ThaiPublica > Sustainability > Global Issues > รายงาน McKinsey ชี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เจอ Climate Change แรงกว่าภูมิภาคอื่นของโลก

รายงาน McKinsey ชี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เจอ Climate Change แรงกว่าภูมิภาคอื่นของโลก

18 สิงหาคม 2020


ภาพต้นแบบจาก https://www.ncdc.noaa.gov

รายงานของ McKinsey Global Institute เรื่อง Climate risk and response in Asia ระบุว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ Emerging Asia จะเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงกว่าภูมิภาคอื่นของโลก

McKinsey Global Institute เป็นหน่วยงานวิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจของ McKinsey ได้จัดทำรายงานฉบับนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยในซีรียส์ Future of Asia เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ในเอเชีย ทั้งความเสียหายต่อสินทรัพย์ที่จับต้องได้และด้านผลกระทบต่อสังคมเศรษฐกิจที่เกิดจากความเสียหายของสินทรัพย์ และนำเสนอมาตรการสำหรับการบริหารความเสี่ยง

การศึกษาของ Mckinsey ประเมินผลกระทบใน 5 ระบบ ได้แก่ ความสามารถในการทำงานและความเป็นอยู่ ระบบอาหาร สินทรัพย์ที่จับต้องได้ บริการโครงสร้างพื้นฐาน และทุนธรรมชาติ และโดยที่ McKinsey ไม่ใช่สถาบันวิจัยสภาพภูมิอากาศจึงได้ใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ผลกระทบต่อทรัพย์สินของศูนย์วิจัย วู้ดส์ โฮล (Woods Hole Research Center:WHRC) ส่วนวิธีการศึกษาและผลลัพธ์ได้ผ่านการตรวจสอบอย่างอิสระ โดย ดร. ลุค แฮร์ริงตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบบจำลองสภาพอากาศสุดขั้วและนักวิจัยจากสถาบันการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

การวิจัยมุ่งเน้นไปที่การประเมินความเสี่ยง “โดยธรรมชาติ” นั่น คือ การบรรทาความเสี่ยงที่ขาดหายไปและการปรับตัว เพื่อทำความเข้าใจขนาดของความเสี่ยงและการตอบสนองที่จำเป็น โดยแยกการประเมินการปรับตัวที่เป็นไปได้และการตอบสนองต่อการบรรเทาเพื่อจัดการความเสี่ยง

งานวิจัยประเมิน 2 ช่วงคือ ระหว่างนี้ถึงปี 2030 และ 2030-2050 โดยเลือกใช้สถานการณ์จำลอง(Representative Concentration Pathway:RCP) ที่มีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับ 8.5(RCP8.5) เพราะภายใต้สถานการณ์จำลองที่มีการปล่อยก๊าซสูงขึ้นจะยิ่งส่งผลให้ภาพที่ได้ช่วยให้สามารถประเมินความเสี่ยงตามธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสินทรัพย์ที่จับต้องได้ในกรณีที่ไม่มีการลดก๊าซคาร์บอนเพิ่มเติม

รายงานระบุว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตอกย้ำถึงความสำคัญของความเสี่ยงและความสามารถในการปรับตัว และในขณะที่โลกกำลังมุ่งผลักดันการฟื้นตัว แต่ก็ต้องไม่ละเลยความเสี่ยงจาก climate change สภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนไปมากจากที่ทรงตัวมากว่า 10,000 ปี เอเชียเองก็เป็นภูมิภาคแรกๆที่ได้รับผลกระทบนี้ นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ ระบุว่า การที่ยังไม่มีการปรับตัวและกาารป้องกันความเสี่ยง ภัยของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ภูมิภาคนี้จะเผชิญในอนาคต ทั้งคลื่นความร้อน ไปจนถึงน้ำท่วม มีความเป็นไปได้ว่าจะเลวร้าย หรือรุนแรงมากขึ้น หรือทั้งเลวร้ายและรุนแรงกว่าเดิม

ผลกระทบในเอเชียในบางกรณีอาจรุนแรงกว่าในส่วนอื่น ๆ ของโลก ขณะที่เอเชียต้องการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและยังคงเป็นแหล่งสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นความท้าทายที่สำคัญที่ภูมิภาคจะต้องจัดการ

