ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > ‘SEAC’ จัดงาน ‘Entering a New Reality – ก้าวเข้าสู่ความเป็นจริงใหม่ที่ท้าทาย’ ไกด์แนวทางผู้นำองค์กรไทยและอาเซียน ‘ปรับอย่างไรให้ทันการเปลี่ยนแปลง’

‘SEAC’ จัดงาน ‘Entering a New Reality – ก้าวเข้าสู่ความเป็นจริงใหม่ที่ท้าทาย’ ไกด์แนวทางผู้นำองค์กรไทยและอาเซียน ‘ปรับอย่างไรให้ทันการเปลี่ยนแปลง’

20 พฤศจิกายน 2017


ข่าวประชาสัมพันธ์

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ เอสอีเอซี (SEAC) กล่าวเปิดงาน ‘Entering a New Reality – ก้าวเข้าสู่ความเป็นจริงใหม่ที่ท้าทาย’

‘SEAC’ จัดงาน ‘Entering a New Reality – ก้าวเข้าสู่ความเป็นจริงใหม่ที่ท้าทาย’ ไกด์แนวทางผู้นำองค์กรไทยและอาเซียน ‘ปรับอย่างไรให้ทันการเปลี่ยนแปลง’ ชู 3 ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาบุคลากรและองค์กรเพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นท่ามกลางยุคของการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ‘การดำรงอยู่’ ‘การเรียนรู้’ และ ‘การเป็นผู้นำ’

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์พัฒนาผู้นำและผู้บริหารระดับสูง SEAC (เอสอีเอซี) โดย นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ จัดงานสัมมนาเรื่อง ‘Entering a New Reality – ก้าวเข้าสู่ความเป็นจริงใหม่ที่ท้าทาย’ ผ่าน 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ‘การดำรงอยู่’ ‘การเรียนรู้’ และ ‘การเป็นผู้นำ’ โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก 3 สถาบันพัฒนาผู้นำชื่อดังระดับโลก The Arbinger Institute, Tirian และ The Ken Blanchard Companies ร่วมบรรยายให้ความรู้เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ (โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย) ทั้งนี้ เพื่อช่วยผลักดันองค์กรในโลกธุรกิจยุคใหม่ให้ประสบความสำเร็จ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง และมีประสิทธิภาพสูงสุด ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และเพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจแก่ผู้นำองค์กรชั้นนำของไทยและอาเซียน

หัวข้อต่างๆ ของงานสัมมนาดังกล่าว ได้แก่ “การปรับมุมคิดเพื่อการมองคนให้เป็นคน” (Outward Mindset) “การเรียนรู้จากประสบการณ์” (Experiential Learning) และ “หัวใจสำคัญของการบริหาร” (Management Essentials) โดยมีวิทยากรระดับผู้บริหารบินตรงสู่ไทยเพื่อร่วมบรรยายให้กับ SEAC เช่น บ็อบ มอร์ลี่ย์ รองประธานกรรมการอาวุโสสายงานการวางกลยุทธ์ จาก The Arbinger Institute ร่วมด้วย แอนดรูว์ แกรนท์ ประธานกรรมการ แห่ง Tirian และโจนี่ วิคไลน์ รองประธานฝ่ายขยายกิจการระหว่างประเทศ แห่ง The Ken Blanchard Companies โดย SEAC ได้คัดสรรจุดแข็งด้านต่างๆ ของแต่ละสถาบันดังกล่าว เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการพัฒนาศักยภาพผู้นำองค์กรให้ได้รับความรู้และความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน

นางอริญญา กล่าวว่า “ปัจจุบันนี้ โลกธุรกิจได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องคือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่รู้จบ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมเทคโนโลยี หรือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างรุนแรงต่อการดำเนินชีวิตของคนและองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน ทางออกเดียวที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและอยู่เหนือคู่แข่ง คือ การปรับเปลี่ยนตัวเอง แต่หากไม่มีแนวทางและเครื่องมือที่เหมาะสม ธุรกิจส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาในการแสวงหาคำตอบให้กับคำถามสำคัญที่ว่าแล้วเราจะ ‘ดำรงอยู่’ ‘เรียนรู้’ และ ‘เป็นผู้นำ’ ท่ามกลางความท้าทายของโลกแห่งความเป็นจริงแบบใหม่นี้ได้อย่างไร”

