ThaiPublica > เกาะกระแส > วิศวะ – นิเทศ จุฬาฯ ทำวิจัย “CU. Tweet” ตรวจจับข่าวลือทวิตเตอร์ด้วย Big Data

วิศวะ – นิเทศ จุฬาฯ ทำวิจัย “CU. Tweet” ตรวจจับข่าวลือทวิตเตอร์ด้วย Big Data

15 ธันวาคม 2016


6

โครงการข่าวลือท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเมืองในทวิตเตอร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะนิเทศศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจากสกว. ได้สร้างเครื่องมือในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อความทวิตเตอร์นับล้าน ให้นำไปสู่การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ข่าวลือในสังคมไทยด้วยระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า CU.Tweet ซึ่งเคราะห์ผ่านข่าวลือ 7 กรณีศึกษา พบว่าข่าวลือทรงพลังและคุมยากกว่าข่าวแก้ และเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการทำลายฝั่งตรงข้าม ผู้คนพร้อมที่จะเชื่อและแชร์ข่าวเพราะอยากเป็น “คนวงใน” ข่าวลือเป็นเหมือน “ซอมบี้” ที่ไม่มีวันตายหายไปจากสารระบบแนะ ” Crowdsource” ต้องทำงานร่วมกับสื่อมวลชนและ Online influence” ในการชะลอข่าวลือ

CU.Tweet เป็น Web application ที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อให้เราเข้าใจระบบข้อมูลที่หมุนเวียนบนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ ซึ่งมีฟังก์ชันงานให้สามารถสืบค้นหาข้อความและชื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่สนใจ เพื่อศึกษาวงจรและการแพร่กระจายของข่าวลือ รวมถึงบุคคลและข้อความที่เกี่ยวข้องกับประเด็นข่าวลือ พร้อมกับศักยภาพของโปรแกรมในการจัดกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ต้องการจะศึกษา ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ผู้สื่อข่าว ทหาร หรือแกนนำทางการเมือง เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแต่ละกลุ่มและความเกี่ยวข้องของกลุ่มนั้นที่มีต่อข่าวลือที่ลื่นไหลของในระบบสารสนเทศไทย

thaipublica-rumor

จากการศึกษาผ่านกรณีข่าวลือทั้งหมด 7 กรณี แบ่งตามประเภทของข่าวลือ ได้แก่ ข่าวลือที่เป็นประเด็นวิกฤตการณ์ ได้แก่ ข่าวลือเรื่องรัฐประหารปี 2557 ข่าวลือประเด็นนโยบายสาธารณะ ได้แก่ข่าวเว็บไซต์ลงประชามติปลอม ข่าวลือประเด็นต้องห้าม ได้แก่ข่าวลือเรื่องวัชโรทัยและในหลวงสวรรคต และข่าวลือประเด็นบุคคลสาธารณะ ได้แก่ข่าวลือเรื่องนางไก่ตายในคุก สนธิเส้นเลือดในสมองแตก และสรยุทธ์โดนยิงถล่ม ซึ่งจากกงานวิจัยพบว่า ข่าวลือส่วนใหญ่ทวิตโดยบุคคลธรรมดา และมักตามแก้ข่าวโดยสำนักข่าวและสื่อ โดยกระแสการไหลเวียนของข่าวลือและข่าวแก้มีแนวโน้มที่จะเป็นเส้นคู่ขนาน แม้มีข่าวแก้อย่างทันควันแล้ว แต่ข่าวลือยังกระจายตัว อย่างไม่หยุดยั้ง อันสะท้อนความทรงพลังของข่าวลือที่มีเหนือข่าวแก้

สาเหตุความทรงพลังของข่าวลือนี้เนื่องมาจากความเป็นสีเทา ซึ่งมีความคลุมเครือระหว่างความจริงกับความลวง อีกทั้งผู้คนพร้อมที่จะเชื่อและแชร์ หากข่าวลือนั้นช่วยให้ตนเองรู้สึกถึงความเป็น”คนวงใน” รวมถึงเป็นเครื่องมือในการป่วนฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ดังนั้นข่าวลือจึงสามารถเกิดและแพร่กระจายได้ตลอดเวลา เป็นเหมือน”ซอมบี้” ที่รอการฟื้นคืนชีพซึ่งไม่เคยห่างหายไปจากสารระบบข้อมูลสารสนเทศที่ไหลเวียนอยู่ในโลกออนไลน์ ดังนั้นการที่จะหยุดยั้งข่าวลือโดยสมบูรณ์แบบจึงไม่อาจทำได้