รายงานระบุว่า เอเชียยังอยู่ในสถานะที่ดีในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้และใช้โอกาสที่มาจากการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่ในเมืองยังคงพัฒนาขึ้นในหลายส่วนของเอเชีย ซึ่งทำให้ภูมิภาคนี้มีโอกาสที่จะมั่นใจได้ว่าสิ่งที่เพิ่มขึ้นจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นและสามารถรับมือความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้ดีขึ้น เช่นเดียวกับทั่วทุกมุมโลก เอเชียยังช่วยลดการปล่อยก๊าซได้อีกด้วย นักวิทยาวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศให้ข้อมูลว่า ภาวะโลกร้อนจะยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ ผู้กำหนดนโยบายและผู้นำทางธุรกิจสามารถใช้การริเริ่มทางนวัตกรรม ความสามารถและความยืดหยุ่น ภูมิภาคเอเชียสามารถนำการตอบสนองระดับโลกต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ โดยการปรับตัวและจำกัดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างร้ายแรงที่สุด

ภัยจากสภาพภูมิอากาศของเอเชียภายในปี2050

เอเชียเผชิญกับภัยอันตรายจากสภาพภูมิอากาศหลายด้าน โดยอาจมีผลกระทบที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศพบหลักฐานของผลกระทบที่เพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความเป็นไปได้และความรุนแรงของเหตุการณ์ที่รุนแรง ในประเทศจีนอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2017 ในมณฑลหูหนานส่งผลกระทบต่อผู้คน 7.8 ล้านคน และส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยตรงถึง 3.55 พันล้านดอลลาร์ รวมถึงความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐาน นักวิจัยได้ประเมินความเป็นไปได้ที่จะเกิดไฟป่าในออสเตรเลียและพบว่าความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่ส่งผลให้เกิดไฟป่ารุนแรงจากติดตามข้อมูลในปี 22019-2020(วัดจากดัชนีสภาพอากาศที่เรียกว่า Fire Weather Index) เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30% นับตั้งแต่ปี 1900

ภายใต้สถานการณ์จำลอง RCP 8.5 ที่มีการปล่อยมลพิษสูง นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั่วเอเชียและเกิดสภาวะความร้อนและความชื้นเพิ่มขึ้นในหลายส่วนของเอเชีย อีกทั้งมากกว่า 75% ของสินทรัพย์ทั่วโลกอาจได้รับความเสียหายจากน้ำในแม่น้ำเอ่อท่วมล้นในแต่ละปีในเอเชีย

จากสถานการณ์จำลอง RCP 8.5 รายงานได้แสดงภัยอันตรายจากสภาพอากาศที่สำคัญของเอเชียด้วยแผนที่ที่แสดงพื้นที่ในท้องถิ่นซึ่งมีแนวโน้มที่จะประสบภัยที่รุนแรงขึ้น หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้งในหลายทศวรรษข้างหน้า ทั้งนี้เป็นสำรวจภัยปี 2030 ถึง 2050

อุณหภูมิเฉลี่ย ภายใต้สถานการณ์จำลอง RCP 8.5 คาดว่าเอเชียจะประสบกับอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส ภายในปี 2050 เทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยที่ระดับและอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะแตกต่างกันตามพื้นที่ นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศคาดว่า อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ในจีน ออสเตรเลีย และอนุภูมิภาคอินเดีย และผลกระทบนี้เริ่มสะสมนอีกหลายทศวรรษหน้า

คลื่นความร้อนคร่าชีวิตคลื่นความร้อนรุนแรง หมายถึง เหตุการณ์ที่อุณหภูมิซึ่งวัดด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิกระเปาะเปียกเฉลี่ยแต่ละวันสูงเกินระดับรอดชีวิตของคนที่มีสุขภาพดีซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในร่มติดต่อกัน 3 วัน เช่น บางเมืองในพื้นที่บางส่วนของอินเดีย บังคลาเทศ และปากีสถาน ซึ่งอาจจะเป็นที่แรกของโลกที่ประสบกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงเกินระดับการรอดชีวิตของมนุษย์

ฝนตกหนัก ความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักซึ่งหมายถึงการเกิดขึ้นครั้งเดียวในรอบ 50 ปี (นั่นคือมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น 2%ต่อปี) ในช่วงปี 1950–81 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเพิ่มขึ้น 3 หรือ 4 เท่าภายในปี 2050 ภายใต้สถานการณ์ RCP 8.5 ในบางพื้นที่ รวมถึงญี่ปุ่นตะวันออก จีนตอนกลางและทางตะวันออก บางส่วนของเกาหลีใต้และอินโดนีเซีย

