ThaiPublica > คอลัมน์ > บทวิเคราะห์และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ e-money/e-wallet, Digital Currency, Fintech, Bitcoin และ Blockchain

บทวิเคราะห์และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ e-money/e-wallet, Digital Currency, Fintech, Bitcoin และ Blockchain

16 พฤศจิกายน 2016


ปริญญา หอมเอนก
ACIS/Cybertron Research LAB
ACIS Professional Center Co., Ltd. and Cybertron Co., Ltd.

1

ในปัจจุบันเราได้ยินคำว่า Fintech, Bitcoin และ Blockchain กันอยู่เป็นประจำจากสื่อต่างๆ Mr. Don Tapscott บอกว่า Blockchain (ดูรูปที่ 1) กำลังจะมาเปลี่ยนแปลงโลกให้เข้าสู่ยุคที่สองของอินเทอร์เน็ต เปลี่ยนจาก “Internet of information” มาเป็น ” Internet of Value” (ดูรูปที่ 2) ดังที่ Mr. Don Tapscott ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขากับลูกชาย “Blockchain Revolution” (ดูรูปที่ 3) จากการทำนายถึงการมาถึงของ Digital Economy ในปี ค.ศ.1995 มาถึงปีค.ศ.2016 เป็นการทำนายอนาคตอีกครั้งกับเทคโนโลยี “Blockchain” ที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันในแวดวงไอทีและสถาบันการเงินทั่วโลกในขณะนี้

รูปที่ 1 : “The 2nd Era of the Internet”  source: Blockchain Revolution by Don Tapscott & Alex Tapscott
รูปที่ 1 : “The 2nd Era of the Internet”
source: Blockchain Revolution by Don Tapscott & Alex Tapscott

2-1

3-1

7

e-money / e-wallet vs Digital Currency

e-money / e-wallet ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ปัจจุบันไม่ได้ทำงานบนเทคโนโลยี Blockchain และไม่จำเป็นต้องใช้เงินในลักษณะ Digital Currency หรือ Cryptocurrency เลย เนื่องจากระบบ e-money / e-wallet ส่วนใหญ่ยังใช้ระบบแบบเดิมอยู่ ได้แก่ ระบบแบบรวมศูนย์ (Centralized System) โดยใช้ศูนย์กลางการประมวลผลจากระบบคอมพิวเตอร์ใน Data Center หรือ Pubic/Private Cloud ของผู้ให้บริการเอง โดยจะเก็บข้อมูลมูลค่าเงินไว้ในระบบฐานข้อมูลส่วนกลางในรูปแบบเดิม ซึ่งปัจจุบัน Digital Currency ที่เรารู้จักกันในนาม Bitcoin, Litecoin หรือ Ether นั้นใช้เทคโนโลยี Blockchain ในประมวลผลลักษณะแบบกระจาย (Decentralized System) โดยทุก node ใน Decentralized System มี copy ของไฟล์ที่จัดเก็บ blockchain เหมือนกันในทุกๆ node โดยไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลมูลค่าเงินไว้ที่ระบบแบบรวมศูนย์ แบบเดิม แต่ไฟล์ที่เก็บข้อมูลในการทำธุรกรรมต่างๆจะถูกจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของ Miners ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการประมวลผลและยืนยันธุรกรรมในทุก Transaction ที่เกิดขึ้น โดยมีแรงจูงใจเป็นรางวัลจากการประมวลผลเป็นเงินสกุล Bitcoin

ในกรณีของ Bitcoin Blockchain (Miners as a Transaction validators) โดยเริ่มต้น Miners จะได้รางวัลเป็นเงินสกุล Bitcoin จำนวน 50 BTC แต่หลังจากที่คำนวนจำนวน block ใน blockchain ไป 210,000 blocks ใช้เวลาประมาณ 4 ปี รางวัลถูกลดลง 50% เป็น 25 BTC และเมื่อจำนวน block ใน blockchain ถึง 420,000 blocks ก็จะลดลง 50% เป็น 12.5 BTC ในปัจจุบันจำนวน block ใน blockchain ได้ผ่านหลัก 420,000 มาแล้วเมื่อกลางปี 2016 รางวัลจากการประมวลผลเป็นเงินสกุล Bitcoin ยังคงมีต่อไปจนกว่าจำนวน Bitcoin จะถึง 21 ล้าน BTC ถึงจะหยุดเพิ่มปริมาณ Bitcoin ในระบบเพื่อป้องกันปรากฎการเงินเฟ้อ ซึ่งคาดว่าจะถึงในปี ค.ศ. 2140 หรืออาจจะเร็วกว่านั้น (ดูรูปที่ 4) เราสามารถดูความเคลื่อนไหวได้จาก website http://bitcoinclock.com/ (ดูรูปที่ 5)(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

รูปที่ 4 : Bitcoins in Circulation from https://blockchain.info
รูปที่ 4 : Bitcoins in Circulation from https://blockchain.info
รูปที่ 5 : Bitcoin Clock
รูปที่ 5 : Bitcoin Clock

กล่าวถึงระบบ e-money/e-wallet ที่คนไทยรู้จักกันดีภายใต้ชื่อ AIS mPay, Jaew wallet by DTAC และ wallet by Truemoney (ดูรูปที่ 6) มี e-wallet ในรูปแบบของ Mobile Application ให้เราสามารถชำระเงินด้วยโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกเพราะไม่ต้องใช้เงินสดในการชำระอีกต่อไป โดยเทคโนโลยีดังกล่าวยังคงเป็นเทคโนโลยีรวมศูนย์ในรูปแบบเดิมดังที่กล่าวมาแล้ว

รูปที่ 6 : e-Money/e-wallet ของไทย AIS mPay , Wallet by TrueMoney และ Jaew Wallet ของ DTAC
รูปที่ 6 : e-Money/e-wallet ของไทย AIS mPay , Wallet by TrueMoney และ Jaew Wallet ของ DTAC

แต่สำหรับเงินในรูปแบบของ Digital Currency จะถูกนิยามแตกต่างออกไป โดยมักนิยมเรียกว่า “Virtual Currency” หรือ “Cryptocurrency” ในบทความนี้ ผมขอกล่าวถึง Digital Currency เฉพาะ “Cryptocurrency” ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ประมวลผลในแบบ Decentralized System โดยไม่จำเป็นต้องมีคนกลางมาบริหารจัดการให้เกิดความเชื่อมั่นของระบบ โดยความเชื่อมั่นหรือ “Trust” เกิดจากกลไกการทำงานของตัวเทคโนโลยี Blockchain เอง เราอาจกล่าวได้ว่า “Blockchain ” ก็คือ “Trust Protocol” นั่นเอง

รูปที่ 7 : Cryptocurrency กว่า 700 สกุล  ที่มาภาพ : https://coinmarketcap.com/all/views/all/
รูปที่ 7 : Cryptocurrency กว่า 700 สกุล ที่มาภาพ : https://coinmarketcap.com/all/views/all/

ในปัจจุบันมี Cryptocurrency อยู่หลายร้อยสกุล (ดูรูปที่ 7) แต่ที่นิยมใช้และกล่าวถึงกันบ่อยๆได้แก่ Bitcoin , Ether, Ripple และ Litecoin ซึ่งทุกสกุลเงิน Cryptocurrency ที่กล่าวมาแล้ว ทำงานภายใต้กลไกที่ไม่ต้องอาศัยคนกลางในรูปแบบการประมวลผลแบบกระจาย และบันทึกลงใน flat file ที่อยู่ในรูปแบบของบัญชีสาธารณะแบบกระจาย (Public Distributed Ledger) ที่ทุกคนสามารถขอดูข้อมูลความเคลื่อนไหวได้ผ่าน websitehttps://blockchain.infoและ https://blockexplorer.com(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

12

รูปที่ 8 : ข้อมูลความเคลื่อนไหวสาธารณะของ Bitcoin Blockchain ที่มาภาพ : https://blockchain.info และ https://blockexplorer.co
รูปที่ 8 : ข้อมูลความเคลื่อนไหวสาธารณะของ Bitcoin Blockchain ที่มาภาพ : https://blockchain.info และ https://blockexplorer.co

14

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Blockchain (Myth about Blockchain)

Blockchain ไม่ใช่ตัวเงินที่เป็น Digital Currency เหมือน Bitcoin หรือ Cryptocurrency สกุลอื่นๆ แต่ Blockchain คือเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Bitcoin และ Cryptocurrency อีกหลากหลายสกุลกว่า 700 สกุลแต่ละสกุลจะมีไฟล์ Blockchain เป็นของตนเอง แต่ขนาดของไฟล์ในแต่ละสกุลของ Cryptocurrency จะไม่เท่ากัน

ขณะที่ขนาดของไฟล์ Bitcoin Blockchain ณ วันที่เขียนบทความ 28/09/2016 มีขนาดเท่ากับ 84,216 MB (ดูรูปที่ 8) ซึ่งขณะที่กำลังเขียนบทความนี้มีจำนวน Bitcoin อยู่ในโลกนี้ทั้งหมดจำนวนเท่ากับ 15,899,975 (2016/09/28 07:00) (ดูรูปที่ 4) ซึ่งมี Mining Pool ของผู้ทำเหมืองขุด Bitcoin กันอย่างจริงจัง โดยรายใหญ่ไม่กี่ราย (ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน) (ดูรูปที่ 9)

รูปที่ 8 : Blockchain Size 84,216 MB @ 28/9/2016 ที่มาภาพ : https://blockchain.info
รูปที่ 8 : Blockchain Size 84,216 MB @ 28/9/2016 ที่มาภาพ : https://blockchain.info

9-1

ความเข้าใจผิดที่ 1

“การเก็บ Blockchain เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบ Centralized Database”

จริงๆแล้ว Blockchain ไม่ได้ถูกจัดเก็บเป็น Centralized Database แต่ถูกจัดเก็บในรูปแบบ Distributed Database เป็น Flat File ธรรมดาที่มีแต่การเพิ่มข้อมูลเข้าไป( insert) ไม่มีการ delete หรือ update แต่อย่างใด ซึ่งขนาดของ Blockchain จะโตขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้ (28/09/2016) Bitcoin Blockchain มีขนาดประมาณ 80 กว่ากิกะไบต์ (ดูรูปที่ 8)

ความเข้าใจผิดที่ 2

“การประมวลผลของเทคโนโลยี Blockchain เป็นการประมวลผลแบบกระจายไปยัง Node ต่างๆ ทั่วโลกแบบเท่าเทียมกันในลักษณะ Peer to Peer ไม่ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของใครคนใดคนหนึ่ง”

ความจริงก็คือในปัจจุบันมีกลุ่มของผู้ทำเหมือง Bitcoin อย่างจริงจังเป็นกลุ่มใหญ่ๆ อยู่เพียงไม่กี่กลุ่ม ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อการประมวลผล “Hashing” ด้วย “Hash Power” ที่มากกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วๆไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ช่วยประมวลผล Bitcoin Blockchain มีอัตราการเติบโตที่ลดลง

ตัวอย่าง เช่น บริษัท BITBANK ในประเทศจีน Claim ว่า เขาสามารถประมวลผล Bitcoin Mining โดยได้ Bitcoin เป็นรางวัลถึง 50 BTC ต่อวัน คิดเป็นเงิน 1 BTC ประมาณ 600 US$ หรือ 21,000 บาท เท่ากับสามารถทำเงินได้ถึงวันละกว่า 1 ล้านบาทเลยทีเดียว

ความเข้าใจผิดที่ 3

“เทคโนโลยี Bitcoin Blockchain สามารถที่จะขยายได้ถึงในระดับที่ใช้ในการชำระเงินได้ทั่วโลกจาก Bitcoin Blockchainเท่านั้น”

ในขณะที่ Bitcoin Blockchain กำลังมีปัญหาด้าน “Scalability” ในระดับหนึ่งเนื่องจากต้องใช้เวลาในการ “Confirm Transaction” ไม่ต่ำกว่า 10 นาทีโดยเฉลี่ย ซึ่งเวลาที่ใช้ในการ การ “Confirm Transaction” บางครั้งใช้เวลากว่า 60 นาที ในการ “Confirm Transaction” ในปัจจุบัน ประมาณกันว่าสามารถทำได้สูงสุดที่ 7 tps (transection per second) ซึ่งก็ถือว่ายังต่ำมากเมื่อเทียบกับ VISA Network ที่สามารถทำได้สูงสุดที่ 47,000 tps และ NASDAQ ที่ 1,000,000 tps (อ้างอิงข้อมูลจาก Gartner)

ความเข้าใจผิดที่ 4

“Blockchain มีชื่อเสียงดี ถูกนำมาใช้ในแวดวงธนาคารและไฟแนนซ์เท่านั้น แต่ Bitcoin มีชื่อเสียงไม่ค่อยดีออกแนวธุรกิจสีเทา”

เราจะเห็นว่าธนาคารทั่วโลกกำลังมุ่งสู่การร่วมมือกับ Fintech Startup ที่นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ แต่กลับไม่ค่อยให้ความสนใจกับ Bitcoin เท่าใดนัก จริงๆแล้วเทคโนโลยี Blockchain ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้ในเรื่องเกี่ยวกับเงินเพียงอย่างเดียว แต่สามารถถูกนำไปใช้ในการกระจายหุ้น โฉนดที่ดิน เพลง หรือทรัพย์สินที่มีมูลค่าอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงิน โดยไม่ต้องอาศัย “คนกลาง” มาประมวลผล (try to eliminate middleman)

