ThaiPublica > คนในข่าว > DIB TALK ครั้งที่ 2 “ในฐานะคนตัวเล็กๆ เราจะทำอะไรดีๆ ให้โลกได้บ้าง” กับ”สุรางค์ จันทร์แย้ม” กลุ่มเพื่อนพนักงานบริการ (ทางเพศ)

DIB TALK ครั้งที่ 2 “ในฐานะคนตัวเล็กๆ เราจะทำอะไรดีๆ ให้โลกได้บ้าง” กับ”สุรางค์ จันทร์แย้ม” กลุ่มเพื่อนพนักงานบริการ (ทางเพศ)

27 พฤษภาคม 2015


เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 24 พฤษภาคม 2558 ณ ห้อง ดร.ถาวร พรประภา ออดิทอเรียม ชั้น 5 ตึกสยามกลการ ป่าสาละ จัดงานเสวนา DIB TALK (Do It Better Talk) ครั้งที่ 2 เพื่อกระตุ้นการแลกเปลี่ยนความคิดในประเด็นความยั่งยืน โดยมีบุคคลหลากหลายอาชีพที่ลงมือเปลี่ยนโลกให้ยั่งยืนด้วยวิถีของพวกเขาเองร่วมแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “ในฐานะคนตัวเล็กๆ เราจะทำอะไรดีๆ ให้โลกได้บ้าง”

ads/2015/05/DSCF9364-620×410.jpg” alt=”DSCF9364″ width=”620″ height=”410″ /> สุรางค์ จันทร์แย้ม ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING)[/caption]

“รู้สึกตื่นเต้น แต่จะหายตื่นเต้นถ้าตรงนี้เป็นบาร์ 26 ปีกับการทำงานเป็นเอ็นจีโอ ใช้ทุกวันทำงานกับพี่ๆ น้องๆ ในบาร์ ในซ่อง ในสถานบันเทิง ถามว่ายากไหม “ยาก” กับการจัดการความรู้สึก การจัดการอคติของตัวเอง ตัวเองก็เป็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่แตกต่างจากคนหลายคนในสังคม ที่เราจะมีมุมมองกับผู้ขายบริการว่าต่างจากเรา แต่ว่าใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจกับตัวเอง จนกระทั่งวันหนึ่ง ตัวเองมองไม่เห็นว่าเราต่างกับเขาอย่างไร จะต่างกันก็ตรงที่เรายังอดทนสู้น้อยกว่าพี่น้องพวกนั้น”

ต้นไผ่ต้นนี้ก่อเกิดมาเมื่อปี พ.ศ. 2547 เราเลือกที่จะใช้ต้นไผ่มาแทนสัญลักษณ์ของมูลนิธิของเรา คือ มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ โดยใช้ชื่อเล่นว่า “สวิง”​ (SWING) ทำไมเราถึงเลือกต้นไผ่ ด้วยความที่เราทำงานกับคนขายบริการตลอด เราจะถูกตั้งคำถามตลอดเวลาว่าทำไมเมืองไทยจึงมีคนขายบริการมากมาย การขายบริการเป็นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ไม่ใช่เฉพาะบ้านเรา มีเพื่อนที่น้องที่ทำงานนี้อีกหลายประเทศ

ฉะนั้น เวลาเรานึกถึงต้นไม้อะไรสักต้นหนึ่ง เห็นต้นไผ่เกิดขึ้นผู้ร่วม DIB TALK ประกอบด้วย

ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการนิตยสาร a day “นักสื่อสาร DIB”

ทรงกลด อดีตนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและเอ็นจีโอ ที่ผันตัวมาเป็นบรรณาธิการนิตยสาร a day นิตยสารzcongขวัญใจคนรุ่นใหม่ ทรงกลดเชื่อว่าด้วยพลังของนักสื่อสาร เขาสามารถทำหน้าที่เล่าเรื่องต่างๆ เพื่อให้คนในสังคมเข้าใจปัญหา เกิดแรงบันดาลใจ และสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมในวงกว้างได้ ทรงกลดตั้งข้อสงสัยว่า เหตุที่งานภาคสังคมยังเข้าไม่ถึงคนรุ่นใหม่ในกระแสหลักอาจเป็นเพราะขาดนักสื่อสารที่ดี ทุกวันนี้ทรงกลดทำงานสื่อสารเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านงานเขียน การเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ และกิจกรรมที่พาคนเมืองไปสัมผัสประเด็นสังคมต่างๆ ด้วยตัวเขาเอง