พายุไต้ฝุ่นรุนแรง แม้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่น่าจะเพิ่มความถี่ของพายุไต้ฝุ่นในเอเชีย แต่ก็สามารถเพิ่มความรุนแรงโดยเฉลี่ยได้ (และทำให้ความถี่ของเหตุการณ์รุนแรงเพิ่มขึ้น) ความเป็นไปได้ที่จะเกิดพายุไต้ฝุ่นรุนแรงซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีความเป็นไปได้ 1% ต่อปีในช่วงปี 1981-2000 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าภายในปี 2040 ในบางพื้นที่ของเอเชีย รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งของจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น

ภาวะแห้งแล้ง ในขณะที่โลกร้อนขึ้น ขอบเขตเชิงพื้นที่และสัดส่วนของเวลาที่ประสบภาวะแห้งแล้งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น สัดส่วนของรอบทศวรรษที่เจอสภาพแห้งแล้งทางตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรเลียอาจเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 80% ภายในปี 2050 และบางส่วนของจีนอาจใช้มีสัดส่วนของเวลาที่ประสบภาวะแห้งแล้ง 40-60%

ปริมาณน้ำเปลี่ยนไป แหล่งน้ำจืดทดแทนจะได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัยซึ่งรวมถึงรูปแบบของฝนและการระเหยของน้้ำ ในหลายพื้นที่ของออสเตรเลีย ค่ากลางของปริมาณน้ำบนพื้นผิวต่อปีอาจจะลดลงอย่างมีนัยะภายในปี 2050 ในทางตรงข้าม บางส่วนของจีนปริมาณน้ำอาจจะเพิ่มขึ้นกว่า 20% เช่นเดียวกับพื้นที่บางส่วนของอินเดียที่ปริมาณน้ำจะเพิ่มขึ้น

ภัยจากสภาพภูมิอากาศกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

รายงานได้แปลงภัยจากสภาพภูมิอากาศออกมาเป็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วทุกระบบ โดยมองไปที่ความสามารถในการทำงานและความเป็นอยู่ ระบบอาหาร สินทรัพย์ที่จับต้องได้ บริการโครงสร้างพื้นฐาน และทุนธรรมชาติ โดยนำข้อมูลมาเทียบกับภัยที่เปลี่ยนแปลงไป(เช่น น้ำท่วมในระดับความลึกที่แตกต่างกันโดยมีความเป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกัน) กับการสัมผัสกับภัยนั้น (เช่น สินทรัพย์ที่ถูกน้ำท่วม) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมต่อสินทรัพย์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแบบเส้นทรง เมื่อภัยอย่างหนึ่งอย่างหนึ่งร้ายแรงเกินกว่าที่จะร่างกายของมนุษย์จะรับได้ และเกินกว่าระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบจะทำงานได้น้อยลงหรือพังทลายและหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง เนื่องจากระบบได้พัฒนาหรือได้รับการปรับให้เหมาะสมตามระยะเวลาสำหรับสภาพอากาศในอดีต เช่น ระดับความร้อนและความชื้นที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่อความสามารถของร่างกายมนุษย์ในการทำงานกลางแจ้งและความสามารถในการอยู่รอดของมนุษย์ที่มีสุขภาพ ดี

ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นระบบ เนื่องจากผลกระทบโดยตรงในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เฉพาะอาจแพร่กระจายและมีผลกระทบลดหลั่นกัน ในโฮ จิ มินห์ซิตี้ซึ่งความเสียหายโดยตรงของโครงสร้างพื้นฐานจากน้ำท่วมรอบ 100 ปีอาจอยู่ระหว่าง 500 ล้านดอลลาร์ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2050 ค่าใช้จ่ายจากผลกระทบนี้อาจอยู่ระหว่าง 1.5 พันล้านดอลลาร์ถึง 8.5 พันล้านดอลลาร์

