ThaiPublica > เกาะกระแส > TMB Analytics เผยเศรษฐกิจไทยฟื้นแค่ตัวเลข ขาดคุณภาพ – กระจุกตัว หนุนสร้าง “Champion” อุตสาหกรรม 4.0

TMB Analytics เผยเศรษฐกิจไทยฟื้นแค่ตัวเลข ขาดคุณภาพ – กระจุกตัว หนุนสร้าง “Champion” อุตสาหกรรม 4.0

3 ตุลาคม 2016


นายนริศ สถาผลเดชา ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี
นายนริศ สถาผลเดชา ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2559 นายนริศ สถาผลเดชา ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) ธนาคารทีเอ็มบี กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2559 และแนวโน้มในปี 2560 ว่า เศรษฐกิจไทยมีทิศทางฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในรายละเอียดกลับพบว่าการฟื้นตัวค่อนข้างกระจุกตัวและขาดคุณภาพ โดยมาจากการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐที่ออกมาตรการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจและจากการท่องเที่ยว สวนทางการเติบโตที่มีคุณภาพที่ควรจะต้องเติบโตจากฐานที่กว้างของเศรษฐกิจไทยจากทุกภาคส่วน

“หลายคนสงสัยว่าที่รัฐบาลบอกจะโต 3.2% ได้จริงไหม ต้องเรียนมันโตได้ 3.2% แน่ๆ แต่ไม่ถือว่าดี เพราะมันโตมาจากการลงทุนภาครัฐและท่องเที่ยวที่คิดเป็น 25% ของจีดีพีไทย ซึ่งไม่น่าพอใจเพราะมันกระจุกตัวมาก เวลาไปคุยกับผู้ประกอบการกับหลายคน เขามองว่ามันไม่ได้ฟื้นตัวแบบตัวเลขที่บอก เป็นภาพสะท้อนว่าการเติบโตที่ผ่านมามันกระจุกตัว รัฐใส่เงินลงไปมันก็จบสั้นๆ มันไปที่วัสดุก่อสร้าง ซัพพลายเชนก็สั้น ส่วนท่องเที่ยวก็ได้แค่โรงแรม อาหาร บริการสุขภาพ ซัพพลายเชนก็สั้นเช่นกัน และอยู่แค่ 10 จังหวัดท่องเที่ยว ขณะเดียวกันเราไม่สามารถหวังให้การลงทุนภาครัฐที่มีสัดส่วนประมาณ 5% ของจีดีพี เพื่อทำให้จีดีพีโตได้ปีละ 10% ไปทุกปีมันเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าตอนนี้อาจจะยังมีช่องว่างทางนโยบายการคลังให้ใช้ได้อยู่บ้างและโอเคที่จะใช้ แต่สุดท้ายถ้าใช้ติดต่อไปนานๆมันจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ตามมาตรฐานมันมีเพดานอยู่ประมาณ 60% ของจีดีพี” นายนริศกล่าว

7

“บริโภค-ลงทุน” เอกชนยังไม่ฟื้นจริง

ในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 50% ของจีดีพีไทย พบว่ายังไม่ฟื้นตัวอย่างที่ควรจะเป็น จากการศึกษาตัวชี้วัดของการบริโภคสินค้าคงทน พบว่าตามปกติการบริโภคสินค้าคงทนจะเป็นปัจจัยที่ต้องฟื้นตัวก่อน เพื่อขับเคลื่อนการบริโภคภาพรวมในไตรมาสถัดมา แต่ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา หลังจากเพิ่มขึ้นสูงในปี 2555 การบริโภคสินค้าคงทนกลับยังไม่เห็นสัญญาณเพิ่มขึ้นชัดเจนเหมือนกับการบริโภคในภาคบริการและการบริโภคสินค้าไม่คงทน โดยTMB Analytics คาดว่าการบริโภคของเอกชนแม้อาจจะไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควรจะเป็น แต่ยังคงมีทิศทางฟื้นตัวไปแบบช้าๆ และสามารถช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยได้

“การลงทุนของเอกชนที่ยังไม่ฟื้นตัว ตอนนี้คิดเป็น 20% ของจีดีพีไทย ปัญหามาจากเอกชนไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมลงทุนในไทย เห็นได้จากการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ หรือ TDI จากประมาณ 200,000 ล้านบาทต่อปีในช่วงที่ผ่านมา ในปี 2559 แค่ครึ่งปีมีเอกชนไทยออกไปลงทุนกว่า 600,000 ล้านบาท ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ หรือ FDI จากเดิมเฉลี่ย 300,000 ล้านบาทต่อปี ในปี 2559 เหลือเพียง 60,000 ล้านบาท”

