ThaiPublica > คอลัมน์ > การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (empathy) เเละความสงสาร (sympathy) เเตกต่างกันตรงไหน

การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (empathy) เเละความสงสาร (sympathy) เเตกต่างกันตรงไหน

21 มกราคม 2017


ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
https://www.wbs.ac.uk/about/person/nattavudh-powdthavee

ที่มาภาพ : https://www.youtube.com/watch?v=1Evwgu369Jw
ที่มาภาพ : https://www.youtube.com/watch?v=1Evwgu369Jw

คุณผู้อ่านหลายๆท่านอาจจะคิดว่าการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (empathy) เเละความสงสาร (sympathy) นั้นก็คือสิ่งเดียวกัน คือถ้าเรามีความสงสารใครซักคนหนึ่งมันก็คงจะไม่ต่างอะไรกับการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง

เเต่ในความเป็นจริงเเล้วนั้น empathy เเละ sympathy นั้นมีข้อเเตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมาก เเละการที่เราสามารถรู้จักเเยกเเยะได้ว่าทั้งสองความหมายนั้นเเตกต่างกันอย่างไรก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อเเละบำรุงรักษาความสัมพันธ์ที่เรามีกับคนอื่นๆ

จากการบรรยายของ Brene Brown ทำให้เรารู้ว่าจุดประสงค์ของ empathy นั้นก็คือการ “เชื่อมต่อสายสัมพันธ์ผ่านความรู้สึก” ระหว่างคนสองคน ส่วนจุดประสงค์ของ sympathy ก็คือการ “ตัดสายสัมพันธ์ทางด้านความรู้สึก”

Empathy มีเอกลักษณ์ในคุณสมบัติที่เป็นของตัวเองอยู่สี่อย่าง อย่างที่หนึ่งก็คือ empathy คือการเอาทัศนคติของคนอื่นมาใส่ในใจเรา (perspective-taking) ซึ่งทัศนคติของคนอื่นตัวนี้ตัวเราเองอาจจะไม่เห็นด้วย หรืออาจจะไม่เข้าใจเลยก็ตาม ยกตัวอย่างเช่นเราอาจจะไม่เข้าใจเลยว่าทำไมเพื่อนสนิทของเรายังคบกับคนที่ทำให้เขาต้องมาร้องไห้กับเราถึงขนาดนี้ เเต่ perspective-taking ก็คือการเข้าใจว่าในสิ่งที่เราไม่เข้าใจนั้นมันอาจจะเป็นความจริง (truth) สำหรับคนอื่นๆก็ได้

อย่างที่สองก็คือการไม่ตัดสินใจความผิดถูกชั่วดีในสิ่งที่คนอื่นนำมาเล่าให้เราฟัง (หรือ staying out of judgment)

อย่างที่สามเเละสี่ก็คือการอ่านความรู้สึกของคนอื่นเป็นเเละการสื่อสารให้คนอื่นรู้ว่าเรากำลังรู้สึกอย่างที่เขากำลังรู้สึกอยู่

Brene Brown ก็เลยสรุปว่า empathy ก็คือการเอาความรู้สึกของคนอื่นมาเป็นความรู้สึกของตัวเอง

เเล้วการปฎิบัติที่เป็น empathy เเละ sympathy นั้นเเตกต่างกันตรงไหน

สมมติว่าเพื่อนของเรากำลังตกอยู่ในหลุมชีวิตที่ลึกเเละมืดมิด เขากำลังรู้สึกมืดเเปดด้าน เเละไม่รู้จะทำยังไงกับชีวิตของเขาดี

การมี empathy ในที่นี้ก็คือการที่เราบอกกับเพื่อนของเราว่า “เราเข้าใจถึงความรู้สึกของนายในขณะนี้ เเละเราอยากให้นายรู้ว่านายไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว นายยังมีเราอยู่”

ส่วน sympathy ก็คือการที่เราบอกกับเพื่อนเราว่า “เฮ้ย เป็นไงบ้าง มันจะเเย่ขนาดนั้นเลยเหรอชีวิตนายน่ะ อืม มันไม่น่าจะเเย่ถึงขนาดนั้นหรอกมั้ง อย่าไปคิดถึงมันดีกว่า เสียเวลา”

สำหรับคนหลายๆคน empathy นั้นไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ง่ายๆเลย ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า empathy เป็น choice ที่สร้างความอ่อนเเอให้กับภูมิคุ้มกันความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจที่เรามี การที่เรามี empathy นั้นหมายความว่าเราจำเป็นที่จะต้องค้นหาความรู้สึกที่อาจจะไม่ดีในใจของเราเองเพื่อที่เราจะได้สามารถรู้สึกถึงความรู้สึกที่ไม่ดีที่คนอื่นๆอาจจะกำลังรู้สึกอยู่

ส่วน sympathy เป็นการที่เราพยายามจะทำให้ตัวเราเองรู้สึกดีขึ้นหลังจากที่ได้ฟังเรื่องที่เเย่ๆของเพื่อน พูดอีกอย่างก็คือ sympathy ก็คือการที่เรามีความพยายามที่มากจนเกินไปในการที่จะทำให้คนที่กำลังทุกข์นั้นรู้สึกว่าสิ่งที่เขากำลังรู้สึกอยู่นั้นเป็นเรื่องเล็ก เป็นเรื่องที่จิ๊บจ๊อย

เเละด้วยเหตุผลนี้นี่เอง sympathy มักจะเริ่มต้นด้วยคำว่า “อย่างน้อย”

ยกตัวอย่างของ sympathy

คนอื่น: “เธอ ฉันพึ่งเเท้งลูกไป”
เรา: “อย่างน้อยเธอก็รู้ว่าท้องได้”

คนอื่น: “เธอ ฉันคิดว่าสามีฉันเขาไปมีเมียน้อย”
เรา: “อย่างน้อยเธอก็มีโอกาสได้เเต่งงาน”

คนอื่น: “เธอ ลูกสาวเราเรียนตกป.3”
เรา: “อย่างน้อยลูกชายเธอก็เรียนดี”

ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า sympathy นั้นมาจากความรู้สึกที่เรา “อยากจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น” ซึ่งก็เป็นความรู้สึกที่เรามีบ่อยๆเวลาที่มีคนมาเล่าเรื่องที่ทำให้เขาต้องทุกข์ให้เราฟัง

เเต่ Brene Brown บอกว่า ถ้าฉันกำลังเล่าเรื่องที่ทำให้ฉันทุกข์ใจให้ใครฟัง ส่วนใหญ่เเล้วฉันไม่ได้ต้องการให้เขาคนนั้นมาเเก้ปัญหาให้กับฉัน

เเต่สิ่งที่ฉันอยากจะได้ยินมากกว่าก็คือ “I don’t even know what to say right now. I’m just glad you told me.”

“ฉันก็ไม่รู้ว่าจะพูดอะไรเหมือนกัน ฉันเเค่ดีใจที่เธอเล่าเรื่องนี้ให้ฉันฟัง”

ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าน้อยครั้งมากที่คำเเนะนำที่ฉันได้รับจากการเเชร์ความรู้สึกเเย่ๆที่ฉันมีให้คนอื่นฟังจะสามารถช่วยเยียวยาสภาพจิตใจของฉันได้จริงๆ เเต่สิ่งที่สามารถช่วยฉันได้ทันทีก็คือ connection หรือความรู้สึกที่ว่าเขาเข้าใจเเละรู้สึกตามความรู้สึกที่ฉันมีจริงๆ

รับชมเพิ่มเติม