จากการวิเคราะห์พบว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมจากภัยด้านสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นนี้ ในหลายกรณีในเอเชียอาจจะรุนแรงกว่าส่วนอื่นของโลก เพราะขาดการปรับตัวและการจำกัดความเสี่ยง ภายใต้สถานการณ์จำลองภายในปี 2050 ประชาชนราว 600 ล้านคนถึง 1 พันล้านคนจะอาศัยในพื้นที่ที่ความน่าจะเป็นของคลื่นความร้อนที่ร้ายแรงไม่ได้อยู่ในระดับศูนย์ เทียบกับประชากรโลกที่จำนวน 700 ล้านคนถึง 1.2 พันล้านคนที่อาศัยในพื้นที่ที่ความน่าจะเป็นของคลื่นความร้อนที่ร้ายแรงไม่ได้อยู่ในระดับศูนย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือประชากรส่วนใหญ่ที่มีความเสี่ยงอยู่ในเอเชีย

ภายในปี 2050 จีดีพีของเอเชียต่อปีโดยเฉลี่ยจะมีความเสี่ยงที่จะเสียหายราว 2.8-4.7 ล้านล้านดอลลาร์จากการที่ไม่สามารถทำงานกลางแจ้งได้อันเนื่องจากความร้อนและความชื้นที่สูงขึ้น หรือคิดเป็นกว่า 2 ใน 3 ของจีดีพีโลกต่อปี และท้ายสุดสินทรัพย์ราว 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ในเอเชียจะได้รับความเสียหายจากน้ำในแม่น้ำเอ่อท่วมแต่ละปีภายในปี 2050 หรือเทียบเท่า 75% ของผลกระทบทั่วโลก

Climate change กระทบเอเชีย 4 กลุ่มอย่างไร

จากการสำรวจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 16 ประเทศในเอเชีย ซึ่งแต่ละประเทศจะพิจารณาถึงผลกระทบโดยตรงของภัยที่เพิ่มขึ้นต่อความเป็นอยู่และความสามารถในการทำงาน ระบบอาหาร ทรัพย์สินที่จับต้องได้ โครงสร้างพื้นฐานและทุนทางธรรมชาติ โดยได้พัฒนาตัวชี้วัดเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อภัยจากสภาพอากาศและแตกต่างหรือใกล้เคียงจากเกณฑ์ความยืดหยุ่นทางกายภาพอย่างไร ซึ่งประกอบด้วย

  • สัดส่วนของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ประสบกับความน่าจะเป็นของคลื่นความร้อนที่ไม่เป็นศูนย์ต่อปี (เป็นการวัดผลกระทบต่อความเป็นอยู่และความสามารถในการทำงาน)
  • สัดส่วนชั่วโมงการทำงานกลางแจ้งที่มีประสิทธิภาพรายปี ซึ่งได้รับผลกระทบจากความร้อนและความชื้นสูงในพื้นที่ที่ประสบกับสภาพอากาศ (เป็นการวัดผลกระทบต่อความเป็นอยู่และความสามารถในการทำงาน) เมื่อเชื่อมโยงกับสิ่งนี้การประเมินนี้ยังได้วัด GDP ที่มีความเสี่ยงจากชั่วโมงการทำงานที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนและความชื้น
  • แรงกดดันด้านน้ำ ซึ่งวัดจากความต้องการใช้น้ำประจำปี จากสัดส่วนปริมาณน้ำประจำปี (เป็นการวัดผลกระทบต่อความเป็นอยู่และความสามารถในการทำงาน)
  • สัดส่วนของสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่อประสบกับน้ำในแม่น้ำท่วมล้นทุกปี (เป็นการวัดผลกระทบต่อทรัพย์สินที่จับต้องได้และโครงสร้างพื้นฐาน)
  • ความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนแปลงผลผลิตทางการเกษตรสำหรับพืชหลัก 4 ชนิดประจำปี (เป็นการวัดผลกระทบต่อระบบอาหาร)
  • สัดส่วนของพื้นผิวดินที่เปลี่ยนแปลงตามการจำแนกสภาพภูมิอากาศ โดยเรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ” (เป็นการวัดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือทุนธรรมชาติ)
  • เมื่อใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้พบว่าทั้ง 16 ประเทศอาจได้รับผลกระทบโดยตรงเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างน้อยหนึ่งตัวชี้วัดภายในปี 2050 ทั้งนี้คาดว่าประเทศส่วนใหญ่ว่าจะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น ในด้านสัดส่วนชั่วโมงการทำงานกลางแจ้งที่มีประสิทธิภาพรายปี ซึ่งได้รับผลกระทบจากความร้อนและความชื้นสูงในพื้นที่ที่ประสบกับสภาพอากาศ สัดส่วนสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่อความเสียหายจากน้ำท่วมรายปีและสัดส่วนของพื้นผิวดินที่เปลี่ยนแปลงตามการจำแนกสภาพภูมิอากาศ

