ThaiPublica > Sustainability > NaTive AD > Sustainability Revolution: A Call for Action
“KBank Private Banking” ผลักดันการลงทุนยั่งยืน

Sustainability Revolution: A Call for Action
“KBank Private Banking” ผลักดันการลงทุนยั่งยืน

2 กันยายน 2020


นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย

ความเสียหายจากโลกร้อนจะพุ่งขึ้น และเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจโลก
หากยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อัตราเดิม โลกจะร้อนขึ้นกว่า 3 องศาเซลเซียสภายในปี 2100
หากไม่แก้ไข จะเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกถึง 550 ล้านล้านดอลลาร์ (6.8 เท่าของ GDP โลก ปี 2019)
Paris Agreement ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 50% ภายในปี 2030 และเหลือ 0% ภายในปี 2050

ถ้าสำเร็จ
อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.5 องศาเซลเซียส
ความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกจะลดลงเหลือ 54 ล้านล้านดอลลาร์

การเพิ่มของก๊าซเรือนกระจกทำให้ชายฝั่งของไทยหายไปทุกปี อาหารที่รับประทาน เสื้อผ้าที่สวมใส่ การขนส่งสินค้า ล้วนแต่มีส่วนทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นต่อเนื่อง ในช่วงเวลาสำคัญเช่นนี้เราต้องการการปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่จากทุกภาคส่วน การเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่โลกที่มีการปล่อยการก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์เพื่อช่วยลดก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงจากการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ มาเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการ

เราทุกคนต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยน

  • เปลี่ยนการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
  • เปลี่ยนการดำเนินธุรกิจและการประกอบอุตสาหกรรมให้คำนึงถึงความยั่งยืนของโลก
  • เปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงทุนให้สร้างผลตอบแทนที่มั่นคงควบคู่กับการรักษาโลก ซึ่งเป็นโอกาสแห่งศตวรรษ เพื่อร่วมสร้างโลกที่ยั่งยืน
  • เปลี่ยนทุกการลงทุนให้เป็นพลังสู่ความยั่งยืน ถึงเวลาสร้างความตระหนัก บทบาทของนักลงทุนในการสร้างโลกและสังคมที่ยั่งยืน

    การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่ Lombard Odier และ KBank Private Banking เห็นว่า ถึงเวลาที่จะต้องสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในบทบาทของนักลงทุนและเป็นการสร้างโลกให้ยั่งยืน

    ด้วยเหตุนี้เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้จัดงาน SUSTAINABITY IN ACTION: Revolutionizing Our Better World through Sustainable Investing ขึ้น โดยได้เชิญ มิสเตอร์อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา คนที่ 45 เจ้าของของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ประจำปี 2007 บุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change และ มิสเตอร์ฮูเบิร์ต เคลเลอร์ หุ้นส่วนผู้จัดการ Lombard Odier Group และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุน Lombard Odier ร่วมให้ข้อมูลพร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองกับอเล็กซ์ เรนเดล นักแสดง ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่ทำงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทูตสันถวไมตรีของโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติในประเทศไทย

    กสิกรไทยไม่แค่ทำธุรกิจแต่ช่วยประเทศเติบโตยั่งยืน

    นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวเปิดงานว่า “งานในวันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงว่า ธนาคารกสิกรไทยให้ความสำคัญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change และการสร้างโลกที่ยั่งยืน”

    ปัญหาใหญ่ระดับโลกที่มีผลกระทบใกล้ตัวเรามากที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เกิดทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม อากาศแปรปรวน แต่ละภัยพิบัติเกิดขึ้นบ่อยครั้งและเสียหายมากขึ้นทุกที