นายนริศกล่าวว่า”ภาพการลงทุนทั้ง TDI,FDI มันสื่อถึงบรรยากาศการลงทุนที่ยังไม่กลับมา แต่การที่ภาครัฐเข้ามาลงทุน ก็ช่วยสร้างบรรยากาศ สร้างความเชื่อมั่น การลงทุนของเอกชนได้ แต่ปีหน้ายังมีประเด็นการเลือกตั้ง หลายคนอาจจะยังรอให้ภาพตรงนั้นชัดก่อนดังนั้น ถ้าการลงทุนเอกชนไม่กลับมา มันจะทำให้เศรษฐกิจไทยโตไม่ถึง 3.5% ได้ เป็นเงื่อนไขสำคัญของการเติบโตของเศรษฐไทย”

6

ส่งออก-ปัญหาเชิงโครงสร้าง

ด้านภาคส่งออกของไทย ซึ่งติดลบมา 3 ปีติดต่อกัน นายนริศกล่าวว่าประเทศไทยกำลังเจอปัญหาเชิงโครงสร้าง หากแยกสัดส่วนการส่งออกตามประเทศที่ส่งออกไปและการเติบโตของประเภทสินค้าจะพบว่า สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและมีสัดส่วนการส่งออกรวมมากกว่า 50% ของการส่งออกทั้งหมด ไม่สามารถเติบโตได้ ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เสื้อผ้าแฟชั่น, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำและมีสัดส่วนน้อยอย่าง วัสดุก่อสร้าง, สินค้าเกษตร. เครื่องดื่ม, ยางพารา เติบโตได้ต่อเนื่อง

“ภาพนี้สื่อให้เห็นว่าสินค้าที่ทำได้ดีเป็นสินค้นที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ มันเหมือนเป็นสินค้าเก่าๆ เทคโนโลยีเก่าๆ เทียบกับเวียดนาม การส่งออกเขาไม่เคยติดลบเลย ถามว่าทำไม เพราะเขาลงทุนในการผลิตสินค้าใหม่ๆ เพิ่มหมวดสินค้าประเภทใหม่ๆ และได้รับการลงทุนจากเกาหลีใต้จำนวนมาก  แต่ไทยใน 5 ปีที่ผ่านมาเราเปิดสินค้าประเภทใหม่ๆ น้อยมาก ไม่เหมือน 15 ปีก่อนหน้าที่เราก็เปิดประเภทสินค้าใหม่ๆ เยอะมาก เราพลาดอะไรไป ดังนั้น ที่ส่งออกชะลอตัวไม่ใช่เพราะโลกชะลออย่างเดียว บางครั้งต้องกลับมาถามตัวเองว่า สินค้าของเรามันเชื่อมต่อกับโลกหรือไม่ คนยังเอาไปใช้หรือไม่ ตอนนี้การใช้กำลังการผลิตของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งออกต่ำมาก ไม่ถึง 70% คำถามไม่ใช่จะเพิ่มกำลังการผลิตเท่าไหร่หากดีมานด์ฟื้น แต่คำถามคือถ้าเปิดโรงงานเดินเครื่องจะยังส่งออกได้หรือไม่” นายนริศกล่าว

3

2

จากคำถามดังกล่าวนายนริศกล่าวว่า ประเทศไทยควรจะต้องหันมาโฟกัสอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มว่าจะเติบโตดี ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจการแพทย์ การขนส่ง และโลจิสติกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และอาหารแปรรูปซึ่งจัดเป็นกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการยกระดับการพัฒนาให้สูงขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือสามารถก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้ก่อนกลุ่มอื่นๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์เกษตรและเกษตรแปรรูป อาหารและเครื่องดื่ม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันกระบวนการผลิตยังต้องได้รับการพัฒนาเพื่อเข้าสู่เทคโนโลยีขั้นสูงก่อน ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับตัวให้เข้าเทรนด์โลกโดยมีภาครัฐเข้ามาสนับสนุนผ่านการให้สิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ และการส่งเสริม R&D((ดูรายละเอียดเพิ่มเติม)

8

11

9