    การศึกษาได้จัด 16 ประเทศออกเป็น 4 กลุ่มหรือ “Four Asias” ตามการจัดไว้ในงาน Future of Asia ครั้งก่อน แม้ผลกระทบจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ในภาพรวมพบว่าปัจจัยเหล่านี้จะมีผลแตกต่างกันไปในเอเชียทั้ง 4 กลุ่ม

    การที่ใช้กรอบจัดเป็น 4 กลุ่มเพื่อกำหนดบริบทของภัยจากสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจและการตอบสนองที่อาจเกิดขึ้น แต่ละประเภทมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ซึ่งบ่งชี้ว่าแต่ละประเทศต้องการกรอบการตอบสนองที่แตกต่างกัน ความเสี่ยงทั้งหมดที่กล่าวถึงนี้อยู่ในช่วงนี้ไปจนถึงปี 2050 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น

    เอเชียชายขอบหรือ Frontier Asia กลุ่มนี้ประกอบด้วย บังคลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน ทั้งสามประเทศที่มีการพัฒนาการความเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว มีการรวมตัวระดับภูมิภาคต่ำ และมีคู่ค้าและนักลงทุนจากหลากหลายแห่งทั่วโลก ทั้งสามประเทศอาจประสบกับความร้อนและความชื้นเพิ่มขึ้นแบบสุดโต่ง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานและความเป็นอยู่ เช่น ภายในปี 2050 เอเชียชายขอบอาจจะเจอคลื่นความร้อนที่สูงขึ้นจนเป็นอันตรายกับชีวิต มากกว่าส่วนอื่นของเอเชีย

    รายงานคาดการณ์ว่าภายในปี 2040 ประชากรจำนวน 500-700 ล้านคนในเอเชียชายขอบ จะอาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดคลื่นความร้อนร้ายแรงประมาณ 20%ต่อปี

    ความร้อนและความชื้นที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานกลางแจ้งของคน เนื่องจากเหนื่อยง่ายขึ้นหรือต้องการเวลาพักมากขึ้นด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าภายในปี 2050 จะมีผลให้จีดีพีในสัดส่วนราว 7-13% มีความเสี่ยง ประเทศกลุ่มนี้อาจจะเจอเหตุการณ์ฝนตกหนักมากและฝนตักหนักถี่ขึ้นภายในปี 2050 กว่าในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20

    แม้ความร้อนจะสูงขึ้นในบางพื้นที่ ประเทศในกลุ่มนี้โดยรวมอาจจะมีภาวะแห้งแล้งที่น้อยลง จากการวิเคราะห์ของ World Resources Institute พบว่า มูลค่าสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงจากน้ำในแม่น้ำท่วมล้นเพิ่มขึ้นจาก 0.5% โดยรวมของปัจจุบันเป็น 3% ภายในปี 2050 หรือคิดเป็นมูลค่า 800 พันล้านดอลลาร์

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบเชิงลบที่มากที่สุดต่อผลผลิตทางการเกษตรของเอเชียในประเทศกลุ่มนี้ ตัวอย่างเช่น ความน่าจะเป็นต่อปีที่ผลผลิตลดลง 10% หรือมากกว่าสำหรับพืชหลัก 4 ชนิด (ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลีและถั่วเหลือง) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 12%ในขณะนี้เป็น 39% ในปี 2050 สำหรับอินเดียและจาก 40% เป็น 53% สำหรับปากีสถาน

    ความน่าจะเป็นต่อปีที่ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น 10% หรือมากกว่าสำหรับพืชหลัก 4 ชนิด (ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลีและถั่วเหลือง) คาดว่าจะลดลงจาก 17% ปัจจุบันเป็น 5% ในปี 2050 สำหรับอินเดียและจาก 38%เป็น 27% สำหรับปากีสถาน อีกทั้งคาดว่าเอเชียชายขอบจะเผชิญกับสัดส่วนของพื้นผิวดินที่เปลี่ยนแปลงตามการจำแนกสภาพภูมิอากาศ