SEAC จึงพัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอน และจัดงานสัมมนาขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นเครื่องมือในการเตรียมความพร้อมแก่ผู้นำองค์กร ให้สามารถนำความรู้และแนวทางไปปรับใช้ให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านธุรกิจที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที โดยมุ่งเน้นการเปิดมุมมองให้ผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงจนสามารถเล็งเห็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เหมาะสม ตลอดจนสามารถคิดค้นนวัตกรรมด้านการดำเนินธุรกิจที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด

มร. บ็อบ มอร์ลี่ รองประธานกรรมการอาวุโสสายงานการวางกลยุทธ์ The Arbinger Institute กล่าวบรรยายในหัวข้อ ‘การปรับมุมคิดเพื่อการมองคนให้เป็นคน (Outward Mindset)’

ภายในงาน SEAC เน้น 3 ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาบุคลากรและองค์กรรูปแบบใหม่ให้เท่าทันยุคของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ เรื่อง ‘การดำรงอยู่’ ‘การเรียนรู้’ และ ‘การเป็นผู้นำ’ ผ่านหัวข้อการสนทนาทั้ง 3 ดังนี้

(1) การปรับมุมคิดเพื่อการมองคนให้เป็นคน (Outward Mindset) ทำอย่างไรให้ธุรกิจสามารถ ‘ดำรงอยู่’ ได้ในโลกปัจจุบัน บ็อบ มอร์ลี่ย์ จากสถาบัน Arbinger ซึ่งเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงความคิด (Mindset) พูดถึงเรื่อง Outward Mindset ว่า การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและคนจะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเมื่อเขาเปลี่ยนที่ Mindset

“Mindset เปรียบเสมือนเลนส์ที่เราใช้มองโลก เป็นเบื้องลึกเบื้องหลังของทัศนคติ เป็นรากฐานสำคัญของการแสดงพฤติกรรมทั้งหมดของมนุษย์ การที่คนเราจะแสดงออกซึ่งการกระทำบางอย่างต่อบุคคลอื่นทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ล้วนแล้วแต่สะท้อนมาจาก Mindset ที่บุคคลมีต่อกันและกันทั้งสิ้น เป็นเรื่องของการที่เรา ‘มอง’ คนอื่นๆ หรือเหตุการณ์รอบข้างอย่างไร เราเคยได้รับหรือมีประสบการณ์มาก่อนตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน และสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมต่างๆ”

ในภาพขององค์กร ในอนาคตซึ่งการแข่งขันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นหลายเท่าตัว องค์กรต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องการอยู่รอด KPI ต่างๆ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้คนทำงานให้เต็มความสามารถ ตอบโจทย์ที่องค์กรตั้งไว้ ภาพที่เห็นคือ ในหลายครั้งเราพบว่า แม้ว่าคนคนหนึ่งจะตั้งใจทำงานเต็มที่ให้องค์กร แต่เขาอาจกลับไปสร้างปัญหาให้อีกหน่วยงานหนึ่งโดยไม่รู้ตัว นี่คือปัญหาที่เกิดจากการทำงานแบบ silos หรือการทำงานแบบแยกส่วน แยกหน้าที่ ต่างกันต่างทำ ทำเพียงเพื่อให้งานตรงหน้าของตนผ่านไปโดยไม่คำนึงถึงผลงานของส่วนรวม

แต่เมื่อเราใช้ Outward mindset แทนที่จะใช้ Inward mindset เราจะปรับเปลี่ยนความพยายามของเราไปโฟกัสที่ความต้องการ ความท้าทาย วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์ของผู้อื่น แทนที่จะโฟกัสไปที่ความต้องการ ความท้าทาย วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์ของตัวเอง คนมองภาพองค์รวม เช่น ผลสำเร็จขององค์กร ผลงานของทีม เปลี่ยนจาก “silos” มาเป็นความร่วมมือ ท้ายที่สุด Outward mindset สามารถช่วยให้ธุรกิจเติบโตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน ผ่านการปรับมุมมอง เปลี่ยนผ่านองค์กรและการสร้างนวัตกรรมในแบบที่แตกต่างออกไปได้อย่างยั่งยืน

มร. แอนดรูว์ แกรนท์ ประธานกรรมการ Tirian กล่าวบรรยายในหัวข้อ ‘การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)’