พ่อหลวงพรมมินทร์ พวงมาลา ผู้ใหญ่บ้าน บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ “ผู้นำชุมชน DIB”

ในฐานะผู้นำชุมชน พ่อหลวงพรมมินทร์เชื่อว่า การพัฒนาชุมชนต้องอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองได้2อย่างยั่งยืนเขาจึงเริ่มต้นโครงการพัฒนาชุมชนที่ใส่ใจทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มฝึกอบรมอาชีพ เพื่อให้ชาวบ้านเข้าถึงแหล่งเงินทุนและบรรเทาปัญหาความยากจน ฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เคยเสื่อมโทรม สร้างความเข้าใจและส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการปลูกกาแฟใต้ร่มไม้ใหญ่ พัฒนากระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำจากน้ำตก ทำให้คนทั้งในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงได้มีไฟฟ้าใช้ และขายคืนให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง คนและป่าจึงอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้

อ.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ :”นักเศรษฐศาสตร์และเจ้าของบ้าน”ยั่งยืน” DIB”

นักเศรษฐศาสตร์ด้านพลังงาน อดีตกรรมการในคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 ของ4รัฐธรรมนูญ (คณะกรรมการสี่ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุด) และเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูป ผู้พัฒนาและส่งเสริมให้ชุมชนหันมาใช้พลังงานชีวมวลเพื่อการใช้พลังงานอย่าง “ยั่งยืน” รวมถึงยังเปลี่ยนบ้านตนเองเป็น “ต้นแบบ” บ้านยั่งยืน ด้วยการออกแบบให้เป็นบ้านประหยัดพลังงานและน้ำ มีสวนผักและฟาร์มผลิตอาหารได้เอง ลดรอยเท้าคาร์บอนและใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สุรางค์ จันทร์แย้ม ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการสวิง (SWING: Service Workers in Group Foundation)”เพื่อนพนักงานบริการ (ทางเพศ) DIB”

สุรางค์ตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำและคนชายขอบในสังคม เธอจึงก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ 3(สวิง) ขึ้นเพื่อสร้างโอกาสที่เท่าเทียม และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศ อาทิ การฝึกทักษะด้านต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ให้พนักงานบริการ เพื่อให้พวกเขามีความรู้มากขึ้นหากต้องการเปลี่ยนอาชีพในอนาคต นอกจากนี้ยังให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ด้วยการจัดตั้งคลินิกตรวจโรค จัดหาถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นคุณภาพมาจำหน่ายให้พนักงานบริการในราคาถูกกว่าท้องตลาด เพราะถุงยางจากการบริจาคไม่สามารถหาได้อย่างสม่ำเสมอ และสินค้าที่จำหน่ายในตลาดมีราคาสูงเกินไป

ในตอนที่1 ขอนำเสนอเรื่องราวปัญหาความเหลื่อมล้ำในกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศ โดยนางสาวสุรางค์ จันทร์แย้ม ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING)ได้เล่าเรื่องราวให้ฟังว่า

swinggg ที่มาภาพ: https://www.facebook.com/SWINGfoundation

จริงๆแล้ว ตัวเองเป็นนางละครตั้งแต่ประถมยันปริญญาตรี จบจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ ใช้วิชาความรู้ทางการละคร ตอนแรกคิดแบบสุดขั้วมากว่าจะเอาละครไปเปลี่ยนอะโกโก้ แต่ว่ามันก็ไม่ใช่ ทุกคนมีทางเลือก มีวิถีชีวิตของตัวเอง