    ประเทศไทยประสบทั้งภัยแล้ง น้ำท่วมที่รุนแรง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ โดยข้อมูลสถิติระดับน้ำของไทยช่วงปี 1993-2008 ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ประชากรของไทยกว่า 6-7 ล้านคนอาศัยในพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ด้านสภาวะอากาศอุณหภูมิเฉลี่ยของไทยเพิ่มขึ้นตลอด ในปี 2019 ที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยในประเทศสูงสุดในรอบ 69 ปี

    “Climate Change เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราต้องแก้ไข ต้นเหตุหลักของ Climate Change คือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่การผลิต การเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ หรือแม้แต่การบริโภค การใช้ชีวิตตามปกติก็มีส่วนที่จะสร้างก๊าซเรือนกระจกขึ้นมาแล้ว”

    ในปี 2010 ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงมากเป็นอันดับที่ 22 สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ปี 2016 ไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวมากกว่าเวียดนามเกือบเท่าตัว

    “คำถามสำหรับเราในฐานะพลเมืองของโลก และฐานะประชาชนคนหนึ่งของไทย ในฐานะนักธุรกิจ และนักลงทุน เราสามารถจะทำอะไรเพื่อมีส่วนช่วยเหลือโลกได้บ้าง สำหรับธนาคาร เรามองตัวเองว่าเราเป็นฟันเฟืองของระบบเศรษฐกิจ หน้าที่ของเราไม่ใช่แค่ทำธุรกิจ แต่ต้องช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน”

    “การรักษาสมดุลแบบนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาความยั่งยืน เพราะเราชื่อว่า ความยั่งยืนไม่ใช่หน้าที่ที่ต้องทำ แต่เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องทำ เราสร้างจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร แล้วเราเรียกว่า Green DNA”

    ปฏิวัติการลงทุนเพื่อความยั่งยืน

    มิสเตอร์ฮูเบิร์ต กล่าวว่า “Lombard Odier ผลักดันความยั่งยืนในทุกมิติของการลงทุนมากกว่า 200 ปี จนกลายเป็น DNA ที่หยั่งรากฝังลึกในประวัติศาสตร์ของธนาคาร และเราเชื่อมาตลอดว่า บริษัทที่มีรูปแบบธุรกิจบนหลักความยั่งยืนจะสามารถส่งมอบบริการที่ดีเยี่ยมได้ต่อเนื่องในระยะยาว”

    “ในโลกการลงทุน เราได้เห็นความท้าทายด้านความยั่งยืนกลายเป็นแนวโน้มที่สำคัญในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเราเชื่อว่าความท้าทายด้านความยั่งยืนในขณะที่เรากำลังพูดคุยกันอยู่ กำลังพลิกโฉมภูมิทัศน์การลงทุนอย่างเต็มที่”

    Lombard Odier รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสพัฒนาความสัมพันธ์ที่แท้จริงและเป็นพันธมิตรกับกสิกรไทย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่แรกเราได้แสวงหาคนที่มีแนวคิดเดียวกัน รวมทั้งมี DNA ที่คล้ายคลึงกัน และมีความชื่นชอบที่ตรงกัน และการได้ร่วมมือกับกสิกรไทย ทำให้ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านเราได้กลายเป็นเพื่อนกันแล้ว

    มิสเตอร์ฮูเบิร์ต ได้ร่วมแบ่งปันแนวคิดใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย

    1. การเปลี่ยนผ่านของ Climate Change น่าจะเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุด
    เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกไปแล้ว ในปีที่แล้วผลของ Climate Change สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจโลก 225 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 0.5% ของจีดีพีโลกรวมกัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ หากไม่สามารถรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสได้

    แม้ Climate Change เป็นปัญหาเร่งด่วน แต่มีพลังที่กำลังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภค นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าขึ้น ส่งผลให้มีแนวทางพลังงานที่สะอาดและมีต้นทุนต่ำลง และมีการใช้เงินทุนส่วนตัวอย่างมาก ซึ่งมีความสำคัญต่อการก้าวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำหรือคาร์บอนเป็นศูนย์

    2. การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ หรือการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ น่าจะเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด

    การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำหรือคาร์บอนเป็นศูนย์ เป็นเรื่องสำคัญของการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในยุคของคนรุ่นปัจจุบัน

    “การก้าวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำหรือคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2025 จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50% ภายใน 10 ปีข้างหน้า แต่เราไม่สามารถลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงได้ตามเวลาที่วางไว้ เพราะฟอสซิลเข้าไปอยู่ในทุกส่วนของเศรษฐกิจแบบฝังลึกมาเป็นเวลานาน เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้นหมายถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยออกมามากขึ้น”

    สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ เราต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจมาใช้พลังงานไฟฟ้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และที่สำคัญต้องเป็นไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานสะอาด เราต้องลดการใช้ฟอสซิลเพื่ออยู่บนเส้นทางพลังงานไฟฟ้า

    เราต้องหาแนวทางที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมเพราะมีความจำเป็นและเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ

    3. เป็นผลที่ตามจากสองเรื่องแรก การปฏิวัติที่สำคัญอย่างมาก คือ การสร้างโอกาสในการลงทุนที่น่าสนใจ

    การเปลี่ยนผ่านของระบบเศรษฐกิจตามที่ต้องการจะเกิดขึ้นได้จริง จะต้องทำให้เกิดการพัฒนาในหลายด้านในน่าสนใจ ด้านแรก ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุม ซึ่งต้องมีการลงทุน โดยมีข้อมูลบ่งชี้ว่าต้องมีการลงทุนมากถึง 7% ของจีดีพีโลก ด้านที่สอง บริษัทสามารถที่จะนำเสนอแนวทางในการดำเนินการเพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ รวมทั้งบริษัทที่นำเสนอแนวทางในการปรับตัวเข้ากับสภาพการอันเกิดจาก Climate Change

    “ดังนั้นจึงเป็นโอกาสแท้จริงของบริษัทเหล่านี้ที่จะลงทุนในการเปลี่ยนผ่านของตัวเอง และจะมีส่วนแบ่งมากขึ้น รวมทั้งดิสรัปต์บริษัทที่มีอยู่เดิม เพราะสามารถผลิตด้วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ต่ำกว่าเดิม”

    “เรามีมุมมองทางบวก และเชื่อว่าโลกธุรกิจ ผู้บริโภค นักลงทุน และผู้กำหนดนโยบายตระหนักและเข้าใจถึงความเร่งด่วนของการปรับไปสู่ net zero economy และการเปลี่ยนผ่านนี้เริ่มขึ้นแล้วและกำลังเปลี่ยนแปลงการลงทุนอย่างเต็มที่”

    สำหรับ Lombard Odier โชคดีมากที่ 15 ปีก่อนได้พบกับบริษัท เจเนอเรชัน อินเวสท์เมนต์ (Generation Investment Management LLP) ซึ่งหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งคือมิสเตอร์อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่มีบทบาทในการรณรงค์ลดโลกร้อน

    นักลงทุน นักธุรกิจมีบทบาทสำคัญแก้ไข Climate Change

    มิสเตอร์อัล กอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริษัท Generation Investment Management LLP ผู้ก่อตั้งและประธานโครงการ The Climate Reality หุ้นส่วนอาวุโสของ Kleiner Perkins Caufield & Byers และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของ Apple Inc. ได้ร่วมพูดคุยผ่านระบบออนไลน์จากสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า โลกกำลังประสบกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เหตุการณ์ของการเกิดภาวะอากาศแบบสุดขั้วกำลังกลายเป็นเรื่องปกติ เกิดถี่มากขึ้น และสร้างความเสียหายมากขึ้น

    “เราเห็นได้ถึงความเชื่อมโยงชัดเจนมากขึ้นว่า ขณะนี้ที่เรากำลังพัฒนาโลกให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น อีกด้านหนึ่งเรากำลังทำลายระบบนิเวศของโลกด้วย”

    จุดเปราะบางที่สุดของระบบนิเวศคือ ชั้นบรรยากาศของโลกที่บางลงมาก โมเลกุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับองค์ประกอบอื่นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศได้สะสมมาระยะหนึ่งแล้ว จึงส่งผลให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำลายสถิติใหม่ทุกปี จนกลายเป็นเรื่องปกติ

    ปี 2019 เป็นปีที่ร้อนที่สุดอีกครั้งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ยังประเมินอีกว่า มีโอกาส 70% ที่ปี 2020 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดอีกปีหนึ่ง และอาจะทำสถิติใหม่

    นอกจากนี้ ความร้อนที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดฝนตกหนักมาก รวมทั้งยังทำให้พายุไต้ฝุ่น พายุเฮอริเคน มีความรุนแรงขึ้นและนำไปสู่จำนวนพายุที่ฤทธิ์ทำลายล้างรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนยังทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่กำลังประสบกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับที่อื่นๆ ของโลก ทั้งนิวยอร์ก ไมอามี ฟลอริดา เกาะที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากมีความเปราะบางมากขึ้น

    “ความร้อนที่สูงขึ้นมีผลต่อน้ำท่วมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก นำไปสู่ความเสียหายของพืชผลทางการเกษตร การขาดแคลนน้ำจืดในหลายภูมิภาคทั่วโลก”

    “แน่นอนว่าผมสามารถพูดถึงความเสียหาย และผลที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนได้อีกมาก แต่ผมก็อยากจะพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในทางบวกบ้าง เพราะ เรามีแนวทางในการจัดการกับ Climate Change สิ่งที่เราต้องการคือเจตนารมณ์ทางการเมืองเพื่อดำเนินนโยบายเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต่อการแก้ไขปัญหา Climate Change ซึ่งตรงนี้นักลงทุน นักธุรกิจ สามารถมีบทบาทที่สำคัญ”

    บทบาทของนักลงทุน นักธุรกิจ ในการแก้ไข Climate Change มีความสำคัญ ปัจจุบันผู้จัดการกองทุนให้ความสำคัญกับ Climate Change มากขึ้น รวมทั้งได้ตั้งคำถามว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะย้ายการลงทุนจากบริษัทที่มีส่วนในการสร้างปัญหาจากการขุดเจาะน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีการเผาผลาญสร้างมลพิษทางอากาศ และมีโอกาสทางการลงทุนและทำผลตอบแทนหรือไม่จากการจับกระแสการเปลี่ยนผ่านนี้”

    “ผมขอบอกว่า เรามีแนวทาง ผู้นำทางธุรกิจกำลังเดินอยู่บนเส้นทางนี้และมีนักลงทุนจำนวนหนึ่งให้การสนับสนุนทางการเงิน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม”

    นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างที่น่าสนใจอีกหลายด้าน ทั้งนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืน บริษัท Generation Investment Management LLP มีความเห็นตรงกันกับ Lombard Odier ว่า เราอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติความยั่งยืน ซึ่งจะมีผลต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมขนานใหญ่ เมื่อผนวกกับการปฏิวัติด้านดิจิทัล บนพื้นฐานของเทคโนโลยีใหม่ เช่น AI, machine learning หรือเทคโนโลยีอื่น

    เราในตอนนี้จึงมีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติความยั่งยืน เพื่อลดการปล่อยก๊าซจากการกระทำของมนุษย์ได้อย่างมาก ทั้งมลพิษจากก๊าซเรือนกระจก และหยุดการกระทำที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น แต่เริ่มฟื้นฟูความสมดุลระหว่างความเจริญกับระบบนิเวศของโลก

    “ผมเชื่ออย่างสุดใจว่า เราจะประสบความสำเร็จในการก้าวไปสู่การเปลี่ยนผ่าน เราต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการใช้พลังงาน เราต้องปรับระบบขนส่งให้เป็นระบบไฟฟ้า เราต้องมุ่งไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ circular economy ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้มีขยะน้อยที่สุด นำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ เราต้องนำการปฏิวัติความยั่งยืนเข้าไปสู่ภาคเกษตร”

