ThaiPublica > คอลัมน์ > The science of การอ่านใจคน: Reading the mind in the eyes

The science of การอ่านใจคน: Reading the mind in the eyes

10 ธันวาคม 2015


ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
www.powdthavee.co.ku

ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านเกือบทุกท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า Emotional Intelligence (EI) หรือความสามารถของคนเราในการเข้าใจและควบคุมอารมณ์ของตัวเองและของคนรอบข้างมาก่อน [ซึ่งตามนักจิตวิทยาแดเนียล โกลแมน (Daniel Goleman) เป็นความสามารถที่สำคัญในการดำเนินชีวิตกว่า IQ ที่เรารู้จักกันดี] แต่ผมคิดว่าคงจะยังมีคุณผู้อ่านหลายท่านที่ไม่เคยได้ยินคำว่า Social Intelligence (SI) หรือความสามารถในการใช้ EI ที่เรามีในการบริหารสัมพันธภาพทางสังคมที่เรามีกับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนรัก หรือคนแปลกหน้าก็ตาม

แดเนียล โกลแมน กล่าวเอาไว้ในหนังสือ Social Intelligence: The New Science of Human Relationships ของเขาว่า คนที่มี SI สูง ส่วนใหญ่จะมีความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือ empathy เป็นหลัก ซึ่งคนที่มีความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั้นสามารถที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับอารมณ์และความรู้สึกของคนอื่นรอบตัวได้ง่าย ซึ่งก็จะทำให้การบริหารสัมพันธภาพทางสังคมง่ายขึ้น รวมทั้งการขจัดความขัดแย้งในสังคมให้หายไปและเพิ่มการเข้าใจจุดยืนที่แตกต่างของคนอื่นง่ายขึ้นตามๆ ไปเช่นกัน

Reading the mind in the eyes

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เรามีความสามารถของการเอาใจเขามาใส่ใจเรามากน้อยขนาดไหน นักจิตวิทยาเขามีวิธีวัด empathyที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ไหม

มีสิครับ

ศาสตราจารย์ไซมอน บารอน-โคเฮน (Simon Baron-Cohen) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge) และญาติของนักแสดง ซาชา บารอน-โคเฮน (Sacha Baron-Cohen) ที่เรารู้จักจากหนังฮอลลีวูดหลายเรื่อง ได้คิดค้นวิธีวัด empathy ที่มีพื้นฐานจากความสามารถของคนในการอ่านใจคนอื่นจากดวงตา หรือที่เรียกกันว่า “reading the mind in the eyes” ตามหลักของจิตวิทยานั้น คนที่มีความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเราสูงจะสามารถอ่านความรู้สึกที่แท้จริงของคนรอบข้างได้จากการมองแค่ตาของคนคนนั้นเท่านั้นเอง

แล้วคุณผู้อ่านอยากทราบไหมครับว่า คุณผู้อ่านมีความสามารถในการอ่านใจคนอื่นจากดวงตาขนาดไหน ถ้าคุณผู้อ่านอยากทราบละก็ ผมอยากให้คุณผู้อ่านลองทำแบบฝึกหัดขนาดย่อ (25 จาก 32 ข้อ) ของไซมอน บารอน-โคเฮน ข้างล่างดูนะครับ (ส่วนคำตอบนั้นคุณผู้อ่านสามารถหาได้ที่ตอนท้ายของบทความนี้นะครับ) ป.ล. ผมอยากให้คุณผู้อ่านอ่านคำอธิบายภาษาอังกฤษเป็นตัวประกอบไปด้วยนะครับ เผื่อว่าผมแปลได้ไม่ตรงตัว

1) กราฟฟิก2

a) เกลียดชัง (hateful)
b) อิจฉา (jealous)
c) หยิ่งยะโส (arrogant)
d) ตื่นตระหนก (panicked)

2) 2

a) ขี้เล่น (playful)
b) ปลอบโยน (comforting)
c) ระคายเคือง (irritated)
d) เบื่อหน่าย (bored)

3) 4-3

a) หยิ่งยะโส (arrogant)
b) รำคาญ (annoyed)
c) เสียใจ (upset)
d) หวาดกลัว (terrified)

4) 4-4

a) มั่นใจ (convinced)
b) กระวนกระวายใจ (flustered)
c) ปรารถนา (desire)
d) ขี้เล่น (playful)

5) 4-5

a) ขบขัน (amused)
b) ผ่อนคลาย (relaxed)
c) อิจฉา (jealous)
d) ยืนยัน (insisting)

6) 4-6

a) เป็นกันเอง (friendly)
b) ระคายเคือง (irritated)
c) กังวล (worried)
d) เยาะหยัน (sarcastic)

7) 4-7

a) เพ้อฝัน (fantasising)
b) ตระหนกตกใจ (alarmed)
c) กังวล (worried)
d) ใจร้อน (impatient)

8) 4-9

a) ไม่สบายใจ(uneasy)
b) เป็นกันเอง (friendly)
c) รู้สึกผิด (guilty)
d) อิจฉา (jealous)

9) 4-1

a) ตื่นเต้น (excited)
b) โล่งใจ (relieved)
c) ขี้อาย (shy)
d) สิ้นหวัง (despondent)

10) 2-1

a) รำคาญ (annoyed)
b) ไม่เป็นมิตร (hostile)
c) หวาดกลัว (horrified)
d) หมกมุ่น (preoccupied)

11) 1

a) ระมัดระวัง (cautious)
b) ไตร่ตรอง (contemplative)
c) ผ่อนคลาย (relaxed)
d) ยืนยัน (insisting)

12) 2-3

a) ไม่เป็นมิตร (hostile)
b) หยอกเย้า (flirtatious)
c) ขบขัน (amused)
d) เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น (regretful)

13) 3

a) ละอายใจ (ashamed)
b) ไม่แน่ใจ (skeptical)
c) ท้อใจ (dispirited)
d) ไม่แยแส (indifferent)

14) 3333

a) ขี้อาย (shy)
b) ตื่นตระหนก (panicked)
c) ข่มขู่ (threatening)
d) รอในสิ่งที่คาดการณ์เอาไว้ (anticipating)

15) 2-2

a) ระคายเคือง (irritated)
b) ผิดหวัง (disappointed)
c) กล่าวหา (accusing)
d) มั่นใจ (convinced)

16) 33333-1

a) ไตร่ตรอง (contemplative)
b) ปรารถนา (desire)
c) หมกมุ่น (preoccupied)
d) เบื่อหน่าย (bored)

17) 3333-2

a) รำพึง (thoughtful)
b) ระคายเคือง (irritated)
c) ให้กำลังใจ (encouraging)
d) สงสาร (sympathetic)

18) 3333-3

a) ขี้เล่น (playful)
b) รักใคร่ (affectionate)
c) ข่มขู่ (threatening)
d) เต็มไปด้วยความสงสัย (doubtful)

19) 3333-4

a) ขบขัน (amused)
b) เบื่อหน่าย (bored)
c) เด็ดขาด (decisive)
d) ข่มขู่ (threatening)

20) 2-4

a) หยิ่งยะโส (arrogant)
b) ซึ้งในนำ้ใจ (grateful)
c) ไม่แน่ใจ (tentative)
d) ประชดประชัน (sarcastic)

21) 4

a) เป็นกันเอง (friendly)
b) หวาดกลัว (horrified)
c) รู้สึกผิด (guilty)
d) เต็มไปด้วยความสงสัย (doubtful)

22) 5

a) ตื่นตระหนก (panicked)
b) เพ้อฝัน (fantasising)
c) งงงวย (confused)
d) มั่นใจ (convinced)

23) 6

a) หมกมุ่น (preoccupied)
b) ยืนยัน (insisting)
c) เด็ดขาด (decisive)
d) ไม่แน่ใจ (skeptical)

24) 7

a) รำพึง (thoughtful)
b) ระคายเคือง (irritated)
c) ตื่นเต้น (excited)
d) ไม่เป็นมิตร (hostile)

25) 888

a) เต็มไปด้วยความสงสัย (doubtful)
b) ตื่นตระหนก (panicked)
c) สนใจ (interested)
d) สิ้นหวัง (despondent)

เป็นยังไงกันบ้างครับ

ตามผลงานวิจัยของไซมอน บารอน-โคเฮน โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงจะทำคะแนนได้สูงกว่าผู้ชาย (คะแนนของผู้หญิงจะอยู่ที่ประมาณ 22 ส่วนผู้ชายจะอยู่ที่ประมาณ 19) ส่วนกลุ่มที่ทำคะแนนได้ต่ำที่สุดในกลุ่มตัวอย่างของเขา (คะแนนน้อยกว่า 16) ก็คือกลุ่มของคน autistic ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีระบบการสื่อสารกับผู้อื่นในสมองบกพร่อง

ความสามารถในการอ่านอารมณ์ของคนอื่นจากการมองแค่ตาเป็นความสามารถที่สำคัญมากในชีวิตประจำวันของเรานะครับ ตามผลงานวิจัยหลายๆ ชิ้นพบว่าคนที่มีความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเราสูงนั้นมักจะมีเพื่อนเยอะกว่าคนทั่วไป แถมโอกาสที่พวกเขาจะมีชีวิตการสมรสที่ดีและยาวนานกว่าคนอื่นก็สูงกว่าคนทั่วไปอีกด้วย และที่สำคัญเราสามารถที่จะฝึกลูกหลานของเราให้มีความสามารถในการอ่านใจคนจากตาได้ด้วยผ่านทางการสอน theory of mind ต่างๆ นานา ซึ่งถ้าผมมีเวลาผมจะเขียนถึงการสอนเหล่านี้ในตอนต่อๆ ไปนะครับ

อ่านเพิ่มเติม
Chapman, E., Baron-Cohen, S., Auyeung, B., Knickmeyer, R., Taylor, K., & Hackett, G. (2006). Fetal testosterone and empathy: evidence from the empathy quotient (EQ) and the “reading the mind in the eyes” test. Social Neuroscience,, 1(2), 135-148.
Goleman, D. (2007). Social intelligence: the new science of human relationships. Random house.

คำเฉลย: 1.d, 2.a, 3.c, 4.c, 5.d, 6.c, 7.a, 8.a, 9.d, 10.d, 11.a, 12.d, 13.b, 14.d, 15.c, 16.a, 17.a, 18.d, 19.c, 20.c, 21.a, 22.b, 23.a, 24.a, 25.c