สาเหตุหนึ่งที่เลือกจะเรียนปริญญาโทก็เพราะว่าเริ่มทำงานการศึกษาให้กับน้องๆ แล้วเวลาที่จะให้น้องเรียนหนังสือเขาก็ให้เหตุผลว่าน้องเรียนไม่ได้ เพราะต้องทำงานหนักมาก ก็เลยบอกว่าถ้าอย่างนั้นเราทำด้วยกัน วิธีคิดก็คือว่าเวลาจะให้น้องทำอะไรสักอย่าง ต้องลงมือทำกับน้อง พี่ทำงาน น้องก็ทำงาน ถ้าอย่างนั้นเราเรียนหนังสือด้วยกัน ใช้เวลาตอนเย็นไปเรียนหนังสือ ในที่ทำงานไม่เคยมีใครถามกันเรื่องวุฒิการศึกษาอะไร เราคิดว่าวุฒิการศึกษาเป็นส่วนหนึ่ง แต่ว่าเราจะไปด้วยกันอย่างไร

สิ่งที่กำลังทำอยู่มันตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นหรือเปล่า ในปัญหาการค้าประเวณีในบ้านเรา มันสวนทางกันไหม เรามองว่าคนที่เข้ามาทำอาชีพนี้เพราะว่าคนต้องการอาชีพ ต้องการรายได้ แต่ในทางกลับกัน วิธีการจัดการแก้ปัญหากลับให้กฏหมาย-นโยบาย มาจับ ปรับ และกวาดล้าง ซึ่งการใช้วิธีการนี้ไม่ได้ทำให้ปัญหาหมดไป เพราะว่าคนยังต้องใช้ชีวิตอยู่ ปัญหายังคงมีอยู่

ทำความเข้าใจ ลดอคติว่างานขายบริการ “ง่าย-สบาย”

ทำไมพี่น้องของเราจำนวนมากถึงได้มาทำงานนี้กัน เราทำงานกับน้องๆ ที่เป็นผู้หญิงบริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เราเจอว่าพี่ๆ น้องๆ ในพนักงานบริการผู้หญิง 100 คน 60 คน เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว สิ่งหนึ่งที่เขาตั้งปณิธานไว้เลยคือ “ฉันจะไม่มีวันให้ลูกเป็นแบบฉัน ฉันจะทำทุกอย่างเพื่อให้มีเงินแล้วก็ส่งให้ลูกเรียนหนังสือ” ฉะนั้นคำตอบที่ให้ลูกเวลาลูกถามว่าแม่ทำงานอะไร จะตอบว่าแม่ทำงานโรงงาน ทำงานห้างฯ จะไม่มีวันหลุดให้ลูกรู้เด็ดขาดว่าแม่ทำงานขายบริการ จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อแม่มีโอกาสมีแฟนที่เป็นชาวต่างชาติแล้วพา กลับบ้าน ความจริงจะเปิดได้เมื่อตัวเองสามารถมีอะไรกลับไปให้ครอบครัว ครอบครัวจะยอมรับอะไรได้บ้าง

DSCF9368

เรามองดูเหมือนว่าอาชีพนี้น่าจะง่าย เวลาได้ยินคนพูดว่า “ทำงานสบาย มักง่าย” ตัวเองจะรู้สึกเจ็บมากเลย เพราะว่าตลอดระยะเวลาที่ตัวเองอยู่กับน้องๆ เห็นว่าน้องๆ ต้องทำงานอะไร อย่างไร มันไม่ง่าย เพียงแค่ว่าเราจะเข้าห้องน้ำ ไปอาบน้ำ ต้องระมัดระวังว่า เราเปลื้องเสื้อผ้าแล้ว มีใครมองเห็นหรือเปล่า มีรูมีช่องหรือเปล่า กับการที่คนคนหนึ่งจะต้องลุกขึ้นไปทำอะไรบนฟลอร์ในบาร์ มันไม่ใช่เรื่องง่าย คุยกับหลายคนทำงานมา 5-10 ปี หลายคนต้องใช้ยาเมา กินให้ตัวเองเคลิบเคลิ้มเข้าไว้ จะได้ไม่รู้สึกอาย แต่ว่าเวลาที่อยู่หน้าเวที เขาจะต้องยิ้ม นั่นคือสิ่งที่เขาต้องทำให้มีผู้ที่มาซื้อบริการเขา