    “ผมเชื่อว่า นักลงทุนและผู้นำธุรกิจมีบทบาทสำคัญ รัฐบาลต้องเปลี่ยนนโยบาย แต่หากธุรกิจแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อเศรษฐกิจ ก็จะเพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลทำมากขึ้น”

    SUSTAINABILITY REVOLUTION:A CALL FOR ACTION

    นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ระบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปัจจุบัน เป็นระบบเศรษฐกิจที่ไปสู่ความไม่ยั่งยืน เป็นระบบที่เน้นการสร้างความเติบโตโดยการเพิ่มการบริโภค โดยการเพิ่มการผลิต ทุกครั้งที่เพิ่มการผลิต เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ก็มีการเพิ่มมลภาวะ มีผลเสียต่อสภาวะแวดล้อมและสังคมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังถูกปล่อยออกมาในอัตราเดิมไปจนถึงสิ้นศตวรรษนี้ จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันถึง 550 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่าขนาดเศรษฐกิจโลกโดยรวมในปี 2019 ถึง 7 เท่า

    สำหรับประเทศไทย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดอันดับแรก 40% มาจากการใช้ไฟฟ้า ซึ่งการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยยังใช้พลังงานฟอสซิลที่มีการเผาไหม้ปล่อยก๊าซ รองลงมาคือการขนส่ง และกระบวนการผลิตอาหาร โดยเฉพาะการแปรรูปเนื้อ

    หากปล่อยให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น คาดว่าภายในปี 2100 อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้น 3-6 องศาเซลเซียส

    “เราต้องยอมรับว่า เราทุกคนมีส่วนร่วมกับการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจแบบนี้และกำลังรับผลที่เกิดขึ้น และผลที่เกิดขึ้นมาใกล้ตัวมากขึ้นทุกขณะ ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องดำเนินการ”

    นายจิรวัฒน์กล่าวว่า โลกยังมีทางออกเพราะมีความพยายามผ่านระบบขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบใหม่ เป็นระบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า CLIC economy ซึ่งย่อมาจาก circular คือการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน lean คือการลดความสูญเปล่าหรือใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า inclusive คือความเท่าเทียมกันทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม และ clean คือเศรษฐกิจบนสิ่งแวดล้อมสะอาด

    “เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่การปฏิวัติเพื่อความยั่งยืน หรือ sustainability revolution และเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบที่สามารถสร้างความเติบโตโดยไม่ทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้กับโลก มุ่งสู่ CLIC economy”

    การขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบนี้มีแรงผลักดันใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) นโยบายจากภาครัฐ มีความสำคัญที่ทำให้เกิดนวัตกรรม มีส่วนสำคัญทำให้ clean หรือการผลิตแบบสะอาด มีต้นทุนต่ำลง เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน (carbon credit) ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตแบบเดิมสูงขึ้น เห็นได้ชัด คือ เมื่อก่อนถ้าอยากจะช่วยโลกด้วยการซื้อสินค้าที่ช่วยโลกหรือลงทุนในบริษัทที่ช่วยโลก ต้องซื้อในราคาสูงหรือลงทุนในราคาสูง ต้องเสียสละ แต่ปัจจุบันสามารถซื้อสินค้าที่ช่วยโลก สามารถลงทุนในบริษัทที่อยู่ในระบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สะอาด ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

    ในปี 2027 การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะมีต้นทุนถูกว่าการผลิตรถยนต์แบบเดิม เดิมคนที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเสียสละ และในอนาคตอันใกล้นี้ รถยนต์ไฟฟ้า เช่น เทสลา จะมีราคาถูกลง หรือ cleaner is cheaper