    เศรษฐกิจเกิดใหม่เอเชีย หรือ Emerging Asia กลุ่มนี้ประกอบด้วย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ ประเทศไทยและเวียดนาม ประเทศที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายกลุ่มนี้มีสัดส่วนสูงมากในการค้าภายในภูมิภาค สินทรัพย์และกระแสเคลื่อนย้ายของคน และเป็นแหล่งแรงงานขนาดใหญ่

    กลุ่มนี้ไม่ต่างจากเอเชียชายขอบ ก็จะประสบกับความร้อนและความชื้นที่สูงขึ้น ภายในปี 2050 โดยเฉลี่ยทั้งปีจีดีพีราว 8-13% จะมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากความร้อนและความชื้นที่สูงขึ้น ภูมิภาคนี้อาจจะประสบกับเหตุการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมแบบสุดโต่ง ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมจะรุนแรง

    จากการวิเคราะห์ของ World Resources Institute พบว่า สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงจากน้ำจากแม่น้ำท่วมจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าจาก 0.7% เป็น 1.5% ภายในปี 2050 คิดเป็นมูลค่า 220 พันล้านดอลลาร์ ส่วนภาวะแห้งแล้งในภูมิภาคนี้จะเกิดน้อยลง ผลผลิตทางการเกษตรจะประสบกับความผันผวนมากขึ้น ความน่าจะเป็นที่ผลผลิตจะลดลง 10% ต่อปีจะสูงขึ้น 2% ในปัจจุบันเป็น 8% ภายในปี 2050 ขณะเดียวกันความน่าจะเป็นที่ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น 10% ต่อปีจะลดลงจาก 5% ในปัจจุบันเป็น 1% ภายในปี 2050

    เศรษฐกิจก้าวหน้าเอเชียหรือ Advanced Asia ประกอบด้วยออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ประเทศกลุ่มนี้ ประเทศเหล่านี้คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ลดลงเล็กน้อยในหลายมิติมากกว่าประเทศในกลุ่มเอเชียชายขอบและ Emerging Asia

    ภายใต้สถานการณ์จำลอง ผลกระทบต่อน้ำใช้และภัยแล้งเป็นความท้าทายหลักสำหรับบางประเทศในภูมิภาค ภายในปี 2050 ทางตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรเลียคาดว่าจะใช้จ่ายเงินมากกว่า 80% ของทศวรรษแห่งภาวะแห้งแล้ง

    ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างหนึ่งในภูมิภาคนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพหรือสัดส่วนของพื้นผิวดินที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่างเช่น ภายใต้สถานการณ์จำลองการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้โดยเฉลี่ย 27% จากปัจจุบันไปจนถึงปี 2050 เทียบจากปีฐาน 1901-25

    พายุไต้ฝุ่นและปริมาณน้ำฝนที่รุนแรงอาจะเพิ่มขึ้นในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และไม่มีความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญด้านพืชผลทางการเกษตรสำหรับกลุ่มนี้ แต่ภายในปี 2050 ความน่าจะเป็นที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น 10% ต่อปีอาจเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ความน่าจะเป็นนี้อาจเพิ่มขึ้นจาก 21% ปัจจุบันเป็น 45% สำหรับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

    จีนมีขนาดใหญ่และแตกต่างจากส่วนอื่น ๆ ของเอเชียมากพอที่จะจัดอยู่ในกลุ่มตนเอง จีนทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจสำหรับภูมิภาคและเป็นตัวขับเคลื่อนการเชื่อมโยงและนวัตกรรมสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากจีนที่ตั้งอยู่บนเส้นละติจูดที่หลากหลายจึงมีความแตกต่างกันทางภูมิอากาศ ถึงกระนั้นโดยรวมก็คาดว่าจะร้อนขึ้น นอกจากนี้ภาคตะวันออกยังจะประสบภัยคุกคามจากความร้อนสูงแบบสุดโต่ง รวมถึงคลื่นความร้อนรุนแรง ทางตอนกลาง ภาคเหนือและตะวันตกของจีนอาจประสบกับเหตุการณ์ฝนตกหนักบ่อยครั้งขึ้น