ทีนี้ เราไม่ได้ทำงานแต่น้องผู้หญิง ปี 2547 เราเริ่มทำงานกับน้องผู้ชายและสาวประเภทสองที่มาทำงานบริการ ตอนนั้นเราคิดไม่ออกว่ามีผู้ชายมาทำงานขายบริการ เมื่อเริ่มมีน้องเข้ามาขอรับบริการ-มาเรียนหนังสือกับเรา เราปฏิเสธไป เราเจ็บปวดพอสมควร แต่ที่เราปฏิเสธไปเพราะเราไม่ได้คิดมาก่อนเลยว่าจะมีน้องๆ ผู้ชายหรือสาวประเภทสอง โครงการนี้มีไว้สำหรับน้องผู้หญิง แต่แล้วเราก็ทนความเห็นใจน้องๆ ไม่ได้ เราก็ให้น้องๆ เข้ามาเรียน เวลาน้องมาเรียนหนังสือ ด้วยความที่มีเพศสภาพเป็นผู้ชายเขาถูกกดทับมากเลย คำถามแรกคือว่า คุณเป็นผู้ชายทำไมขี้เกียจ ทำไมมานอนทำงาน เขาไม่ได้มีโอกาสจะให้เหตุผลกับใครมากมายนัก ที่ตามมาคือว่า เวลาเขามีเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อทางทวาร เขาไม่รู้จะไปไหน จะบอกใคร เพราะว่าทวารไม่ใช่ช่องทางปกติในการมีเพศสัมพันธ์ เขาไปไหนไม่ได้ เราเจอว่าน้องเราติดเชื้อเอชไอวีมากมาย เพราะว่าไม่รู้จะพูดกับใคร ทำอะไร เราเลยคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องทำอะไร

คนตัวเล็กลงมือง่ายๆ “สำรวจพื้นที่-เก็บข้อมูล-สร้างสัมพันธ์”

ในกรุงเทพฯ มีพนักงานบริการผู้ชายเกือบ 5,000 คน พัทยาอีกประมาณ 3,000 คน เราจะปล่อยให้คนหลักพันอยู่แบบนี้ได้อย่างไร ก็เลยตั้งองค์กร ตอนจะตั้งองค์กรตัวเองคิดเสมอว่าจะอยู่วงนอกน้องๆ ตัวเองคิดว่าจะไม่ร่วมวงในถ้าคนที่อยู่ในปัญหานั้นไม่ได้ร่วมทำด้วย ถามน้องๆ ที่มารับบริการว่าอยากมีโครงการที่เป็นของตัวเองไหม น้องบอกว่าอยากมีมาก ถ้าอย่างนั้นเราทำอะไรด้วยกันไหม เราก็เริ่มลงมีกับน้อง 4 คน ซึ่ง sex worker มาก่อน

DSCF9366

เราจึงเริ่มจากรุงเทพฯ ก่อนเลย ในวิธีการทำงานของพวกเรา เนื่องจากเราเป็นคนตัวเล็กๆ ในชุมชน ไม่มีความรู้ทางวิชาการมากมาย เราคิดและลงมือแบบง่ายๆ เริ่มจากทำข้อมูลในพื้นที่ว่ามีสถานบริการที่ไหนบ้าง และสถานบริการแต่ละแห่งมีพวกเราอยู่เท่าไหร่ แล้วเราต้องรู้ให้ได้ว่าปัญหาและความต้องการคืออะไร เมื่อเราได้สิ่งนี้แล้วเราจะไปพูดบอกกับใครก็ได้ว่า เห็นไหมเรามีหลักฐาน ถ้าไม่ลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างจะส่งผลกระทบอย่างไร เราเรียนรู้ที่จะทำแมปปิ้งด้วยตัวเอง ลงไปคุย ลงไปสำรวจ เป็นฐานข้อมูลของพวกเรา

การทำงานกับเจ้าของสถานบริการสีเทาๆ ไม่ง่าย เพราะทุกคนจะระมัดระวังตัว ไม่เปิดประตูให้เราทำงาน เทคนิคของพวกเราอย่างหนึ่งเวลาเราทำงานเก็บข้อมูล เราต้องเก็บด้วยว่า วันเกิดเจ้าของบาร์หรือผู้จัดการ หรือคนที่เป็นพี่ใหญ่ในพื้นที่มีวันไหนบ้าง เราจะไปด้วยของขวัญเล็กๆ น้อยๆ แสดงให้เขารู้สึกว่า เราไม่ใช่คนนอกวง เราให้ความสำคัญกับสิ่งที่เขากำลังทำอยู่

เวลาทำงานกับเจ้าของธุรกิจ ตอนแรกๆ บอกน้องในทีมว่าเราต้องปิดตาข้างหนึ่ง ปิดหูข้างหนึ่ง ในที่ที่หนึ่งย่อมมีคนที่เป็นสีเทา สีขาว และสีดำ เราจะไม่ตัดสินเขาจากสิ่งที่เห็นจากภายนอก เพื่อที่จะทำงานกับเขาและยอมรับในสิ่งที่เราทำ เพราะประโยชน์ของเราอยู่ที่ปลายทาง ถ้าเขายอมเราหมายความว่าเขาจะให้เราเข้าถึงน้องๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของเขาได้ และน้องก็จะมีโอกาสที่ดีต่อไป

ต้องเปิดใจ ไม่ตีตรา และรักตัวเอง

ในปี 2547 สถานการณ์เอชไอวีในกลุ่มคนที่รักเพศเดียวกันมีมาก ธงใหญ่ของเราคือใช้เอชไอวีเป็นหลักในการเดินเรื่องทำงาน เราทำงานหลายส่วน จะทำอย่างไรที่จะสร้างพลังให้เขาเคารพตัวเอง รักตัวเอง เป็นสิ่งคัญ เราจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย ถ้าตัวเขาเองรู้สึกว่าตีตราตัวเอง รังเกียจตัวเอง น้องบางคนติดเอชไอวี เขาเดินมาหาเราแล้วหน้าเขาเฉยมาก เฉยจนเราตกใจ เราก็คุยกับเขา เขาบอกว่าเขาไม่รู้สึกตกใจว่าทำไมเขาติดเชื้อ เพราะว่าเขารับรู้ว่าตลอดว่าถ้าทำงานอาชีพนี้เขาติดเชื้อแน่นอน บางทีภาวะแบบที่เขายอมจำนน ไม่ป้องกัน มันส่งผลเสียต่อเขา เราต้องคุยกับเขาให้รู้เรื่อง ให้รักตัวเอง

DSCF9367

การแคร์คนอื่นมันมีความจำเป็นและความสำคัญ แต่การฟังคนอื่นถ้ามันทำร้ายตัวเรา จงปิดหูเสีย เราบอกน้องว่าเราเท่านั้นรู้ดีว่าทำไมเราถึงต้องมาทำอาชีพนี้ ไม่จำเป็นต้องบอกคนทุกคน แต่ว่าต้องรู้ตัวเรา แล้วเมื่อเรารู้ว่าเราทำอะไร เราเดินตามฝันไปให้ได้ น้องส่วนใหญ่ที่มาทำอาชีพนี้เพราะว่าต้องการจะทำงานเพื่อส่งให้ครอบครัว เวลาได้เงินมาตัวเองเป็นอันดับสุดท้าย เงินก้อนแรกที่ได้มาจะส่งให้ครอบครัว ถ้าเราไม่รักตัวเอง ไม่ดูแลตัวเอง เราจะไม่มีโอกาสทำหน้าที่ของเราที่จะส่งเงินกลับครอบครัว

ต่อมาเราทำเรื่องให้น้องเรียนรู้ที่จะดูแลตัวเองกัน ให้ดูแลสุขภาพ ในวิถีของเรา เราเป็นคนที่อยู่กับความสนุก ความสุข งานของเราต้องทำแล้วรู้สึกสนุก อันนี้ไม่ได้บังคับ เวลาที่ทำกิจกรรมแล้วให้เขาแต่งชายเขาจะโกรธมาก เขาอยากแต่งหญิง โอเค ถ้ามีความสุขก็ทำ อยากทำอะไรทำ แต่เราต้องดูขอบเขต เรามีคลินิกที่สวยมาก สวยประมาณเดียวกับคลินิกศัลยกรรมเลย ซึ่งเกิดจากแรงขับเคลื่อนของพวกเราว่าอยากมีอะไรต้องทำให้ได้

sexworker
ที่มาภาพ: https://goo.gl/tJgaeE

สถานพยาบาลของรัฐกับวิถีชีวิตของน้องมันสลับกัน น้องเราเพิ่งตื่น แต่ว่าบริการปิดแล้ว เราพยายามขับเคลื่อนที่จะบอกว่าเราต้องการคลินิกที่เป็นมิตร บริการที่สอดคล้องกับพวกเรา เราจะพิสูจน์ว่าเราตัวเล็กๆ สามารถลุกขึ้นมาบริหารจัดการคลินิกได้ เราฝึกตัวเองหนักมากเพื่อที่จะเป็นผู้ให้คำปรึกษา เราเรียนเพื่อสามารถเจาะเลือดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองได้ ซึ่งต่างประเทศทำแล้วแต่บ้านเราไม่มี ทุกเสาร์-อาทิตย์ เราทุบตัวเองเพื่อที่จะสามารถมีทีมงานเป็นของตัวเองได้

เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาทั้งหมดเป็นทีมงานของเราซึ่งเป็น sex worker มาก่อน และน้องๆ ได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพตัวเอง เขาทำงานได้อย่างมีคุณภาพ เราลิงก์ทุกอย่างที่จะมาการันตีระบบบริการของเรา เราทำงานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการยอมรับ

คนตัวเล็กช่วยเหลือกันเอง เชื่อม “ชุมชน” บริหารจัดการพื้นที่

ฝันใหญ่ฝันหนึ่งที่ทุกคนอยากทำคือเรียนหนังสือ ที่นี่จะเป็นโรงเรียนของพวกเขา เขาจะภูมิใจมาก เราเรียนภาษาอังกฤษกัน ไม่ได้มีเจตนาจะไปหลอกลวงลูกค้า แต่ถ้าเราสื่อสารไม่ได้ เราจะมีปัญหาอะไรตามมาอีกมากมาย ช่วงหนึ่งเรามีชาวต่างชาติมาช่วยเรา แต่เมื่อไม่มีเราก็เอาสตาฟฟ์มาสอน ที่นี่เราเปิด 10 โมง มีอาหารกลางวันเลี้ยง เราเจอปัญหามาก่อนเมื่อ 3 ปีที่แล้ว น้องที่เข้ามาจะกินข้าวกัน เขาจะซื้อผัดไทแล้วเอาผักที่ให้มาคลุกจนได้จานโต เขาจะเรียกเพื่อนๆ มาทานด้วยกัน สถานการณ์ภายนอกดูว่ารายได้เขาน่าจะดี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ น้องหลายคนมีเงินทานข้าวได้วันละมื้อเท่านั้น การที่เขาตื่นสายเข้าไว้หมายความว่าเขาจะได้เซฟเงิน เพราะว่าเขาไม่มีเงินกินข้าว ฉะนั้นเวลาที่ใครมีอาหารเขาจะแบ่งปันกัน เราต้องมีอาหารกลางวัน สตาฟฟ์ต้องมีหน้าที่ทำอาหาร เข้าเวรกัน น้องทุกคนมาที่สวิงจะได้อิ่มท้องและคิดอะไรได้ต่ออีกมากมาย

DSCF9359

กลางคืนเราก็ทำกิจกรรมในบาร์ จัดค่ายให้พวกเขา หรือตอนไหนที่เขารู้สึกตกต่ำมากๆ จะพาเขาไปไหว้พระเก้าวัด กระบวนการในค่ายจะช่วยให้เขารู้สึกช่วยเหลือกัน แบ่งปันกัน หนึ่งประตูที่ช่วยให้เราทำงานได้คือเจ้าของสถานบริการ เป็นคนที่ไม่ได้รับการยอมรับในสังคมเหมือนกัน ถ้าเปรียบเทียบเจ้าของโรงแรมกับเจ้าของสถานบริการ แน่นอนว่าเจ้าของโรงแรมได้รับการยอมรับมากกว่า เขามีตราบาปอยู่ในตัว เราเคารพเขา ให้คุณค่าเขา เราไม่มองว่าเขาทำสิ่งไม่ดีอะไรอยู่ ค่อยๆ ทำความเข้าใจเขา ไม่บอกว่าอย่าทำ ตอนนี้เราจึงทำงานกับเจ้าของสถานบริการบาร์ผู้ชาย 79 บาร์ บาร์ผู้หญิง 200 บาร์ เรามีเจ้าของสถานบริการอยู่ 15 แห่ง ที่ลุกขึ้นมาระดมทุนในวันเกิดของเขา แต่ละครั้งเราจะได้เงินมาใช้ในการทำงาน ถึงไม่มากแต่ได้คุณค่าสิ่งที่เขาทำให้เรา การที่จะเชื่อมคนในชุมชนให้ลุกขึ้นมารับผิดชอบที่เกิดขึ้นในสังคมของเขา เจ้าของสถานบริการจะร่วมในการคิด ในการวางแผนที่จะจัดบริการในพื้นที่ของพวกเขา

คิด “เปลี่ยนโลก” รอคนอื่นไม่ได้ ต้องเริ่มจากตัวเอง

ความภูมิใจของพวกเราเริ่มเมื่อปี 2547 ที่อยากจะตั้งโครงการขึ้นมา ตอนนั้นเราไม่มีทุน ไม่มีงบประมาณที่ไหนเลย สิ่งที่เราทำ เราติดต่อพนักงานที่เป็นพนักงาน sex worker ผู้หญิงที่เคยทำงานมาก่อนทุกช่องทาง บางคนมีครอบครัวอยู่ต่างประเทศ เราส่งไปว่าเราอยากทำอะไรให้เพื่อนๆ ผู้ชายและสาวประเภทสองแต่ยังไม่มีงบประมาณ เพียงระยะเวลาแค่เดือนเดียว เราได้รับเงินบริจาคจากน้องๆ ที่เป็นพนักงานบริการ 100,000 บาท เราใช้เงินนั้นตั้งต้นองค์กร แล้วมันทำให้เรารู้สึกภูมิใจว่าองค์กรนี้เกิดจาก sex worker

swingoffice
ที่มาภาพ: https://goo.gl/cUN2v7

ที่บ้าน เราจะจำได้หมดว่าใครเป็นคนทาสี เราไม่มีเงินที่จะจ้างช่างทาสี ทุกอย่างเราทำด้วยมือของเราเอง ตอนนั้นยังไม่มีไฟฟ้า เราทาสีภายในกันตอนกลางวัน ทาสีตรงระเบียงเวลากลางคืน เพื่อที่เราจะได้อาศัยแสงไฟจากพัฒน์พงศ์ มันมีประวัติศาสตร์ที่ทำให้รักบ้านหลังนี้และทำให้บ้านหลังนี้อยู่ต่อไป เพราะบ้านหลังนี้ทำให้น้องๆ รู้สึกว่ามีที่ของตัวเอง รู้สึกปลอดภัย มีที่ให้พูดให้บอกเวลาทุกข์ สุข หรืออยากร้องไห้

เราได้เห็นน้องๆ เติบโตขึ้นมาในองค์กร 70% เป็น sex worker มาก่อน น้องบางคนถูกดึงตัวเข้าไปทำงานในติดตามประเมินผลงานเอชไอวีในกระทรวงสาธารณสุข น้องบางคนลุกขึ้นมาเขียนโปรแกรมในการตามระบบของเราเองอย่างมีคุณภาพ ทีมพัทยาเกือบ 100% เป็น sex worker มาก่อนทั้งนั้น เขาลุกขึ้นมาบริหารองค์กรด้วยตนเอง

เราคิดว่าการจะเปลี่ยนโลกนั้นคงจะรอคนอื่นไม่ได้ ต้องเริ่มจากตัวเรา แม้ว่าจะเป็น sex worker มาก่อน แต่ว่าเราเปลี่ยนแปลงโลกได้ อย่างน้อยก็เป็นโลกของเรา สังคมเล็กๆ ของเรา สิ่งที่ได้กลับมาคือว่าเราเห็นว่าพี่น้องภาคภูมิใจในสิ่งที่เราทำอยู่

หมายเหตุ :ตอนที่ 2 พบกับแนวคิดในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและธรรมชาติ ของ ดร. เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์และเจ้าของบ้าน “ยั่งยืน” และพ่อหลวงพรมมินทร์ พวงมาลาผู้นำชุมชน บ้านแม่กำปอง จ. เชียงใหม่