของธนาคารซึ่งเป็นผู้กุมข้อมูลการเงินจานวนมหาศาลที่จะยินยอมเปิดข้อมูลของลูกค้าตัวเองให้ผู้อื่นซึ่งเป็นคู่แข่งทางธุรกิจนำไปใช้ได้อย่างสะดวก หลายธนาคารที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะเลือกเก็บข้อมูลลูกค้าของตัวเองไว้เพื่อรักษา “แต้มต่อ” แบบเดิมต่อไป เพราะการริเริ่มเปิดข้อมูลของตนดูเหมือนไม่มีเหตุผลทางธุรกิจที่เพียงพอมารองรับ บทวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีเกมใน Box ที่ 1 ชี้ว่า ลำพังกลไกตลาดจะไม่เพียงพอที่จะทาให้เกิดความร่วมมือในการทำ Open API ข้อมูลการเงินได้ ยิ่งในกรณีที่ธนาคารมีขนาดที่แตกต่างกัน มีส่วนแบ่งตลาดต่างกัน ยิ่งจะไม่มีแรงจูงใจที่จะร่วมมือกัน

    ดังนั้น ภาครัฐจึงมีบทบาทสำคัญต่อการเปิด Open API ในภาคการเงิน การสร้างความร่วมมือระหว่างธนาคารอาจจำเป็นต้องได้รับแรงกระตุ้นจากภาครัฐไม่ว่าจะทำด้วยการออกกฎหมาย การออกมาตรการส่งเสริมอย่างชัดเจน หรือการริเริ่มโครงการโดยภาครัฐเอง นอกจากนี้ ภาครัฐยังต้องมีบทบาทในการสร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบความปลอดภัยในการระบุและยืนยันตัวตน (Identification & Authentication) สาหรับบริการทางการเงินเพื่อให้ประชาชนใช้งานได้อย่างปลอดภัย หรือความพร้อมด้านกติกา เช่น มาตรฐานในการปฏิบัติการ มาตรฐานความปลอดภัยในการส่งข้อมูลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างความไว้วางใจให้เกิดการใช้ Open Banking อย่างแพร่หลาย

    นโยบายส่งเสริม Open banking ของนานาประเทศมีความหลากหลาย แม้ว่าหลายประเทศจะเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกันว่าภาครัฐต้องส่งเสริมให้เกิด Open banking แต่นโยบายของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ซึ่งต่างจากนโยบายการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่มักใช้กรอบการกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกอย่างกรอบ Basel I-III โดยความหลากหลายของนโยบายส่งเสริม Open banking นี้มีหลายมิติ ทั้งด้านแนวทางการส่งเสริมและขอบเขตของข้อมูล

  • ตัวอย่างการส่งเสริม Open banking ของประเทศต่าง ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แนวทางหลัก6 ดังนี้ (ภาพที่ 6)
  • – แนวทางแบบกำหนดกฎเกณฑ์ (Prescriptive approach) โดยแนวทางนี้ภาครัฐใช้การออกกฎเกณฑ์หรือกฎหมายบังคับให้ธนาคารทำ Open API จึงเป็นหน้าที่ของธนาคารที่ต้องส่งข้อมูลลูกค้าให้แก่ให้บริษัทอื่นโดยต้องได้รับการยินยอมจากลูกค้ารายนั้นก่อน แนวทางนี้เป็นการส่งเสริมให้บริษัทเอกชนพัฒนาบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยอาศัยข้อมูลลูกค้าที่ถูกเก็บไว้ที่ธนาคารต่าง ๆ

    – แนวทางแบบสนับสนุน (Facilitative approach)แนวทางนี้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทสนับสนุนโดยไม่ได้ใช้การบังคับเหมือนแนวทางแรก ซึ่งในหลายประเทศภาครัฐใช้การออกแนวทาง (Guidelines) ตลอดจนตั้งมาตรฐานการทำ Open API ที่ปลอดภัยและเชื่อมต่อกับระบบอื่นได้สะดวก หรืออาจสนับสนุนโดยการริเริ่มความร่วมมือระหว่างธนาคาร

    – แนวทางแบบปล่อยตามกลไกตลาด (Market driven approach) ภาครัฐปล่อยให้ภาคเอกชนพัฒนานวัตกรรม Open API ได้เสรีโดยไม่มีการบังคับหรือออกข้อปฏิบัติใด ๆ ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ที่เลือกใช้แนวทางนี้มักจะมีภาคเอกชนที่มีศักยภาพมากพอในการริเริ่มพัฒนานวัตกรรมการเงินที่เกี่ยวข้องกับ Open banking ได้เองถึงแม้ว่าธนาคารจะยังไม่มีการเปิดข้อมูลลูกค้าผ่าน Open API ให้แก่บริษัทเทคโนโลยีก็ตาม

    ทั้งนี้ ยังมีประเทศอีกจำนวนมากที่กาลังศึกษาความเป็นไปได้ของการทำ Open banking โดยทางการยังไม่ประกาศท่าทีใด ๆ เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือในการทำ Open API นอกจากนี้ หลายประเทศยังไม่มีการออกเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดูแลการให้บริการ Open banking ในด้านอื่น ๆ เช่น มาตรฐานการให้ใบอนุญาตบริษัทเทคโนโลยีที่ไม่ใช่ธนาคารในการเข้ามาใช้ข้อมูลผ่าน Open API ของธนาคารเพื่อประกอบธุรกิจในลักษณะ Open banking หรือมาตรการห้ามบริษัทเทคโนโลยีดึงข้อมูลลูกค้าจากหน้าเว็บไซต์ของธนาคารต่าง ๆ (Screen scraping) ซึ่งถือเป็นวิธีรวบรวมข้อมูลที่ได้รับความนิยมก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลผ่าน Open API แต่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในการเข้าถึงบัญชี รวมถึงการนำข้อมูลการเงินอื่น ๆ ของผู้ใช้บริการที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการของบริษัทเทคโนโลยีไปใช้หาผลประโยชน์ทางอื่นด้วย

  • ขอบเขตของข้อมูลที่ส่งผ่านช่องทาง Open API มีความหลากหลายเช่นกัน ดังนี้
  • – ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคาร เช่น ข้อมูลที่ตั้งของสาขาและตู้ ATM ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และค่าบริการของผลิตภัณฑ์ต่างๆ
    – ข้อมูลบัญชีกระแสรายวัน เช่น ข้อมูลธุรกรรมในบัญชีออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำ และบัญชีเงินฝากระยะยาว
    – ข้อมูลบัญชีการชำระเงิน เช่น ข้อมูลธุรกรรมจากการใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิต และ e-Wallet
    – ข้อมูลการเงินอื่น ๆ เช่น ข้อมูลการซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ การลงทุน สินเชื่อที่อยู่อาศัย Pensions เป็นต้น
    – ข้อมูลในภาคบริการอื่นๆ เช่น การบริการสาธารณสุข การสื่อสารโทรคมนาคม การบริการของภาครัฐ เป็นต้น

    นอกจากข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการบริการของธนาคาร หลายประเทศมักจะมีการทำ Open API กับข้อมูลบัญชีกระแสรายวันและข้อมูลการชำระเงิน เนื่องจากเป็นบัญชีที่มีการใช้งานบ่อยที่สุดและสามารถแสดงกระแสรายรับรายจ่ายของผู้ใช้บริการ

    ตัวอย่างของการทำ Open API ในต่างประเทศ ได้แก่

  • แนวทางแบบกำหนดกฎเกณฑ์ (Prescriptive approach)

  • – สหภาพยุโรป ออกกฎหมายว่าด้วยบริการการชำระเงิน ฉบับที่ 2(Second Payment Service Directives: PSD 2)7 ซึ่งนับเป็นกฎหมายที่บุกเบิกการเปิด Open API และต่อมาประเทศอื่นต่างนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศของตนเองเพื่อให้ข้อมูลที่ส่งผ่าน Open API ครอบคลุมถึงข้อมูลบัญชีกระแสรายวันและการชำระเงินด้วย ทั้งนี้ กฎ PSD2 ออกมาเพื่อบังคับใช้ในภาคการเงินให้สอดรับกับกฎหมายความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation: GDPR) และมุ่งเน้นให้เกิดการโอนย้ายข้อมูล (Data portability) ของข้อมูลการเงินมากยิ่งขึ้น
    – สหราชอาณาจักร มีกรอบความริเริ่มที่เรียกว่า Open Banking Initiative8 คล้ายกับแนวทางของ PSD2 โดยบังคับให้ธนาคารพาณิชย์แลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าส่วนบุคคลและธุรกิจ รวมถึงข้อมูลที่ตั้งของสาขาและตู้ ATM ตลอดจนผลิตภัณฑ์และค่าธรรมเนียมของธนาคารผ่าน Open API นอกจากนี้ยังเพิ่มการกำหนดมาตรฐานในการทำ Open API อีกหลายด้าน และเพิ่มการช่วยเหลือในการดาเนินการเพื่อให้ใช้งานได้จริง โดยมาตรการนี้ได้บังคับใช้กับธนาคารรายใหญ่ทั้ง 9 แห่งในสหราชอาณาจักรแล้ว
    – ออสเตรเลีย มีแผนเปิด Open API สาหรับข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบัญชีกระแสรายวัน แต่ไม่ครอบคลุมถึงข้อมูลบัญชีการชำระเงิน โดยกำหนดให้สถาบันการเงินรายใหญ่ 4 แห่งร่วมกันออกมาตรฐานสำหรับ Open banking และมีแผนจะเปิดข้อมูลอุตสาหกรรมพลังงานและโทรคมนาคมในระยะถัดไปด้วย นอกจากนี้ ภาครัฐกำลังผลักดันกฎหมายสิทธิด้านข้อมูลผู้บริโภค (Consumer Data Right Act) โดยจะให้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงการเชื่อมต่อของข้อมูลด้วย ซึ่งจะแบ่งการบังคับใช้เป็นระยะต่าง ๆ โดยระยะแรกจะเริ่มที่ภาคการเงินก่อน

  • แนวทางแบบสนับสนุน (Facilitative approach)

  • – สิงคโปร์ ส่งเสริมให้เปิดข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงิน บัญชีกระแสรายวัน และการชำระเงิน ตลอดจนเผยแพร่แนวทาง (Guideline) ชื่อ Finance as a service API Playbook9 ซึ่งนอกเหนือจากการแนะนามาตรฐานด้านความปลอดภัยและธรรมาภิบาลแล้ว Guideline ฉบับนี้มีจุดเด่นที่มีการยกตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน (Common use cases) ของ Open API อย่างละเอียดเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ภาครัฐได้ร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดและสร้างความตื่นตัวต่อการพัฒนา Open API ด้วยการจัดสัมมนาเพื่อเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และความเข้าใจต่อการพัฒนา Open API
    – ฮ่องกง คล้ายคลึงกับสิงคโปร์ทั้งในรูปแบบข้อมูลที่ส่งเสริมให้เปิด ตลอดจนการเผยแพร่ Guideline Open API Framework10 เพื่อแนะนำมาตรฐาน Open API ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย (Interoperable)ตลอดจนมาตรฐานด้านความปลอดภัยและกรอบธรรมภิบาล
    -ญี่ปุ่น ธนาคารกลางญี่ปุ่นแก้ไขกฎหมายภาคการธนาคาร (Banking Act) ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับ PSD2 ของสหภาพยุโรป และมีเป้าหมายว่าสถาบันการเงิน 80 แห่งจะต้องเปิด Open API ให้ได้ภายในกลางปี 2020 แม้ว่าจะยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยสิทธิในการโอนย้ายข้อมูล (Data portability) ที่ชัดเจนก็ตาม
    – อินเดีย11 ทางการอินเดียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาคัญหลายด้านทั้งส่วนเชื่อมต่อในการชำระเงินที่เหมือนกัน (Unified Payment Interface: UPI) ที่มีการทำ pen API โดยสามารถใช้แอปพลิเคชันธนาคารเดียวชำระเงินหรือโอนเงินจากบัญชีต่างธนาคารได้ รวมถึงแอปพลิเคชันรวบรวมบัญชี (Account Aggregator)ที่เอื้อให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลของลูกค้าถึงกันได้อย่างสะดวกและลดเวลาและขั้นตอนการส่งประวัติทางการเงินเพื่อขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน และสามารถติดตามสถานะการชาระเงินได้ด้วย ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถอนุญาตให้บริษัทตัวกลางเรียกใช้ประวัติการเงินของตนที่อยู่ในสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงธนาคาร บริษัทประกันภัย โบรกเกอร์ลงทุน และกองทุนบำนาญ (Pensions)และในอนาคตยังมีแผนเปิด Open API ข้อมูลที่อยู่กับบริษัทโทรคมนาคมและสถานพยาบาล

  • แนวทางแบบปล่อยตามกลไกตลาด (Market driven approach)
  • – สหรัฐฯ มีบริษัทเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงในระดับแนวหน้าของโลกจำนวนมากซึ่งสร้างนวัตกรรมการเงินที่ก้าวหน้า แต่วิธีการให้บริการการเงินบางประเภทของบริษัทเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการโจรกรรมข้อมูลหรือการใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น การดึงข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ของธนาคารของลูกค้า(Screen scraping) ทำให้หน่วยงานกากับดูแลภาคการเงินต้องประกาศให้บริษัทเทคโนโลยีหลีกเลี่ยงการดึงข้อมูลด้วยวิธีดังกล่าว นอกจากนี้ สมาคมสถาบันการเงินเพื่อการทำธุรกรรมข้ามธนาคารอัตโนมัติ (National Automated Clearing House Association: NACHA) กาลังดาเนินการพัฒนา API ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน(API standardization) เพื่อส่งเสริมการดึงข้อมูลด้วยวิธีที่ปลอดภัย
    – จีน ในระยะแรกภาครัฐปล่อยให้ภาคเอกชนพัฒนาการให้บริการ Open banking ได้เสรีตามกลไกตลาดโดยยังไม่มีมาตรฐานการเปิด Open API และมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับนวัตกรรมทางการเงินอื่น ๆ ในประเทศ แต่เมื่อประชาชนประสบปัญหา ภาครัฐจะออกมาดูแลควบคุมความเสี่ยง ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในการใช้งานนวัตกรรมทางการเงิน ปัจจุบันทางการจีนกาลังศึกษาการออกมาตรฐานสาหรับ Open banking โดยเน้นป้องกันการโจรกรรมและการบุกรุกข้อมูลส่วนบุคคล

    อ้างอิง
    1/ ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย และการสัมภาษณ์ผู้จัดการธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง
    2/ ข้อมูลธนาคารอิเล็กทรอนิกส์อ้างอิงจากเว็บไซต์ Wikipedia
    3/ อ้างอิงจาก Allchin, C., Austen, M., Fine, A., & Moynihan, T. ( 2016 ). Oliver Wyman และ McKinsey Global Banking Annual Review. 2019
    4/ หรือทั้ง 2 ธนาคารมีโอกาสที่มากกว่า 0 ในการเปิดข้อมูล
    5/ และถ้าธนาคารเล็กคาดว่าธนาคารใหญ่มีโอกาสมากกว่า 1 3 ที่จะเปิดข้อมูล ธนาคารเล็กจึงจะเลือกเปิดข้อมูลเช่นกัน
    6/ อ้างอิงจากBIS Report on open banking and application programming interfaces. ( 2019 )
    และRothwell , G. 2018 ). Accenture
    7/ อ้างอิงจากTomlinson, N., Robinson, M., & Doyle, M. ( 2017 ). Deloitte
    8/ อ้างอิงจาก The ODI & Fingleton . 2019 ).
    9/ ABS & MAS. 2018 ).
    10/ Hong Kong Monetary Authority. 2018
    11/ D Silva , D., Filkova , Z., Packer, F., & Tiwari, S. 2019 ). BIS Papers 106