ThaiPublica > ประเด็นร้อน > เชื่อมโลกให้ไทยแล่น > ชู“EEC Model” ตั้ง 6 ศูนย์ ปั้น“อาชีวะ” ป้อนอุตฯ ไฮ-เทค

ชู“EEC Model” ตั้ง 6 ศูนย์ ปั้น“อาชีวะ” ป้อนอุตฯ ไฮ-เทค

31 สิงหาคม 2020


เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จัดสัมมนา “การขับเคลื่อนอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC” โดยมีนายณัฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และกล่าวปาฐกถาพิเศษ ณ ห้องบอลรูม 1-2 โรงแรมแบงค็อก แมริออท เดอะสุรวงศ์

สกพอ.ชู “EEC Model” ตั้ง 6 ศูนย์ ปั้นสุดยอด “อาชีวะ” ป้อนอุตฯไฮ-เทค คาด 5 ปี ต้องการบุคลากรกว่า 4.75 แสนอัตรา

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เปิดเผยว่าจากการประมาณการความต้องการบุคลากรของ EEC ในช่วงปี 2562-2566 คาดว่าจะมีจำนวน 475,688 อัตรา โดยแบ่งเป็นความต้องการในสายอาชีวศึกษาและสายสามัญ ร้อยละ 53 และความต้องการจากหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non degree) หลักสูตรการศึกษาระยะสั้น (Short Course) ร้อยละ 47 โดยมีสถานประกอบการเข้าร่วมในการพัฒนาทักษะบุคลากรระดับอาชีวศึกษาจำนวน 377 แห่ง และระดับอุดมศึกษาจำนวน 277 แห่ง

ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ทั้งนี้ ตามแผนการดำเนินงานของ “EEC โมเดล” ในปี 2563 ได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาทักษะบุคลากรประมาณ 8,500 คน โดยแบ่งอกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1.EEC Model Type A เป็นรูปแบบที่เอกชนจ่าย 100% (เรียนฟรี มีงานทำ รายได้ดี) พัฒนาทักษะบุคลากรจำนวน 2,516 คน แบ่งเป็น

    1.1 สถาบันอุดมศึกษาจำนวน 1731 คน อาทิ สาขาวีชาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์,อากาศยาน มหาวิทยาลัยราชมคลตะวันออก และสาขาอุตสาหกรรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น
    1.2 สถาบันอาชีวศึกษาจำนวน 785 คน อาทิ สาขาวิชาบริหารจัดการโลจิสติกส์ , ยานยนต์สมัยใหม่ วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี จังหวัดระยอง เป็นต้น

2.EEC Model Type B เป็นการฝึกอบรมระยะสั้น (Short Courses) เพื่อผลิตกำลังคน ปรับทักษะ (Re skill) เพิ่มทักษะ (Up skill) ในระยะเร่งด่วน เป็นหลักสูตรแบบ Non degree และมีเงื่อนไขให้ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณไม่เกินร้อยละ 50 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 เอกชน เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งจะทำให้มั่นใจว่าจะสมารถผลิตบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถ ได้อย่างรวดเร็วตรงความต้องการ (demand) ของแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมถึง มีแผนจะขยายผลไปยังนักศึกษามหาวิยาลัยขั้นปี 3 และชั้นปี 4 ให้สามารถเก็บสะสมการฝึกอบรมระยะสั้น (Short Courses) เป็น Credit Bank ในอนาคตได้

ปัจจุบันหลักสูตรระยะสั้น ได้ผ่านการพิจารณาและรับรองหลักสูตรจกคณะทำงานศูนย์ประสานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HOC) จำนวน 82 หลักสูตร โดยพัฒนาทักษะบุคลากรรวมเป็นจำนวน 6,064 คน อาทิ ในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 54 หลักสูตร จำนวน 5,030 คน อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 21 หลักสูตร จำนวน 672 คน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3 หลักสูตร จำนวน 42 คน เป็นต้น

สำหรับปีงบประมาณ 2564 วางแผนผลิตบุคลากรเพิ่มอีก 30,000 คน ทั้งนี้ ไม่นับรวมโครงการที่รองรับสถานการณ์โควิด -19 จะผลิตเพิ่มอีก 9,500 คน ภายใต้ พ.ร.บ. เงินกู้ 400,000 ล้านบาท (กำลังขออนุมิติ)

ยกระดับศูนย์ความเป็นเลิศอาชีวศึกษา สร้างอนาคตเยาวชน EEC

สกพอ. ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ผลักดันแนวทางการจัดตั้ง “ศูนย์ความเป็นเลิศการอาชีวศึกษาในพื้นที่อีอีซี” (Excellent Center) เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะด้านให้กับนักเรียนได้อย่างตรงจุด และสามารถทำงานได้ทันทีหลังจบการศึกษา พร้อมสร้างเครือข่ายกับภาคเอกขนที่มีศักยภาพ ตลอดจนเน้นการแนะแนวการศึกษาต่อตามศักยภาพของผู้เรียน อันจะเป็นการยกระดับการอาชีวศึกษาครั้งใหญ่ในพื้นที่อีอีซี

ในเบื้องต้นศูนย์ความเป็นเลิศการอาชีวศึกษในพื้นที่อีอีซี มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา (ด้านศูนย์ยานยนต์สมัยใหม่) , วิทยาลัยเทคนิคพนมสารคาม (ด้านศูนย์ดิจิทัลและหุ่นยนต์) , วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี (ด้านศูนย์ระบบราง และ Logistic) , วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ (ด้านศูนย์ Aviation และการท่องเที่ยว) , วิทยาลัยเทคนิคระยอง (ด้านศูนย์ Automation & Robotic) และวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี (ด้านศูนย์โลจิสติกส์)

ก้าวต่อไป เร่งผลักดันอีอีซีโมเดลอย่างต่อเนื่อง

ในอนาคต ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะบุคลากรในอีอีชี ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568) จะแบ่งเป็น 4 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ 1) พัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการ (Demand Driven) ของอุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 อุตสาหกรรม ตามรูปแบบอีอีซีโมเดล 2) พัฒนาสิ่งแวดล้อม การศึกษา (Education ecology) ให้เท่าทันการปรับตัวของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยุคศตวรรษที่ 21 ในทุกระดับ 3) สร้างองค์กรความร่วมมือระหว่างสถาบันและสถานประกอบการ เพื่อให้ผลิตบุคลากรตรงโจทย์ความต้องการ 4) ผลักดันความร่วมมือด้านข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา และการพัฒนาบุคลากรใเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง