ThaiPublica > เกาะกระแส > ปตท. แจงตรวจเรือคลองแสนแสบ หน้าที่ “ผู้ประกอบการ-กรมเจ้าท่า” – รับแค่จัดหาแหล่งก๊าซ พร้อมแนะนำเบื้องต้น

ปตท. แจงตรวจเรือคลองแสนแสบ หน้าที่ “ผู้ประกอบการ-กรมเจ้าท่า” – รับแค่จัดหาแหล่งก๊าซ พร้อมแนะนำเบื้องต้น

12 มีนาคม 2016


นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) " width="620" height="413" /> นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ” width=”620″ height=”413″ /> นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

จากกรณีที่เกิดเหตุระเบิดท้ายเรือโดยสารที่ติดแก๊สธรรมชาติเหลว หรือ LNP ในคลองแสนแสบเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559 และจากการตรวจสอบพบว่ากรมเจ้าท่า ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบเรือในน่านน้ำไทย ไม่มีกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือในประเด็นนี้ และทำให้กรมเจ้าท่าไม่มีมาตรฐานในการตรวจสอบหรือยกเลิกใบอนุญาตได้ แต่ยังยืนยันว่าได้ออกตรวจสอบทุกปีโดยความร่วมมือกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของกรมเจ้าท่า

ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2559 นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีการตรวจสอบเรือโดยสารในโครงการนำร่องนำก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG มาใช้ในเรือโดยสารคลองแสนแสบว่า หน้าที่ในการตรวจเรือเป็นของกรมเจ้าท่าโดยตรง ขณะที่การบำรุงรักษาเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ โดยที่บริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงแต่อย่างใด แต่ช่วงเริ่มโครงการบริษัทได้ให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการแก๊ส LNG ว่าต้องดูแลอย่างไร

ทั้งนี้ โครงการนำร่องดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้วหลังจากบริษัทสามารถเริ่มผลิต LNG ได้ภายในประเทศ จำนวน 10-15 ตันต่อวัน ทางบริษัท ครอบครัวขนส่ง (2002) จำกัด จึงเข้ามาเริ่มทำโครงการนำร่อง โดยรับซื้อ LNG วันละ 1 ตัน มาเป็นเชื้อเพลิง มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) ด้านสิ่งแวดล้อม สามารถลดควันดำที่เกิดจากการใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง กรณีเกิดการรั่วของเชื้อเพลิงจะไม่มีการปนเปื้อนในแม่น้ำ เนื่องจากมีสถานะเป็นแก๊สและจะสลายไปในอุณหภูมิปกติ 2) ด้านความปลอดภัย มีความปลอดภัยสูง เมื่อเกิดการรั่วไหลจะกลายเป็นแก๊สที่เบากว่าอากาศและมีโอกาสติดไฟน้อยกว่าน้ำมันดีเซล 3) ด้านการลงทุน จะช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลิง เนื่องจากราคาถูกกว่าน้ำมัน

สำหรับสาเหตุของการระเบิด นายสมเกียรติกล่าวว่า รอให้เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานสรุปให้แน่ชัดก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงคุณสมบัติเบื้องต้นของแก๊ส LNG โดยพื้นฐานมีคุณสมบัติเป็นแก๊สแต่ผ่านกระบวนทำให้เป็นของเหลวที่อุณหภูมิ -160 องศาเซลเซียส เพื่อให้สามารถขนส่งได้สะดวก แตกต่างจากแก๊สธรรมชาติอัด (CNG) ที่ใช้ในรถยนต์ ซึ่งจะมีสถานะเป็นแก๊สทั้งในถังและนอกถัง ต้องใช้พื้นที่เก็บมากกว่า โดยก่อนจะนำ LNG มาใช้งานเป็นเชื้อเพลิงจะต้องปรับกลับเป็นแก๊สผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (vaporizer) ก่อน

ขณะที่ความปลอดภัยของ LNG เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอื่นๆ LNG ถือว่าติดไฟยาก โดยต้องการอุณหภูมิสำหรับติดไฟสูงถึง 650 องศาเซลเซียส เทียบกับน้ำมันดีเซลที่ 250 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ ยังต้องการสัดส่วนของไอเชื้อเพลิงผสมในอากาศถึง 5-15% เทียบกับน้ำมันดีเซลที่ต้องการเพียง 0.6-7.5% อย่างไรก็ตาม เรือที่ระเบิดใช้ระบบเชื้อเพลิง 2 ระบบ คือ ทั้งดีเซลและ LNG โดยต้องอาศัยการจุดระเบิดจากเครื่องยนต์ดีเซล เพื่อจุดเชื้อเพลิง LNG เนื่องจากอุณหภูมิติดไฟของ LNG ที่สูง

LNG เรือคลองแสนแสบ

LNG เรือคลองแสนแสบ1 LNG เรือคลองแสนแสบ2

รู้จัก LNG ความแตกต่างระหว่าง ผลิตภัณฑ์ LNG-NGV-LPG