    ในภาพรวม สัดส่วนชั่วโมงการทำงานกลางแจ้งที่สูญเสียไปในแต่ละปีจากความร้อนและความชื้นสูงจะเพิ่มขึ้นจาก 4%ในปี 2020 เป็น 6% ในปี 2030 และ 8.5% เปอร์เซ็นต์ในปี 2050 จึงเป็นผลให้สัดส่วน GDP ของจีนที่อาจเสียหายจากความร้อนและความชื้นอาจเพิ่มขึ้น 2 เท่าจาก 1.5% เป็น 2-3% ภายในปี 2050 หรือเทียบเท่ากับ 1-1.5 ล้านล้านดอลลาร์ของ GDP ที่มีความเสี่ยงในแต่ละปีโดยเฉลี่ย

    นอกจากนี้คาดว่าจีนว่าจะประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพที่เพิ่มขึ้นภายในปี 2050 โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 27% ในด้านสัดส่วนของพื้นผิวดินที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพภูมิอากาศเทียบกับปีฐาน 1901–25 และคาดว่าจีนจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์สุทธิทางการเกษตรจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะเวลาอันใกล้นี้ โดยอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับทางสถิติที่เพิ่มขึ้นและความผันผวนที่มีทิศทางไปไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวก

    จีนจะมีผลตอบแทนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2% ภายในปี 2050 เมื่อเทียบกับปัจจุบัน ความน่าจะเป็นของความล้มเหลวของอู่ข้าวอู่น้ำต่อปีที่อาจจะมากกว่า 10%เมื่อเทียบกับฐานของปัจจุบันจะลดลงจาก 5% เป็น 2% ภายในปี 2050 ขณะที่ความน่าจะเป็นของปีที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ต่อปีจะเพิ่มขึ้นจาก 1%เป็นประมาณ 12% ภายในปี 2050

    เอเชียทั้ง 4 กลุ่ม จะต้องดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงต่อสภาพอากาศ และให้ความสนใจเป็นพิเศษกับประเด็นความเสี่ยงที่ระบุไว้เอเชียชายขอบ และ Emerging Asia รวมทั้งจีน ยังคงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่และขยายตัวเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าความเสี่ยงด้านสภาพอากาศได้รวมอยู่ในเงินทุนที่คาดการณ์ล่วงหน้าและการตัดสินใจด้านการวางผังเมือง

    ตัวอย่างเช่น Emerging Asia คาดว่าจะเห็นการไหลเข้าของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก เนื่องจากการผลิตโยกย้ายออกจากจีนและประเทศต่างๆจะต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบจากความร้อนและความชื้นที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำท่วมที่มีต่ออุตสาหกรรมเหล่านั้น จากการที่จีนมีบทบาทในการค้า ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมทั้งมีศักยภาพในภาคอุตสาหกรรมและภูมิศาสตร์หลายแห่ง บริษัทต่างๆในจีนจึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเพิ่มความสามารถในการปรับตัวในห่วงโซ่อุปทาน

    ความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศอีกลักษณะหนึ่งของคือ ธรรมชาติที่ถดถอย คนยากจนจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด ซึ่งพบว่ากรณีนี้ก็รวมถึงเอเชียด้วยเช่นกัน ในขณะที่ส่วนต่างๆของเอเชียได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน แต่ประเทศที่มีรายได้ประชากรต่อหัวต่ำกว่านั้น อาจมีความเสี่ยงมากที่สุดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจะมีความเสี่ยงกับสภาพภูมิอากาศที่ใกล้เคียงกับเกณฑ์ทางกายภาพมากกว่าประเทศที่ร่ำรวยกว่า เนื่องจากพึ่งพางานกลางแจ้งและทุนทางธรรมชาติมากขึ้น และมีวิธีการทางการเงินในการปรับตัวน้อยลง

    การจัดกลุ่มเอเชียชายขอบ และ Emerging Asia ในการศึกษา แสดงให้เห็นว่าผลกระทบที่ถดถอยนี้อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งในแง่ของมนุษย์และเศรษฐกิจและสังคม การวิจัย พบว่าทั้งสองกลุ่มเผชิญกับผลกระทบที่ไม่เท่ากันด้านความสามารถในการทำงานจากความร้อนและความชื้นที่สูงเกินไป ภายในปี 2050 ภายใต้สถานการณ์จำลองอาจมีความเสี่ยงประมาณ 7-13% ที่ GDP ของ Frontier Asia และ Emerging Asia ได้รับผลลกระทบ ขณะที่ความเสี่ยงแบบเดียวกันมีเพียง 0.6-0.7% สำหรับกลุ่มเอเชียเศรษฐกิจก้าวหน้า

