ThaiPublica > เกาะกระแส > อังค์ถัดชี้ เศรษฐกิจโลกยังไม่หลุด “ปีแห่งอันตราย”

อังค์ถัดชี้ เศรษฐกิจโลกยังไม่หลุด “ปีแห่งอันตราย”

25 กันยายน 2016


เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) จัดเวทีการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ประจำปี 2559 (Trade and Development Regional Forum 2016)
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) จัดเวทีการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ประจำปี 2559 (Trade and Development Regional Forum 2016)

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) จัดเวทีการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ประจำปี 2559 (Trade and Development Regional Forum 2016)

โดย ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการ ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) หรืออังค์ถัด และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO) และ Dr.Diana Barrowclough ผู้แทนจาก UNCTAD ได้กล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจโลก และการเตรียมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในการเปิดตัวรายงานการค้าและการพัฒนาโลก ปี 2559

จากรายงานการค้าและการพัฒนา (Trade and Development Report: TRD) ระบุชัดเจนว่า ภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่พัฒนานแล้วเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดรั้งความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาก็กำลังประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้น การจะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอีกครั้ง ผู้นำแต่ละประเทศจำเป็นต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เข้มข้นขึ้น เช่น การปรับปรุงกฎระเบียบในภาคการเงิน และดำเนินนโยบายเชิงรุกในภาคอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจโลกยังไม่หลุด “ปีแห่งอันตราย”

Dr.Diana กล่าวว่า จากรายงานนั้นบ่งชี้ว่าปีนี้เป็น “ปีแห่งอัตราย” เนื่องมาจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปี 2559 จะต่ำกว่า 2.5% ซึ่งต่ำกว่าปี 2557 และปี 2558 ด้านอัตราการเติบโตของการค้าโลกก็ลดลงมาอยู่ที่ 1.5%

โดยที่ยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาและยุโรปมีอัตราการเติบโตเพียง 1.6% ขณะที่ญี่ปุ่นเองก็อยู่ในภาวะซบเซา และอังกฤษก็กำลังเผชิญปัญหาจากการตัดสินใจออกจากสภาพยุโรป (Brexit) ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่ต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน อัตราการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาก็อยู่ในช่วงชะลอตัว

“สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสถานการณ์ที่ยากมากสำหรับรัฐบาลประเทศต่างๆ ซึ่งในเอเชียเห็นชัดที่สุด เนื่องจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเปราะบางต่อความผันผวนในตลาดการเงินโลกมากส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งตัวเลขเงินทุนที่ไหลเข้าสุทธิ (net capital flows) สู่ประเทศกำลังพัฒนาในไตรมาส 2 ของปี 2557 นั้นติดลบ ในปี 2558 มีเงินทุนไหลออกถึง 650 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในไตรมาสแรกของปี 2559 มีเงินทุนไหลออกไปแล้วถึง 150 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะเงินฝืด”

Dr.Diana กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอีกอย่างหนึ่งคือ “ช่องว่างระหว่างการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนา” นั่นคือ การเติบโตที่ไม่เท่ากันระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียกับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก

ขณะที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียรวมทั้งไทย สัดส่วนการผลิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้จะมีการชะลอตัวในระยะหลังแต่ก็ยังคงมีโอกาสเติบโต แต่ไม่ใช่กับประเทศกำลังพัฒนาอย่างในแอฟริกาที่ประสิทธิภาพในการผลิตไม่พัฒนา การเปลี่ยนนโยบายตามกลไกตลาดนำไปสู่ปรากฎการณ์ “การย้ายภาคอุตสาหกรรมก่อนที่จะพัฒนาเต็มที่” (premature deindustrialization) ทำให้ประเทศที่มีรายได้ปานกลางยกระดับไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงยากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การจ้างงานที่ลดลง และฉุดรั้งอัตราการเติบโตของการลงทุนจากภาครัฐ

“สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาขณะนี้ ประเทศพัฒนาแล้วในซีกโลกเหนือต่างเคยเผชิญการย้ายภาคอุตสาหกรรมมาแล้ว แต่เขาเกิดขึ้นในช่วงที่ก้าวเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ปัญหาที่เกิดจึงไม่น่ากังวลเท่ากับที่กำลังเกิดกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา”

ทั้งนี้ หนี้สินของภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนานั้นเพิ่มสูงขึ้นกว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ และการลงทุนในปัจจุบันมุ่งไปยังภาคเศรษฐกิจที่เน้นค่าเช่าหรือภาคเศรษฐกิจที่สามารถทำกำไรได้สูง เช่น พลังงาน ไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ และภาคบริการที่ไม่ใช่อุตสาหกรรม ธุรกิจสามารถทำกำไรได้เพิ่ม แต่การลงทุนที่ทำให้เกิดการจ้างงานลดลง ไม่เพียงพอที่จะส่งผลให้โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนไปในรูปแบบที่ทุกคนต้องการได้

Dr. Diana Barrowclough ผู้แทนจาก UNCTAD
Dr. Diana Barrowclough ผู้แทนจาก UNCTAD

Dr.Diana ระบุว่า การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รัฐบาลแต่ละประเทศต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเชิงรุก สำหรับประเทศพัฒนาแล้วควรกำกับดูแลระบบเศรษฐกิจแบบ Financialization ด้วยนโยบายการคลังเชิงรุก เช่น การใช้จ่ายในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ควบคู่ไปกับนโยบายทางการเงิน และมาตรการกระจายรายได้ บูรณาการระหว่างนโยบายเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การค้า และอุตสาหกรรมไปพร้อมๆ กัน

ส่วนประเทศกำลังพัฒนาควรสร้างอุปสงค์ภายในประเทศ รักษาความเป็นอิสระทางนโยบาย และความยืดหยุ่นด้านการคลังในการควบคุมสถานการณ์ ซึ่งการดำเนินการนี้จำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการในระดับนานาชาติ รวมทั้งต้องมีนโยบายที่จะยกระดับการผลิต ความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์และการตลาด เพื่อเข้าสู่ตลาดประเทศที่พัฒนาแล้ว

สำหรับนโยบายด้านอุตสาหกรรมควรใช้วิธีที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การสร้างความเชื่อมโยงและความสามารถในการสร้างฐานการผลิตกับโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว มีความยืดหยุ่นพอที่จะสนับสนุนให้เกิดการทดลองและเรียนรู้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ทั้งรัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนข้อมูล

“การที่รัฐทุ่มให้ความช่วยเหลือแก่เอกชนโดยหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ และการปฏิรูปเชิงโครงสร้างแบบเดิม มักนำไปสู่ค่าเงินที่สูงเกินจริง และการกดค่าจ้างแรงงานให้ต่ำ ซึ่งไม่ทำให้เกิดความยั่งยืน รัฐเองควรสามารถถอนหรือระงับความช่วยเหลือทางการเงินแก่เอกชนกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการกิจการได้ตามที่คาดหวัง เพื่อกระตุ้นให้เอกชนลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เสียงบประมาณไปอย่างไร้ประโยชน์ จมอยู่กับกิจการที่ไม่ก่อให้เกิดการสร้างรายได้แก่ประเทศ”

”ศุภชัย” แนะแนวทางหลุดพ้น “ภาวะอัตราย” อย่าให้นโยบายการเมืองบดบังเศรษฐกิจ

นายศุภชัยกล่าวถึงมุมมองของตนต่อสถานการณ์โลกและไทยใน 4 เรื่อง ที่ตนนั้นมีความเห็นตรงกับรายงานของอังค์ถัด คือ

1. “โลกยังไม่ฟื้นตัว” ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องปกติ คนมีหนี้มากมายในระดับประเทศ ระดับบริษัท และโดยเฉพาะในภาครัวเรือน แต่การที่อยู่กับสภาวะดังกล่าวมานาน ทำให้ตอนนี้รู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ โดยกลไกที่จะแก้ปัญหานี้ได้คือ กลไกการรวมกลุ่มของประเทศต่างๆ ที่เป็นกลไกทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น G77 แต่ปัญหาคือ กลไกเหล่านี้ไม่ได้ทำงาน

“รายงานของอังค์ถัดตั้งแต่ปี 2546 ได้เตือนในเรื่องดังกล่าว และเตือนมาหลายครั้งแล้ว ถึงการดำเนินนโยบายจำกัดการเงิน หรือการดำเนินนโยบายวินัยการคลังที่เข้มข้นเร็วเกินไป แต่ ณ เวลานั้นคำเตือนนี้ถูกกล่าวหาว่าเป็นการมองโลกในแง่ร้าย แต่เรามองโลกในความเป็นจริงมากกว่า หากเรายังไม่หลุดออกมาจากสถานการณ์นี้ นั่นหมายถึงแต่ละวันเรามีชีวิตอยู่อย่างอันตราย”

2. “ภาวะสิ้นหวัง” ทั้งการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษที่ก่อนหน้าไม่มีใครเชื่อว่าผลจะออกมาในรูปแบบดังกล่าว หรือการที่จีน ประเทศที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีการค้าที่ใหญ่ แต่ไม่ได้เข้าร่วม G77 การถดถอยของเศรษฐกิจในช่วงปี 2550 การใช้มาตรการ QE (Quantitative Easing) หรือ มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ การให้คุณค่าเศรษฐกิจแบบเก่าไม่ได้ทำให้เกิดการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน แต่กลับทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาคือ เกิดผลทางลบกับเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นมาใหม่ ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญด้านอุปสงค์ มาให้ความสำคัญด้านอุปทาน

“จริงๆ แล้วการรวมกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่จะช่วยได้ แต่การรวมกลุ่มทุกวันนี้กลับไม่สร้างอะไร เพราะนโยบายทางเศรษฐกิจนั้นถูกบดบังด้วยนโยบายทางการเมืองทั้งสิ้น ผมเสียใจมากที่อาเซียนวันนี้ครบ 50 ปี แต่เหมือนจะขับเคลื่อนไม่ถึงไหนเลยทั้งที่ศักยภาพทางเศรฐษกิจของอาเซียนนั้นอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก เราต้องทำโครงการ AEC ให้สำเร็จ อย่าให้เรื่องของภูมิศาสตร์มาทำให้เกิดความแตกแยก เพราะหากอาเซียนรวมกับจีนได้ก็สามารถกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกได้ และไทยเองก็สามารถที่จะเป็นศูนย์กลางของอาเซียนได้เช่นกัน และ RCEP ควรทำให้เกิดในปีนี้ อย่าให้ TPP มากลบ”

ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการ ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) หรืออังค์ถัด และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO)
ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการ ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) หรืออังค์ถัด และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO)

3. “บทเรียนจากอดีต” จุดจบระหว่างกำไรและทุน สำหรับเศรษฐกิจที่การเงินมีอิทธิพลสูง หรือ Financialization การที่รัฐบาลมีนโยบายที่ช่วยให้บริษัทต่างๆ รอดพ้น ข้ามผ่านความยุ่งยากทางการเงินมาได้ แต่การช่วยเหลือรูปแบบนั้นไม่ได้ทำให้เกิดการลงทุนที่แท้จริง ขณะนี้สิ่งที่กำลังดำเนินไปคือเศรษฐกิจที่ผู้ถือหุ้นเป็นใหญ่ ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งคนกลุ่มนี้มักมองแต่การลงทุนระยะสั้น คาดหวังปันผลที่มากขึ้น ทำให้มีแต่การลงทุนสินทรัพย์ทางการเงินมากกว่าสินทรัพย์จริงๆ ซึ่งไม่เกิด Productivity

“แม้ทุกวันนี้การเปิดการค้าเสรีมีมากขึ้น การป้องกันทางการค้าลดลง แต่การค้าเหล่านั้นกลับไม่ถูกส่งเสริมให้เพิ่มรายได้ ดังนั้น เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด จากที่มองผลตอบแทนระยะสั้น เป็นการสะสมทุนที่จะก่อให้เกิดการผลิตอย่างจริงจัง”

4. การกลับมาของนโยบายอุตสาหกรรมในเอเชีย ในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังดิ่งลง และสิ่งที่กำลังเกิดคือ เอเชียกำลังเข้าสู่การเป็นอุปทานการผลิตของโลก ซึ่งถือว่าไทยอยู่ในภูมิภาคที่มีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ดั้งนั้น การดำเนินนโยบายของรัฐบาลทั้งของไทยและประเทศในภูมิภาคนี้ต้องเป็นไปอย่างสมดุล และต้องไม่ปล่อยให้มูลค่าการผลิตมหาศาลหลุดไป

“เราไม่เอาสามารถเอามูลค่าการบริโภคมาทดแทนการส่งออกได้ แม้ครัวเรือจะเป็นภาคส่วนที่ทำให้เกิดการบริโภค การที่รัฐลดภาษีเมื่อคนไปเที่ยว หรือมีมาตรการทางภาษีที่กระตุ้นในคนจับจ่ายใช้สอยนั้นพอจะช่วยได้ แต่เป็นแค่เพียงการแก้ปัญหาระยะสั้น”

นอกจากนี้ นายศุภชัยได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในปัจจุบันว่า ตนนั้นคิดว่ารัฐบาลทำในสิ่งที่ถูก แต่ไม่ใช่เรื่องของการนำเงินเข้าไปอัดฉีด แต่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วยปรับปรุงระบบราชการที่มักสร้างความล่าช้าให้เอกชนในการดำเนินการต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เพราะเรื่องการออกใบอนุญาต เรื่องแรงงาน เป็นอันดับต้นๆ ที่ประเทศต้องปลดล็อก รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาที่คั่งค้าง ทั้งการค้ามนุษย์ ปัญหาการบิน ฯลฯ ซึ่งต่างชาติชื่นชมส่วนนี้มาก

การฟื้นตัวต้องการนโยบายระยะยาว ให้ไปสู่การเป็น Knowledge Economy ซึ่งต้องมีการค้นคว้าวิจัย มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนาเรื่องดิจิทัลต้องลงไปสู่รากหญ้าให้ได้ คือ เกษตรกรต้องสามารถรู้ราคาพืชผลของตนผ่านมือถือ ผ่านเทคโนโลยีที่เขามีได้ แล้วจึงเข้าไปส่งเสริมตลาดในดิจิทัล

นอกจากนี้ ดร.ศุภชัยให้ความเห็นว่า สำหรับโครงการใหญ่ๆ ที่รัฐบาลกำลังจะลงทุนนั้น ตนเห็นว่าควรจะเริ่มขยับในจุดที่มีความสำคัญ และจะก่อให้เกิดรายได้ เป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านอื่นๆ ให้ได้ก่อน ซึ่งนโยบายที่จะสนับสนุนการเชื่อมโยงเศรษฐกิจใน CLMV นั้นตนคิดว่ามีความสำคัญ ซึ่งรัฐบาลทำถูกแล้ว และต้องทำให้เกิดโดยเร็ว แต่รัฐจะต้องสนับสนุนให้ธุรกิจในชายแดนหรือรายย่อยในชนบทเติบโตได้ด้วยตนเอง โดยไม่ให้ธุรกิจในเมืองหลวงเข้าไปครอบ เพราะไม่เช่นนั้นการเติบโตจะเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมและยั่งยืน

“จากการมองภาพและกลไกทางเศรษฐกิจของไทย ผมไม่เห็นด้วยกับที่บอกว่าเศรษฐกิจไทยตกต่ำ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ไทยยังขาดแคลนแรงงานอีกกว่า 3 ล้านคน (Over-Employ) ต้องนำเข้าแรงงานจากต่างชาติ ซึ่งผมอยากเห็นการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอย่างไม่เสียประโยชน์ ด้วยการฝึกคนให้มีทักษะ แล้วเพิ่มรายได้ให้กับ Productivity ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากแรงงานมีทักษะ ไม่ว่าอย่างไรนายจ้างก็ยอมจ่าย”