คณะผู้วิจัยจึงเสนอแนวทาง “Crowdsource” ในการให้อินเตอร์เนตเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างพลังจาก Net users ในการตรวจสอบข่าวลือ พร้อมกับแหล่งที่เป็นทางการในการตรวจเช็คข้อมูลข่าวที่เป็นข่าวเท็จ (Misinformation) โดยต้องทำงานร่วมกับสื่อมวลชนและ Online influencer เพื่อส่งมอบข้อเท็จจริงและข่าวที่ถูกต้องไปให้ผู้คนในโลกออนไลน์ ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในการรู้เท่าทันความลวงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจากการเสพสื่อออนไลน์

ดร.พีรพล เวทีกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯกล่าวถึงโครงการ CU.Tweet ซึ่งเป็น web application ที่ออกแบบมาเพื่อค้นหาข้อความและชื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ เพื่อใช้สำหรับการตรวจจับหาที่มาของข่าวลือว่า “จากสิ่งที่ทางคณะนิเทศศาสตร์ให้โจทย์มา 1.รูปแบบวิเคราห์แบบกลุ่ม 2. ต้องสามารถใครตอบได้ว่าใครเป็นต้นตอแล้วดูว่าถูกส่งต่อจากกลุ่มไหนไปถึงกลุ่มไหน 3.ดูว่าวงจรชีวิตของข่าวลือนั้นเริ่มที่ช่วงไหนและสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ด้วยโจทย์เหล่านี้ จึงมาเป็นโปรแกรม CU.Tweet”

ดร.พีรพล กล่าวว่าวิธีการทำงาน CU.Tweet จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นส่วนของตัวโซเชี่ยล ซึ่งเป็นส่วนของต้นน้ำ เมื่อได้ข้อมูลมา ทางวิศวะก็นำข้อมูลเข้าระบบ รวมถึงนำส่วนอื่นที่ต้องใช้เพิ่มเติมเข้ามา สุดท้ายเมื่อข้อมูลอยู่ในระบบ CU.Tweet แล้ว ทางฝั่งนิเทศศาสตร์เอาข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ เรื่องของการแพร่กระจายในกลุ่มต่างๆ รวมถึงวงจรชีวิต แล้วก็ส่งออกมาเป็นผลการวิจัยของคณะนิเทศศาสตร์

ระบบจะเก็บข้อมูล realtime เข้า MongoDB(ตัวเก็บข้อมูลTwitter) นำมาทำ ETL (Extract-Transform-Load) มา process ข้อมูล ทำให้ลดขนาดจาก 18GB เหลือ 2GB ได้

“เราสามารถดูข้อมูลได้จากถังข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาผ่านทางข้อความหรือค้นหาผ่านทางผู้ใช้ที่เราสงสัยว่าจะเป็นต้นตอของข่าวลือ” ดร.พีรพลกล่าว

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลตัวอย่างที่ CU.Tweet ได้รวบรวม ดร.พิจิตรา ซึกาโมโตะ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์กล่าวว่า”ลักษณะของข่าวลือส่วนใหญ่จะเป็นเกี่ยวกับเรื่อง public issue (เรื่องสาธารณะ) ซึ่งมันมีลักษณะของการเป็น decentralise (การกระจายจากจุดศูนย์กลาง)และต้นตอของข่าวลือที่เกิดจากการทวีต นั้นอาจจะไม่ได้เริ่มจากช่องทาง Twitter เพราะตัวข่าวลืออาจจะมีการเริ่ม ทวีต มาจากเฟซบุ๊ก หรือ ทางทีวี และเว็บไซต์ก็ได้”

ดร.พิจิตรากล่าวเพิ่มเติมว่า“ข่าวลือจะไม่มีวันตาย มันอยู่ในโลกออนไลน์ มันคงไม่มีทางที่จะหายไปทั้งหมด มันรอแค่เวลาว่าจะโหมกลับมาได้เมื่อไหร่ และวงจรชีวิตของข่าวลือนั้นขึ้นอยู่กับว่ามันพิสูจน์ง่ายหรือยาก อย่างกรณีคนตายนั้นสามารถพิสูจน์ได้ง่ายเพราะมันเป็นข้อเท็จจริง”

Rumor Analysis Cutweet Final Sukosol Final by thaipublica on Scribd