ThaiPublica > สัมมนาเด่น > ขยะอิเล็กทรอนิกส์ จัดการอย่างไรให้ปลอดภัย(ตอนที่ 1) : สถานการณ์ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ จัดการอย่างไรให้ปลอดภัย(ตอนที่ 1) : สถานการณ์ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์

9 กรกฎาคม 2015


ที่มาภาพ : เครือข่าย WEEE CAN DO
ที่มาภาพ : เครือข่าย WEEE CAN DO

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี ได้นำเสนอรายงาน “สถานการณ์ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์” ในงานเสวนาวิชาการ”ขยะอิเล็กทรอนิกส์:จัดการอย่างไรให้ปลอดภัย” จัดโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้สอยนานาชนิดออกสู่ตลาดของผู้บริโภคจนทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะในเมือง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบกับการแข่งขันทางการตลาดที่เข้มข้นได้ส่งผลให้ราคาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ลดต่ำลงจนผู้คนทุกระดับสามารถซื้อหาเป็นเจ้าของได้ ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ โทรศัพท์มือถือซึ่งปัจจุบันนี้ ประชาชนทุกวัย ทุกระดับสามารถซื้อหาเป็นเจ้าของกันแทบทุกคน

แม้สังคมจะได้ประโยชน์จากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แต่น้อยคนนักที่จะนึกถึงช่วงเวลาที่เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานนั้นเสื่อมสภาพ หมดอายุการใช้งานหรือไม่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้งานอีกต่อไปแล้ว ผู้บริโภคจะจัดการกับสิ่งเหล่านี้ให้ถูกต้องได้อย่างไร บทความนี้ได้ประมวลและเรียบเรียงผลการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหา “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ในแง่ปริมาณ ความเป็นอันตรายและงานวิจัยการปนเปื้อนโลหะหนักในดินที่พบในต่างประเทศและในประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลให้กับประชาชนและผู้กำหนดนโยบายได้ตระหนักถึงประเด็นปัญหานี้และช่วยกันสนับสนุนมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในระยะยาว

สถานการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์