เรียกได้ว่า Blockchain เป็น “Disrupt” ของ “Disrupter” ยกตัวอย่าง เช่น Uber หรือ Airbnb อีกทีหนึ่ง Blockchain Technology สามารถช่วยในการทำสัญญาการตกลงต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องมี “คนกลาง” (Middleman) ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลางแบบรวมศูนย์มาประมวลผลแบบเดิมอีกต่อไป ดังนั้น Blockchain จึงไม่จำเป็นต้องนำมาใช้ในวงการ Fintech Startup เพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในวงการอื่นๆและ Startup อื่นๆก็ได้เช่นกัน

ส่วน Bitcoin นั้นเคยถูกนำมาใช้โดยผู้สร้าง Ransomware และเจ้าพ่อตัวกลางซื้อขายสินค้าผิดกฎหมายใน Darknet ที่รู้จักกันดีในนาม “Silkroad” นั้นพึ่งถูก FBIจับตัวไปได้ไม่นาน ผู้อยู่เบื้องหลังคือ Mr. Ross William Ulbricht ฉายา Dread Pirate Roberts และ ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าเงินสกุล Bitcoin เป็นเงินเถื่อน ที่ใช้กันในแวดวงแฮกเกอร์และมิจฉาชีพใน Darknet เท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วเงินสกุล Bitcoin สามารถนำมาใช้ชำระหนี้ ซื้อสินค้าและบริการ ผ่าน Coinbase Wallet, Mycelium Wallet หรือ Blockchain Wallet (ดูรูปที่ 11) ได้ตามปกติทั่วไป โดยมีบริษัทใหญ่ๆที่รับเงินสกุล Bitcoin อย่างมากมายในเวลานี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์, เทสล่า, เอ็กพีเดีย และ เดลล์ เป็นต้น (ดูรูปที่ 12) เงินสกุล Bitcoin สามารถนำมาใช้ในแบบ B2C ได้ ไม่ใช่เฉพาะ B2B อย่างเดียว

รูปที่ 11 : Coinbase Wallet, Mycelium Wallet and Blockchain Wallet
รูปที่ 11 : Coinbase Wallet, Mycelium Wallet and Blockchain Wallet
รูปที่ 12 : Companies that support Bitcoin
รูปที่ 12 : Companies that support Bitcoin

กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า “Fintech” ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี Blockchain หรือ ชำระเงินด้วย Bitcoin Cryptocurrency เสมอไป แต่กลุ่มธนาคารและบริษัท Fintech Startup ต่างๆกำลังสนใจศึกษาและลงทุนในเทคโนโลยี Blockchain และเงินในรูปแบบ Digital Currency หรือ Cryptocurrency กันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรายังได้รู้ความจริงอีกว่า Bitcoin ไม่จำเป็นต้องใช้ในธุรกิจสีเทาหรือตลาดมืดเสมอไป ตัว Bitcoin Blockchain เองมีความโปร่งใส (Transparent) ในระดับหนึ่ง เป็นอีกความเข้าใจผิดที่ว่า Bitcoin เป็น anonymous ควรเรียกว่าเป็น pseudo-anonymous น่าจะถูกต้องกว่า

เทคโนโลยี Blockchain ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้กับ Fintech Startup เสมอไปและไม่จำเป็นต้องใช้ในการโอนเงิน หรือขำระเงิน เท่านั้น แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย เช่น นำมาใช้ในการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินที่มีมูลค่าต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ยกตัวอย่างเช่น Smart Contract หรือ DAO (Decentralized autonomous organization) ใน Ethereum ecosystem ที่ Ethereum Foundation เป็นผู้ให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง อีกทั้งเงิน Digital Currency ก็ไม่จำเป็นต้องเป็น BTC หรือ Bitcoin เสมอไป ยังมีเงิน Digital Currency อีกหลายร้อยสกุล ได้แก่ Ether, Ripple, Litecoin และอีกหลายร้อยสกุลของ Digital Currency

รูปที่ 13 : “Ethereum Project and The DAO”
รูปที่ 13 : “Ethereum Project and The DAO”

ดังนั้นเราจึงควรเร่งศึกษาและทำความเข้าใจกับคำว่า Fintech, Bitcoin และ Blockchain ให้ถ่องแท้ยิ่งขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกับกระแสความนิยม “Digital Currency” ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ ….