ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > “ทรูมันนี่” ยกระดับการเดินทางสู่ “สังคมไร้เงินสด” ด้วยกระเป๋าเงินดิจิทัล

“ทรูมันนี่” ยกระดับการเดินทางสู่ “สังคมไร้เงินสด” ด้วยกระเป๋าเงินดิจิทัล

24 กรกฎาคม 2018


ข่าวประชาสัมพันธ์

ทรูมันนี่ วอลเล็ท ออกเอกสารข่าวเกี่ยวกับบริการ “สังคมไร้เงินสด” ว่า การเดินทางถือเป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตสำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์เรา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรามีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านคมนาคมหลากหลายรูปแบบจนวันนี้กำลังเดินหน้าไปสู่ยุค “รถไร้คนขับ” “รถยนต์ไฟฟ้า” จุดมุ่งหมายเดียวของนวัตกรรมเหล่านี้ล้วนคิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางให้แก่ผู้คน ซึ่งปัจจุบันในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ เรายังพึ่งพาการเดินทางด้วยรถสาธารณะ และน่าจะเพิ่มมากขึ้นเพราะความสะดวกสบายจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อรถไฟฟ้ามีเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อในเมือง หรือในอนาคตอีกไม่นาน เชื่อมเมืองใหญ่ๆ

สำหรับคนในเมืองใหญ่ที่มีการจราจรคับคั่งและพื้นที่จอดรถมีจำกัด ข้อมูลจากสถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เผยว่า คนไทยเฉลี่ย 38.6% ใช้รถโดยสารสาธารณะ 3-4 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งจะสะดวกสบายขึ้นอีกแค่ไหนถ้าการเดินทางของคุณด้วยรถโดยสารสาธารณะวันนี้เปลี่ยนโฉมไปสู่ “สังคมไร้เงินสด” ไม่ว่าเราจะนั่งรถตู้ โบกแท็กซี่ นั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ขึ้นรถเมล์ ซื้อตั๋วรถไฟ หรือแม้แต่จองจักรยานไปทำงานในชั่วโมงเร่งด่วน โดยไม่ต้องใช้เงินสด เพราะความสามารถของกระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) ช่วยเพิ่มทางเลือกในการจ่ายเงินให้ผู้ใช้ได้จับจอง จ่ายค่าบริการ และเข้าถึงประสบการณ์ที่ล้ำสมัย เซฟเวลาการรอคอยมากกว่าเดิม ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง เพียงแตะ scan และจ่ายเงิน

ระบบขนส่งสาธารณะที่ลอนดอน แสดงถึงศักยภาพที่น่าสนใจของ digital payment ว่าสามารถเพิ่มความสะดวกและความรวดเร็วในด้านช่องทางการชำระเงินได้ เพิ่มรายได้ให้แก่ขนส่งได้ถึง 40% และ mobile wallet กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ มีแนวโน้มผู้โดยสารหันมาใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในการขนส่งเพิ่มขึ้นถึง 25% โดย 1 ใน 10 ครั้ง ชำระเงินผ่าน mobile wallet จากจำนวนการเดินทางมากกว่า 31 ล้านครั้ง

หันมามองประเทศในกลุ่มอาเซียนอย่างสิงคโปร์ที่ได้ก้าวหน้าไปสู่การเป็นเมืองระบบดิจิทัลขั้นสูง (Digitally Advanced) ไปแล้ว ตามผลวิจัยจากวีซ่า และมีเป้าหมายสำคัญในการวางระบบขนส่งมวลชนไปสู่ยุคไร้เงินสดอย่างสมบูรณ์แบบภายในปี 2563 สำหรับกรุงเทพฯ ของเรา อยู่ในกลุ่มเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล (Digitally Transitioning) เช่นเดียวกับ มุมไบ อิสตันบูล โคลัมโบ ฯลฯ แต่ข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ มีคนไทยถึง 74% รู้จักการชำระเงินด้วย QR Code ซึ่งเป็นอัตรามากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยพร้อมก้าวสู่การเดินทางในยุคสังคมไร้เงินสด

ความสะดวกสบายของการใช้เงินแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิถีการเดินทางนั้นเกิดขึ้นแล้วและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เนื่องด้วยความพร้อมของผู้ให้บริการ นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ และองค์กรเอกชนขนาดใหญ่ร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่การเดินทางในสังคมไร้เงินสด ผู้ให้บริการด้านการขนส่งวันนี้ต่างมองหาโอกาสและเทคโนโลยีที่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเพื่อตอบโจทย์ความเป็นดิจิทัล กระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เราใช้ชีวิตการเดินทางในแต่ละวันสะดวกสบายและปลอดภัยยิ่งขึ้น ไม่ต้องมาเสียเวลานับเหรียญ แลกแบงก์ ทอนเงินให้วุ่นวาย สามารถชำระผ่านโทรศัพท์มือถือและแอปพลิเคชั่น

สำหรับทรูมันนี่ ผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีจำนวนผู้ใช้งานแอคทีฟราว 4 ล้านคนต่อเดือนในไทย สามารถรองรับการจ่ายค่าโดยสารผ่านบริการด้านการเดินทางหลากหลายรูปแบบแล้วไม่ว่าจะเลือกเดินทางโดยปั่นจักรยาน นั่งรถแท็กซี่ ขึ้นรถตู้ หรือแม้แต่ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซต์ ก็สามารถเลือกสแกนและจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet ได้โดยไม่ต้องพกเงินสด นอกจากนี้ทางทรูมันนี่กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาระบบชำระเงินร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) เพื่อยกระดับการเดินทางไปสู่ “ขนส่งมวลชนแห่งอนาคต” ที่จะเข้าถึงผู้ใช้บริการกลุ่มใหญ่กว่าพร้อมสอดรับกับพฤติกรรมดิจิทัล เพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้คนที่พึ่งพาบริการขนส่งมวลชนได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการชำระค่าโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตนี้

ทั้งนี้ประโยชน์ของวิถีการเดินทางใหม่ที่ยกระดับไปสู่สังคมไร้เงินสด

  • ประโยชน์ต่อ “เมือง” มลภาวะทางอากาศ และความคับคั่งของการจราจร เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งการที่ e-wallet เข้ามาอยู่ในระบบรถสาธารณะจะช่วยกระตุ้นให้คนหันมาเลือกเดินทางโดยรถสาธาณะมากขึ้น และลดมลภาวะได้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลจาก ofo เผยว่า ทุกๆ ไมล์ที่เดินทางโดยจักรยานช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง .77 ปอนด์ (เทียบกับการขับรถ) ผู้ปั่น ofo ได้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้วกว่า 13,500 ตัน
  • ประโยชน์ต่อ “ธุรกิจ” (ด้านการเดินทาง) ที่หันมาใช้ digital payment มากขึ้น นอกจากช่วยลดระยะเวลาในการให้บริการของภาคธุรกิจต่อผู้บริโภคให้สั้นลงแล้ว ธุรกิจยังได้รับประโยชน์ในด้านบริหารจัดการ 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่
    • -มีบันทึกรับ-จ่ายเงินอย่างชัดเจน เมื่อมียอดการจ่ายเงินผ่านแอปฯ ของลูกค้าเข้ามาที่บัญชีธุรกิจของคุณ คุณสามารถเรียกดูจำนวนเงินดังกล่าวได้ตลอดเวลา และสามารถจัดทำบัญชีได้อย่างมีระบบระเบียบ ทราบต้นทุน กำไร ของยอดจำหน่ายตั๋วเดินทาง ที่สำคัญข้อมูลเหล่านี้ยังเป็นการเรียนรู้พฤติกรรมการใช้งาน mobile wallet ของผู้โดยสารในแต่ละวันได้ สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาบริการด้านขนส่งที่ดียิ่งๆ ขึ้น

      -ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน ช่วยลดต้นทุนด้านเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เช่น ตั๋วหรือใบเสร็จค่าโดยสาร และทำให้ธุรกิจสามารถจัดระบบทำงานที่เกี่ยวข้องกับงาน routine ได้ดีขึ้นแทนที่จะใช้คน ก็โยกย้ายคนที่มีศักยภาพไปทำงานในด้านอื่นที่มีความเฉพาะมากขึ้น

  • ประโยชน์ต่อ “ผู้คน” ข้อมูลการจราจรจาก INRIX เมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ให้เห็นว่าไทยเป็นประเทศรถติดมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยคนไทยในแต่ละเมืองทั่วประเทศเสียเวลาเฉลี่ยราว 61 ชั่วโมงต่อปีไปกับปัญหารถติดบนถนน ความเครียดของรถติดเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วกับการใช้เวลาให้สูญเปล่าไปกับการเดินทาง ดังนั้น e-wallet จะทำให้คุณไม่ต้องรอคิว เงินทอน และฟรีค่าธรรมเนียม เพิ่มความสะดวกสบายในเรื่องการ ซื้อตั๋ว จองรถ และจ่ายเงิน
  • ดังนั้นอีกไม่นานการเดินทางของคนไทยจะสอดรับกับระบบ e-payment ไปสู่การเดินทางแบบสังคมไร้เงินสด