ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > เครือซีพีคว้ารางวัล Asia’s Best First Time Sustainability Report 2017

เครือซีพีคว้ารางวัล Asia’s Best First Time Sustainability Report 2017

9 กุมภาพันธ์ 2018


ข่าวประชาสัมพันธ์

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับรางวัล Asia’s Best First Time Sustainability Report 2017 จากงาน Asia Sustainability Reporting Awards 2017 ซึ่งจัดขึ้นโดย CSRWorks International และองค์กรพันธมิตร โดยมี นางพัชรี คงตระกูลเทียน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นตัวแทนเครือเจริญโภคภัณฑ์ขึ้นรับรางวัล

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับรางวัล Asia’s Best First Time Sustainability Report 2017 จากงาน Asia Sustainability Reporting Awards 2017 ซึ่งจัดขึ้นโดย CSRWorks International และองค์กรพันธมิตร โดยมี นางพัชรี คงตระกูลเทียน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นตัวแทนเครือเจริญโภคภัณฑ์ขึ้นรับรางวัลดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นที่ Eden Hall ณ ประเทศสิงคโปร์

นางพัชรี คงตระกูลเทียน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบ SDGs ของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) เพื่อให้ทุกภาคส่วนเติบโตไปพร้อมกัน ซึ่งจะส่งผลให้สังคมและประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนตามมา ทั้งนี้ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ได้จัดทำรายงานความยั่งยืนขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้โดยเป็นไปตามหลักการของ GRI (Global Reporting Initiate) ที่ทั่วโลกใช้เป็นมาตราฐาน ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีสาระสำคัญเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเครือฯ

รางวัล Asia Sustainability Reporting Awards (ASRA) มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในภูมิภาคเอเชีย เป็นรางวัลจัดขึ้นทุกปีเพื่อยกย่องแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรายงานและการสื่อสารเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยในปีนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัล ถึง 3 สาขาด้วยกันได้แก่ รางวัล Asia’s Best First Time Sustainability Report ซึ่งมอบให้แก่องค์กรที่รายงานด้านความยั่งยืนได้อย่างดีที่จัดทำรายงานเป็นครั้งแรก รางวัล Asia’s Best Stakeholder Reporting ที่มอบให้แก่รายงานที่นำเสนอนโยบาย แผนงาน เป้าหมายร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างชัดเจน โดยมีการดำเนินการเรื่องผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นระบบ และมีหลักฐานอย่างเห็นได้ชัด และรางวัล Asia’s Best Environmental Reporting ที่มอบแก่องค์กรที่รายงานโดยคำนึงด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และมีการแสดงกลยุทธ์และความริเริ่มด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งต่อธุรกิจและต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในสาขา Asia’s Best First Time Sustainability Report และได้เข้ารอบสุดท้ายหรือ Finalist ในสาขา Asia’s Best Stakeholder Reporting และ Asia’s Best Environmental Reporting

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ WBCSD (World Business Council on Sustainable Development) ได้ระบุไว้ใน Reporting Matters ประจำปี ค.ศ. 2017 ซึ่งได้วิเคราะห์รายงานความยั่งยืนของบริษัทที่เป็นสมาชิก WBCSD โดยกล่าวว่ารายงานความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดทำรายงานความยั่งยืน โดยเฉพาะในด้านความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเมื่อไม่นานมานี้รายงานความยั่งยืน ของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ได้รับรางวัลรายงานความยั่งยืนดีเด่นประจำปี 2560 และรางวัล Outstanding New Comer จาก CSR Club และสถาบันไทยพัฒน์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย

อนึ่งเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา “ศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือเครือซีพี ได้ประกาศ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2563 ของเครือซีพี” หรือ “CP Group Sustainability Goals 2020” ต่อหน้าผู้บริหารระดับสูงของเครือซีพีและสื่อมวลชนกว่า 200 คน ณ ห้องประชุมชั้น 11 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ สีลม

หากย้อนกลับไป 3 ปีที่ผ่านมาน่าจะเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือเครือซีพีบนเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จากห้วงเวลาที่เครือซีพีถูกสังคมจับตาและตั้งคำถามถึงประเด็นที่อ่อนไหวมากที่สุด ถึงปัญหาแรงงานทาสที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของการทำประมงที่ใช้แรงงานทาสในธุรกิจอาหารสัตว์  ไปจนกระทั่งปัญหาการรุกป่าเพื่อทำไร่ข้าวโพดในภาคเหนือ มาจนถึงวันนี้ที่เครือซีพีปรับกระบวนทัพความยั่งยืนครั้งใหม่

ทั้งนี้ได้ใช้จังหวะก้าว หลังจากบริษัทธุรกิจหลักและเครือซีพีได้รับการยอมรับจาก 4 สถาบันจาก 3 ทวีป เช่น การได้เป็นสมาชิก Dow Jones Sustainability Indices, การเป็นสมาชิกความยั่งยืน FTSE4Good Emerging Index การได้รับการประเมินที่ดีจากสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ World Business Council on Sustainable Development (WBCSD) และการได้ CG 5 ดาวจากโครงการ CGR2560 ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย

เรื่องนี้จึงไม่ได้น่าสนใจเพียงการเป็นครั้งแรกที่เครือซีพีและธุรกิจในเครือ 13 กลุ่มมีเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่จะต้องบรรลุร่วมกันให้ได้ภายในปี 2563  และยังอาจเป็นการพลิกบทบาทมาเป็นผู้นำของการสร้างบรรทัดฐานและธรรมเนียมปฏิบัติใหม่ให้กับองค์กรธุรกิจไทย ในการประกาศเป้าหมายและพันธสัญญาด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรต่อสาธารณะ