    2) ผู้บริโภค ที่มีความตระหนักรู้ต่อสถานการณ์และหลีกเลี่ยงการใช้สินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องเปลี่ยนวิธีการในการใช้สินค้าแบบสะอาด ไม่ใช้สินค้าที่สร้างความเสียหายให้กับโลก สร้างมลพิษให้กับโลก 3) เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและมีราคาถูกลง เอื้อให้ธุรกิจสามารถสร้างกำไรไปพร้อมๆ กับความยั่งยืนได้ และ 4) เงินของนักลงทุน ที่จะสนับสนุนบริษัทที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ส่งเสริมให้บริษัทเหล่านี้ชนะในการผลิตแบบใหม่ให้สร้างผลสำเร็จให้กับโลกได้

    โอกาสลงทุน
    คาดต้องมีการลงทุน 5.5 ล้านล้านดอลลาร์ (7% ของ GDP โลก ปี 2019) ต่อปี ไปจนถึงปี 2030
    5 ปี ที่ผ่านมา เงินไหลเข้ากองทุนที่คำนึงถึง Climate Change แล้วกว่า 15,000 ล้าน ดอลลาร์
    ส่งผลให้ขนาดสินทรัพย์เพิ่มขึ้นมาที่ 37,000 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน

    Lombard Odier ผู้ให้บริการไพรเวตแบงก์ระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 220 ปี พันธมิตรของ KBank Private Banking ได้แบ่งบริษัทเป็น 2 ประเภท โดยใช้นกกระจอกเทศเป็นสัญลักษณ์แทนกลุ่มแรก ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ เป็นผู้ที่กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ย่ำอยู่กับที่และทำแบบเดิม มองว่าการทำแบบใหม่มีต้นทุน มองการณ์ระยะสั้น ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่ง นกอินทรี เป็นสัญลักษณ์ผู้ชนะ เป็นคนกล้าที่จะเปลี่ยน ปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสโลก มีวิสัยทัศน์มองเห็นการเปลี่ยนแปลง พร้อมจะปรับเปลี่ยน ทั้งกระบวนการและกลยุทธ์ สร้าง DNA ความยั่งยืนเป็นกลยุทธ์ในระยะยาว สร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน

    “คนที่เปลี่ยนเป้าหมายจากการทำกำไรอย่างเดียวมาเป็นเป้าหมายหลายด้านหรือ multiple objective ได้แก่ profit, people และ planet จะเป็นผู้ชนะ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน กลุ่มนี้สามารถสร้างผลประกอบการที่ยั่งยืน สร้างผลตอบแทนให้นักลงทุนได้”

    ในกลุ่มผู้ชนะ Lombard Odier ยังได้แบ่งธุรกิจที่มีศักยภาพไว้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ธุรกิจผู้ชนะในโลกที่มีการจำกัดปริมาณคาร์บอน (carbon-constrained world) ได้แก่ ธุรกิจที่ผลิตสินค้าหรือให้บริการที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (solution provider) โดยตรง เช่น พัฒนาซอฟต์แวร์ให้การใช้ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น และ 2) ธุรกิจผู้ชนะในโลกที่ได้รับความเสียหายจากคาร์บอน (carbon-damaged world) ได้แก่ กลุ่มธุรกิจที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากภาวะโลกร้อน เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงแข็งแรงขึ้น และธุรกิจที่วิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงด้านการเงินจากปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

    ตัวอย่างของบริษัทในด้าน solution provider ได้แก่ 1) Air Liquide ที่ปฏิวัติกระบวนการผลิตมาใช้แบบเผาผลาญอากาศหรือ air combustion มาใช้การสันดาปออกซิเจนแทน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2) Infineon ผลิตชิปสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยให้ประหยัดพลังงาน ใช้ไฟน้อยปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อย 3) Daikin ปฏิบัติการผลิตน้ำยาแอร์ R32 ที่ทำความเร็วได้เร็วขึ้นประหยัดพลังงานมากขึ้น ทำให้เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟได้มาลดการปล่อยก๊าซคารร์บอน ก๊าซมีเทน 4) Darling บริษัทที่เก็บขยะจากการปรุงอาหาร น้ำมันทอดอาหาร เศษอาหารมาผลิตอาหารสัตว์ ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ทำให้เกิดการ reuse และ recycle

    ส่วนในกลุ่ม transition candidate มีทั้งผลิตพลังงานสะอาด พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น Orsted ที่ผลิตพลังงานลมในทะเล NEXTERA Energy ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ

    นอกจากนี้ยังมี Microsoft ที่ประกาศว่า การดำเนินงานของบริษัททุกขั้นตอนจะใช้พลังงานสะอาด ไม่ใช้พลังงานจากฟอสซิล แต่เป็นพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด รวมทั้งจะจะก่อตั้งกองทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์เพื่อลงทุนในธุรกิจที่สร้างพลังงานสะอาด

    “KBank Private Banking และ Lombard Odier สัญญาว่าจะเป็นสื่อกลางในการสร้างทางเลือกให้เพื่อเป็นช่องทางการแก้ไข Climate Change โดยหนึ่งในการทางเลือกคือร่วมลงทุนในบริษัทที่เป็นนกอินทรี เป็นธุรกิจที่มีความยั่งยืน ส่งเสริมให้เป็นพลังในการขับเคลื่อนโลกที่ยั่งยืน เราพร้อมที่จะเปลี่ยนทุกพลังเป็นพลังการลงทุนที่ยั่งยืน”

    ในช่วงวันที่ 1 ถึง 15 กันยายน นี้ KBank Private Banking จะนำเสนอกองทุน K Climate Transition ซึ่งเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ LO Funds–Climate Transition, (USD), I Class A (กองทุนหลัก) ที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 มีมูลค่ากองทุนรวม 440 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีผลตอบแทนนับจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (YTD) เป็นบวกที่ 40% อีกทั้ง ผู้จัดการกองทุนหลักมีประสบการณ์ทำงานในการบริหารทุนในธีมนี้มา 18 ปี และสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนส่วน (alpha) เฉลี่ยเหนือตลาด 2.5–3% ต่อปี

    K-Climate Transition เป็นกองทุนที่คำนึงถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกองทุนแรกและหนึ่งเดียวของไทย มุ่งเน้นลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาใกล้ตัวและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวจากธุรกิจหลากหลายทั่วโลก เพราะเชื่อว่าธุรกิจที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมสามารถสร้างผลประกอบการที่ดีและยั่งยืนกว่าธุรกิจที่เมินเฉยสิ่งเหล่านี้

    K-Climate Transition มีการลงทุนในหุ้นประมาณ 40–50 ตัว และมี Lombard Odier เป็นผู้บริหารจัดการกองทุน

    ที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้นำเสนอกองทุนภายใต้ธีมความยั่งยืนแก่ลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง เช่น K-HIT และ K-CHANGE โดยกองทุน K-CHANGE เน้นลงทุนในธีมธุรกิจที่สร้างผลกระทบเชิงบวกในหลายมิติ เช่น สุขภาพ และความเท่าเทียม มีผลตอบแทน YTD +49% มูลค่ากองทุนรวมประมาณ 2,700–2,900 ล้านบาท

    กองทุน K-HIT เน้นลงทุนในเมกะเทรนด์ของโลก เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ยานยนต์แห่งอนาคต และเทคโนลยีสุขภาพ มีผลตอบแทน YTD +15% มูลค่ากองทุนรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท

    AUM ในครึ่งปีแรกของ KBank Private Banking ยังคงที่ มีมูลค่ารวมประมาณ 750,000 ล้านบาท โดยสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย YTD เป็นบวกเล็กน้อย ขณะที่ลูกค้าที่รับความเสี่ยงได้สูง มีผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 4%