(2) การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) แชร์ความรู้อย่างไรให้เกิด ‘การเรียนรู้’ ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่เต็มใจและคงอยู่ในระยะยาว เนื่องจากในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเข้ามามีอิทธิพลและทวีความรุนแรงในทุกด้านของชีวิต กระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการฝึกอบรมแบบดั้งเดิมไม่เพียงพออีกต่อไป การส่งบุคลากรในองค์กรเข้ารับการอบรมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยให้นำกลับมาใช้ได้จริง และไม่ส่งผลลัพธ์ที่ยั่งยืน หากแต่การนำบุคลากรไปอบรมนั้นอาจทำให้เกิดความรู้มากขึ้นซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ในส่วนของความเข้าใจและนำกลับมาใช้จนเปลี่ยนแปลงตนเองและสิ่งรอบข้างที่ส่งผลดีในระยะยาวนั้นยังต้องอาศัยกระบวนการ เทคนิคอื่นๆ เพิ่มเติม การเรียนรู้จากประสบการณ์จึงเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เข้ามาเติมเต็มเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของบุคลากรอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยพื้นฐานความเชื่อที่ว่าคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการลงมือทำและลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดประสบการณ์ที่น่าจดจำ

“การเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือ Experiential Learning นั้นคือกระบวนการสร้างความรู้หรือทักษะด้วยกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบใหม่อย่างครบวงจร ซึ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการ reflect (สะท้อนการเรียนรู้) จากการได้ลงมือปฏิบัติจริง อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ”

มิสโจนี่ วิคไลน์ รองประธานฝ่ายขยายกิจการระหว่างประเทศ The Ken Blanchard Companies กล่าวบรรยายในหัวข้อ ‘หัวใจสำคัญของการบริหาร (Management Essentials)’

(3) หัวใจสำคัญของการบริหาร (Management Essentials) ‘การเป็นผู้นำ’ ที่ดีต้องบริหารคนอย่างไร ต้องทำอย่างไรให้สามารถนำทางและส่งเสริมความสามารถของผู้ร่วมงานได้ ผู้พูดสองท่านสุดท้ายของงานในครั้งนี้เป็นตัวแทนของ The Ken Blanchard Companies ได้แก่ โจนี่ วิคไลน์ และพอล เมอร์ฟี่ ซึ่งได้ระบุว่าในโลกของธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หนึ่งในหน้าที่หลักของผู้นำคือ การบริหารบุคลากร โดยผู้นำที่ดีต้องทำให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วม เพิ่มผลผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันได้ และเมื่อบุคลากรมีคุณภาพแล้วก็จะส่งผลดีไปถึงองค์กร ทำให้ความสามารถขององค์กรเพิ่มขึ้นเสมือนผลพลอยได้ที่งอกงาม เพราะบุคลากรภายในองค์กร คือ แรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ทั้งสองเน้นย้ำว่าความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งเป็นหัวใจของการเจริญก้าวหน้าของธุรกิจและอธิบายถึงสามแนวคิดที่นำไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี ได้แก่ การกำหนดเป้าหมาย รูปแบบการเป็นผู้นำที่เหมาะสม และการพูดคุยที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนั้นพอล เมอร์ฟี่ ยังพูดทิ้งท้ายไว้เกี่ยวกับห่วงโซ่กำไรของความเป็นผู้นำ (Leadership profit chain) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของความเชื่อมโยงระหว่างผู้นำที่ดีและความสามารถขององค์กร โดยทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการ

“เนื่องจากประสบการณ์และสิ่งที่สร้างมาในอดีตของผู้นำองค์กรไม่อาจรับประกันถึงความอยู่รอดและความมั่นคงขององค์กรในอนาคตได้ กระแสเรื่องการเปลี่ยนแปลง (Disruption) เป็นสิ่งที่ผู้นำองค์กรทุกแห่งต้องเผชิญ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจในยุคปัจจุบัน คือ การปรับตัวและเตรียมความพร้อม ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้นำควรให้ความใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อผู้นำมีความพร้อม กำลังคนพร้อม องค์กรพร้อม การเปลี่ยนแปลงจะมาในรูปแบบไหน ธุรกิจก็จะสามารถ ‘ดำรงอยู่’ ได้ องค์กรเกิด ‘การเรียนรู้’ และ ‘เป็นผู้นำ’ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะต้องอยู่ท่ามกลางความท้าทายของโลกแห่งความเป็นจริง” นางอริญญากล่าวสรุป

บรรยากาศภายในงาน ‘Entering a New Reality – ก้าวเข้าสู่ความเป็นจริงใหม่ที่ท้าทาย’