    ผลกระทบที่ถดถอยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหากปล่อยให้ดำเนินการต่อไปโดยไม่มีการปรับตัวหรือบรรเทา อาจทำให้การเติบโตของเอเชียตกอยู่ในความเสี่ยงและอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและการดำรงชีวิตของคนนับล้าน

    การปรับตัวและการบรรเทา: ความท้าทายและโอกาสในเอเชีย

    ขณะที่โลกร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่องความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศทางภายภาพจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศให้ข้อมูลว่า ความร้อนและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอีกนั้น สามารถหยุดได้โดยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์เท่านั้น

    นอกจากนี้เนื่องจากความเฉื่อยทางความร้อนของระบบโลก ความร้อนบางส่วนอาจเกิดขึ้นหลังจากที่มีการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์

    ด้วยเหตุที่ผลกระทบสำคัญที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชีย ความรับผิดชอบจึงอยู่ที่ผู้กำหนดนโยบาย บริษัท และบุคคลทั่วไป ที่จะพัฒนาและใช้กลยุทธ์การปรับตัวที่จะลดผลกระทบและช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้อย่างมีศักยภาพสูงสุด และแม้จะคำนึงถึงวิธีบรรเทา การปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เพิ่มขึ้นและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่สร้างความเสียหายมากยิ่งขึ้นในทศวรรษหน้า

    เป้าหมายเหล่านี้จะต้องใช้ความมุ่งมั่นและความพยายามร่วมกันในการสร้าง และเพิ่มความพยายามที่ประสบความสำเร็จ

    ข่าวดีก็คือเอเชียมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ที่จะปรับตัวและเป็นผู้นำในการปรับตัวและลดความเสี่ยงในระดับโลก โดยโอกาสสำคัญอยู่ที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

    ข้อมูลของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียพบว่า ในปัจจุบันเอเชียต้องลงทุน 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปีจนถึงปี 2030 เพื่อรักษาการเติบโต ดังนั้นการผนวกการปรับสภาพภูมิอากาศให้เข้ากับโครงการ จะสร้างความแตกต่างให้กับการพัฒนาและความสามาถในการปรับตัวของภูมิภาค เอเชียสร้างเศรษฐกิจขึ้นด้วยตัวเอง โดยผู้กำหนดนโยบายใน Frontier Asia และ Emerging Asia ยังสามารถใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกันระหว่างความต้องการโครงสร้างพื้นฐานและโอกาสในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังสามารถใช้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และสำรวจแนวทางใหม่ ๆ เพื่อรวมปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศไว้ในการวางแผน

    ในภาพรวมเอเชียเป็นที่ตั้งของ บริษัทที่ใหญ่ที่สุดและมีนวัตกรรมมากที่สุดในโลกและเกือบครึ่งหนึ่งของการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทั่วโลกเกิดขึ้นในเอเชีย

    ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ภูมิภาคนี้มีส่วนแบ่งการเติบโตสูงสุดในโลก เมื่อวัดจากด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ ได้แก่ รายได้ของบริษัทเทคโนโลยีการระดมทุนจากการร่วมทุน การใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา และจำนวนสิทธิบัตรที่ยื่น ด้วยความพยายามร่วมกันประเทศในเอเชียสามารถช่วยจัดการความเสี่ยงด้านสภาพอากาศของตนเองและสามารถเป็นผู้นำในการปรับตัวและบรรเทาความเสี่ยงในระดับโลก

    การก้าวขึ้นสู่ความท้าทายด้านความเสี่ยงด้านสภาพอากาศจะต้องอาศัยความพยายามของผู้กำหนดนโยบายและผู้นำทางธุรกิจ ในรายงานฉบับต่อไปจะเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศและการตอบสนองในเอเชีย โดยจะเน้นย้ำถึงมาตรการที่ผู้นำในเอเชียสามารถพิจารณาเพื่อให้ภูมิภาคนี้เป็นผู้นำระดับโลกในการปกป้องชีวิตและการดำรงชีวิตจากความเสี่ยงด้านสภาพอากาศทางกายภาพใน 3 มิติ ได้แก่ การผนวกรวมความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศเข้ากับการตัดสินใจทางธุรกิจและนโยบาย การใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและความพยายามลดความเสี่ยงด้านสภาพอากาศด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน