ThaiPublica > Native Ad > Advertorial > “อนาคตความยั่งยืน” ของเอไอเอส เมื่อโลกเคลื่อนเข้าสู่ยุค Internet of thing

“อนาคตความยั่งยืน” ของเอไอเอส เมื่อโลกเคลื่อนเข้าสู่ยุค Internet of thing

30 พฤศจิกายน 2016


1

การเป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยโดยมีผู้ใช้บริการจำนวนมากกว่า 38.5 ล้านรายทั่วประเทศ อาจจะไม่ใช่เครื่องการันตีความสำเร็จของธุรกิจในอนาคตของเอไอเอสอีกต่อไป เมื่อโลกกำลังเคลื่อนสู่ยุคที่อินเตอร์เน็ตเป็นทุกสิ่ง (Internet of thing) ความน่าสนใจจึงอยู่ที่ว่าอะไรคือการปรับตัวของเอไอเอส

“เราเดินหน้ากลยุทธ์ธุรกิจสู่การเป็นผู้นำในดิจิตัลไลฟ์ ที่ปรับโฟกัสในธุรกิจหลักใน3 ด้าน ได้แก่ การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและดิจิทัลตอนเทนต์ เราเป็น Mobile Operator อย่างเดียวต่อไปอีกไม่ได้แล้ว นี่คือทิศทางที่เอไอเอสกำลังจะไป” วิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส กล่าวตอนหนึ่งระหว่างการเปิดวงคุยให้ความรู้สื่อมวลชน เมื่อเร็วๆนี้

โดยระบุว่า พฤติกรรมผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนแปลงไป ทุกอย่างกำลังเข้ามาอยู่บนสมาร์ทโฟน คนต้องการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่เรื่องบันเทิง สาธารณสุข การศึกษา และทุกเรื่องในการใช้ชีวิต ทำให้ทิศทางธุรกิจของเอไอเอส เปลี่ยนโฟกัส จาก “ผู้ให้บริการทางโทรศัพท์” สู่ “ผู้ให้บริการด้านดิจิตัลไลฟ์”

การพัฒนาโครงข่าย การสร้างการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในระดับอัตราเร่ง ถูกคิดและทำไปพร้อมกับการเชื่อมต่อแผนความยั่งยืนขององค์กรไปใน “การดำเนินธุรกิจ” เพราะเชื่อว่าจะเป็นการสร้างฐานรากที่แข็งแกร่งให้กับองค์กร

“วันนี้เรื่องความยั่งยืนของเอไอเอส กำลังเข้าสู่เฟสที่ 3 ของการทำงานหลังจากที่เริ่มทำอย่างจริงจังมาแล้ว 5 ปีก่อนในการทำงานความยั่งยืนในมาตรฐานสากล”

เปลี่ยนโฟกัสสู่ “องค์กรความยั่งยืน” 2 ปีซ้อน

3

การได้รับการจัดกลุ่มให้อยู่ในดัชนีความยั่งยืนในระดับโลก Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ในกลุ่ม DJSI Emerging Markets ในฐานะบริษัทขนาดใหญ่ที่ผ่านการประเมินด้านความยั่งยืน ตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนกันยายน 2559 ที่ผ่านมาของเอไอเอส จึงเป็นภาพสะท้อนของความเชื่อและความพยายามยกระดับการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัท และประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในฐานะบริษัทโทรคมนาคม รายแรกและรายเดียวในไทย ที่ผ่านการประเมินถึง 2 ปีซ้อน

ทั้งยังเป็นเพียง 1 ใน17 บริษัทของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกที่รับคัดเลือกจากบริษัทขนาดใหญ่ 3,000 กว่าแห่งทั่วโลกอีกด้วย ล่าสุด เอไอเอส ยังวางเป้าหมายที่จะก้าวสู่กลุ่ม DJSI World ภายในปี 2020 ซึ่งยากกว่าและท้าทายมากขึ้นเมื่อต้องถูกนำไป Benchmark กับบริษัทขนาดใหญ่ในโลก นอกตลาด Emerging Markets

เรื่องนี้จึงมีความหมายต่อบริษัท ทั้งในฐานะเป็นความท้าทายและ อนาคตใหม่ ที่ถูกวางไว้ว่าต้องไปให้ถึง “เปลี่ยนผ่าน” (Transform) จากความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรสู่วิถีความยั่งยืน ที่มีมาตรฐานระดับโลกด้านความยั่งยืนในการกำกับทิศทางองค์กร

ในฐานะที่มีส่วนขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอไอเอส “วิไล” มองว่า “ เวลาเราบอกว่าองค์กรทำเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน เราไม่ได้กำลังบอกว่าเราจะไม่ได้ทำในสิ่งที่เป็นลบเลย หรือวันนี้เราไม่มีอะไรที่สร้างผลกระทบเชิงลบอีกแล้ว แต่มันหมายถึงการที่เราพยายามที่จะมีมาตรการที่ทำให้สิ่งที่เป็นลบน้อยไปเลยหรือไม่มีในที่สุด”

ยกระดับความยั่งยืน สู่ ห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ

แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ที่เอไอเอส ร่วมกับโรงพยาบาลสาธารณสุขตำบล (รพสต.)ในการจัดทำขึ้นเพื่อช่วยในการสื่อสาร
แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ที่เอไอเอส ร่วมกับโรงพยาบาลสาธารณสุขตำบล (รพสต.)ในการจัดทำขึ้นเพื่อช่วยในการสื่อสาร

หากดูผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระหว่างปี 2558-2559 ในการยกระดับงานความยั่งยืน ลงสู่ ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ มีความก้าวหน้าในหลายเรื่องที่น่าสนใจ อาทิ ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจที่สามารถขยายฐานลูกค้าอินเตอร์เน็ตบ้าน AIS Fibre ในไตรมาส2 ของปี 2559 มีผู้ใช้บริการ 115,000 ครัวเรือนเพิ่มจาก 75,000 ครัวเรือน ในไตรมาสแรกของปี 2559 (ข้อมูล ณ สิ้น มิถุนายน 2559) เป็นไปตามเป้าหมายของการปรับทิศทางธุรกิจจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสู่การเป็นผู้นำในดิจิตอลไลฟ์

ในด้านสังคม แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ที่เอไอเอส ร่วมกับโรงพยาบาลสาธารณสุขตำบล (รพสต.)ในการจัดทำแอพลิเคชั่น ที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถสื่อสารกันได้เร็วขึ้น ทั้งนี้เพื่อการรักษาที่แม่นยำขึ้น รวมไปถึงการควบคุมโรคระบาด โดยมีการนำไปใช้แล้วใน รพ.สต.กว่า 80 แห่งนั้น เติบโตขยายผลอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สามารถเปลี่ยนตู้ติดตั้งอุปกรณ์สถานีฐานจากเดิมที่ใช้เครื่องปรับอากาศมาเป็นการใช้เพียงพัดลมระบายความร้อน ฯลฯ ทำให้สามารถลดการปล่อยคาร์บอน ได้ถึง 24,980 ตันต่อปี ซึ่งจะเป็นลดความเข้มข้นของการปล่อยคาร์บอนฯ ให้อยู่ที่ 4% ภายในปี 2559 ฯลฯ

แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ที่เอไอเอส ร่วมกับโรงพยาบาลสาธารณสุขตำบล (รพสต.)ในการจัดทำแอพลิเคชั่น ที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถสื่อสารกันได้เร็วขึ้น
แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ที่เอไอเอส ร่วมกับโรงพยาบาลสาธารณสุขตำบล (รพสต.)ในการจัดทำแอพลิเคชั่น ที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถสื่อสารกันได้เร็วขึ้น

ผ่ากลยุทธ์ 5 Focus Areas ออกจาก comfort zone สู่ Internet of thing

กระนั้นในหลายเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญยังคงต้องใช้ความพยายามอย่างมากให้บรรลุเป้าหมายตามกลยุทธ์ 5 ด้านหรือ 5 Focus Areas ซึ่งประกอบด้วย 1.การประสานสังคมของเราให้เป็นหนึ่งเดียว 2.ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า 3.สร้างหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ยั่งยืน 4.ส่งเสริมบุคลากรให้เติบโตในทุกย่างก้าว และ 5.สรรสร้างนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยครอบคลุมประเด็นตั้งแต่ การได้รับการยอมรับจากชุมชน คุณภาพความน่าเชื่อถือของโครงข่าย การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การต่อต้านคอร์รัปชันและลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

วิไล ยอมรับว่า “เราอาจจะไม่เคยคิดมาก่อนในหลายๆ เรื่อง ก่อนที่เราจะยกระดับการทำงานความยั่งยืนของเรา เวลาเราออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เราไม่เคยคิดถึงผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบของผลิตภัณฑ์กับสังคม แต่ภายใต้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนทำให้เราคิดมากขึ้น”

วิไล เคียงประดู่ (ซ้าย)ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส พบปะผู้ใช้บริการในชุมชน
วิไล เคียงประดู่ (ซ้าย)ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส พบปะผู้ใช้บริการในชุมชน

“อย่างตอนที่มีเกมส์บนสมาร์ทโฟน โปเกมอน โก เราคิดถึงผลกระทบ มีการออกมาตรการป้องกันโดยมีการตั้งเพดานในการจ่ายเงินของลูกค้าไว้ในการจ่ายเงินในเกมส์และมี SMS คอยแจ้งเตือน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาเมื่อเด็กๆใช้โทรศัพท์เล่นเกมส์ หรือการนำอินเตอร์เน็ตเข้าไปในบ้าน ซึ่งจะทำให้เด็กสามารถเข้าถึงคอนเทนต์หลายเรื่องที่ไม่เหมาะสม จึงต้องมี password ให้พ่อแม่สำหรับการ access คอนเทนต์บางอย่าง”ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโสกล่าวในที่สุด

การปรับองค์กรที่ยั่งยืนตามมาตรฐานความยั่งยืนโลก จึงเป็นเหมือนการพาองค์กรเดินออกจาก comfort zone ก้าวสู่โลกแห่งอนาคตที่อินเตอร์เน็ตเป็นทุกสิ่งแล้ว ยังเป็นโลกที่ธุรกิจต้อง ได้รับการยอมรับจากสังคม (license to operate)