ThaiPublica > ประเด็นสืบสวน > เจาะ 27 ลูกหนี้สมทบ ความผิดปกติเงินกู้หมื่นล้าน (1)

เจาะ 27 ลูกหนี้สมทบ ความผิดปกติเงินกู้หมื่นล้าน (1)

27 พฤษภาคม 2013


จากที่สำนักข่าวไทยพับลิก้าได้ รายงานข่าวสถานะของสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น กรณีที่สหกรณ์ได้มีการปล่อยกู้ประมาณว่า 10,000 ล้านบาท แก่ลูกหนี้ 27 ราย ล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงของลูกหนี้ดังกล่าวและพบว่า ลูกหนี้สมาชิกสมทบรายที่ 1. บริษัท ดรีม ธุรกิจ จำกัด(DREAM BUSINESS CO., LTD.) เลขทะเบียนนิติบุคคล 0105538117617 กู้เงินจากสหกรณ์ฯ คลองจั่น 525 ล้านบาท วันที่จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท 2 ตุลาคม 2538 สถานะทางบัญชี ยังดำเนินกิจการ ลักษณะกิจการ ประกอบกิจการให้เช่า ให้เช่าช่วง ให้เช่าพื้นที่ มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท จำนวนหุ้น 10,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท มีกรรมการบริษัท 1 คน คือ นายศุภชัย ศรีศุภอักษร ดูโครงสร้างผู้ถือหุ้น

รายชื่อผู้ถือหุ้น ดรีม ธุรกิจ
รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ดรีม ธุรกิจ จำกัด

จากการลงพื้นที่พบว่า บริษัทนี้ตั้งอยู่ที่ 4/33 ซ.การเคหะหลังที่ 4 ถ.ศรีบูรพา แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 โทรศัพท์ 02-375-7193 (ที่มาข้อมูล)

ที่ตั้ง ดรีมธุรกิจ : แฟลตคลองจั่น อาคาร4 ห้อง33
ที่ตั้งบริษัท ดรีมธุรกิจ จำกัด แฟลตคลองจั่น อาคาร4 ห้อง33

ผู้สื่อข่าวตรวจสอบที่ตั้งบริษัทเพิ่มเติม และพบข้อสังเกตที่น่าสนใจดังนี้ 1. เมื่อโทรศัพท์ไปยังเบอร์ 02-375-7193 พบว่าเป็นเทปตอบรับอัตโนมัติของสหกรณ์ฯ คลองจั่น 2. นอกจากสถานที่ข้างต้นจะเป็นที่ตั้งบริษัทดรีมธุรกิจ ยังพบว่าเป็นที่ตั้งของกองบรรณาธิการ “สำนักพิมพ์ฮันส์บุ๊คส์” 3. สถานที่ตั้งบริษัทอยู่ในแฟลตการเคหะคลองจั่น แฟลตที่ 4 ห้องที่ 33 ซึ่งมีข้อความบนป้ายหน้าห้องว่า “ศุภชัย ศรีศุภอักษร ผู้ใหญ่บ้าน “

นอกจากนี้ จากการตรวจสอบงบการเงินตลอด 3 ปี ของบริษัท ตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2554 พบความเคลื่อนไหวของงบการเงินดังนี้ ปี 2552 ผู้สอบบัญชีบริษัทคือ นายประยุทธ ศิริบุญ งบดุลปี 2552 และ กำไรขาดทุนปี 2552

ปี 2553 ผู้สอบบัญชีบริษัทคือ นางสาวพรทิพย์ เจียมสกุลยั่งยืนงบดุลปี 2553 และ กำไรขาดทุนปี 2553

ปี 2554 ผู้สอบบัญชีบริษัทคือ นางสาวมนชยา ตันติกุลพงศ์ งบดุลปี 2554 และ กำไรขาดทุนปี 2554

งบการเงิน ดรีมธุรกิจ 2552-2554
งบการเงิน บริษัท ดรีม ธุรกิจ จำกัด 2552-2554

นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังตรวจสอบพบว่า “สำนักพิมพ์ฮันส์บุ๊คส์” เป็นบริษัทเดียวกันกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สำนักพิมพ์ ฮันส์บุ๊คส์ เลขทะเบียนนิติบุคคล 0132554000017 วันที่จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทคือ 25 มีนาคม 2554 โดยมีลักษณะกิจการเป็นการจัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือ มีทุนจดทะเบียน 700,000 บาท สถานะทางบัญชียังดำเนินกิจการ มีกรรมการบริษัท 1 คน คือ นางสาวสุจินดา ศรีศุภอักษร

ลูกหนี้สมาชิกสมทบรายที่ 2 บริษัท แมนเทค อินเตอร์เนชันแนล ซัพพลาย จำกัด ทะเบียนนิติบุคคล 0105545128670 กู้เงินจากสหกรณ์ฯ คลองจั่น 596,000 บาท วันที่จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท 6 ธันวาคม 2545 ลักษณะกิจการ ร้านขายปลีกสินค้าทั่วไป, นายหน้า

สถานะทางบัญชีร้าง (ปิดเมื่อ 28/02/54) มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท จำนวนหุ้น 10,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท มีกรรมการบริษัท 3 คนได้แก่ 1. นายพีรศักดิ์ ขาวเผือก 2. นายพงษ์อนันต์ ขาวเผือก 3. นางสาวเกศกานดา โพธิสมบัติ (ดูโครงสร้างผู้ถือหุ้น)

รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท แมนเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท แมนเทค อินเตอร์เนชันแนล จำกัด

สถานที่ตั้ง 14/9 ตรอกการเคหะหลังที่ 14 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โทร 0-2733-8708 (ที่มาข้อมูล)

ที่ตัั้ง บริษัท แมนเทค:แฟลตคลองจั่น อาคาร 14 ห้อง 9
ที่ตัั้ง บริษัท แมนเทค อินเตอร์เนชันแนล จำกัด: แฟลตคลองจั่น อาคาร 14 ห้อง 9

ทั้งนี้ ที่ตั้งบริษัทอยู่ในแฟลตการเคหะคลองจั่น แฟลตที่ 14 ห้องที่ 9 และจากการสอบถามเพื่อนบ้านห้องใกล้เคียง ทราบว่าห้องดังกล่าวเป็นเพียงที่พักอาศัยของนายพีรศักดิ์ ขาวเผือก ไม่มีการดำเนินธุรกิจ

สำหรับสถานะงบการเงินบริษัท 3 ปี ตั้งแต่ปี 2545-2547 พบความเคลื่อนไหวของงบการเงิน ดังนี้

งบการเงิน แมนเทค อินเตอร์เนชันแนล 2545-2547
งบการเงิน บริษัท แมนเทค อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ปี 2545-2547

ปี 2545 ผู้สอบบัญชีบริษัทคือ นายธนพงษ์ แตงสมุทร งบดุลปี 2545 และ กำไรขาดทุนปี 2545

ปี 2546 ผู้สอบบัญชีบริษัทคือ นายธนพงษ์ แตงสมุทร งบดุลปี 2546 และ กำไรขาดทุนปี 2546

ปี 2547 ผู้สอบบัญชีบริษัทคือ นายธนพงษ์ แตงสมุทร งบดุลปี 2547 และ กำไรขาดทุนปี 2547

ลูกหนี้สมาชิกสมทบรายที่ 3 กองทุนเพื่อการพัฒนา ไม่ปรากฏเลขทะเบียนนิติบุคคล ไม่ปรากฏวันที่จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ไม่ปรากฏลักษณะกิจการ ไม่ปรากฏสถานะทางบัญชี ไม่ปรากฏโครงสร้างผู้ถือหุ้น กู้เงินจากสหกรณ์ฯ คลองจั่น 890 ล้านบาท

สถานที่ตั้ง 116/7 ถ.หลานหลวง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ

ที่ตั้ง กองทุนเพื่อการพัฒนา:เลขที่ 116/7 หลานหลวง ซ.6
ที่ตั้ง กองทุนเพื่อการพัฒนา: เลขที่ 116/7 หลานหลวง ซ.6

ผู้สื่อข่าวสำรวจที่ตั้งของกองทุนเพื่อการพัฒนา พบว่า ที่ตั้งเป็นตึกแถว 1 ห้อง อยู่ในซอยหลานหลวง 6 ซึ่งมีผู้พักอาศัยอยู่ 4 คน ไม่มีการประกอบกิจการ

ลูกหนี้สมาชิกสมทบรายที่ 4 บริษัท ไทยปิโตรพลัส จำกัด เลขทะเบียนนิติบุคคล 0105553100231 กู้เงินจากสหกรณ์ฯ คลองจั่น 297 ล้านบาท สถานะ-ยังดำเนินกิจการ วันจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท 18 สิงหาคม 2553

ลักษณะกิจการ-ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท จำนวนหุ้น 5 ล้านหุ้น ราคาหุ้น 100 บาท มีกรรมการบริษัท 4 คนได้แก่ 1. นายธเนศวัฒน์ นริพธพันธ์ 2. นายสุรจิตต์ ผดุงวิทย์ 3. นายสหพล สังขเมฆ 4. นายธงชัย จิตรนวเสถียร (ดูโครงสร้างผู้ถือหุ้น)

ผู้ถือหุ้น ไทยปิโตรพลัส
ผู้ถือหุ้น บริษัท ไทยปิโตรพลัส จำกัด

สถานที่ตั้ง ชั้น 9 อาคาร U-TOWER 411 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ทั้งนี้อาคารดังกล่าวยังเป็นที่ตั้งของสหกรณ์ฯ คลองจั่น สาขา U-TOWER , บริษัท ศรีศุภกร โฮลดิ้ง, บริษัท ไทยปิโตรพลัส เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์, บริษัท ศรีศุภกร โฮลดิ้ง, บริษัท สหประกันภัย จำกัด (มหาชน), บริษัท ยูเนียน อินเตอร์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน), สมาคมสมาพันธ์่สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตแห่งเอเชีย (ACCU) และมูลนิธิพัฒนาสหกรณ์แห่งเอเชีย (CODFA)

ที่ตั้ง ไทยปิโตรพลัส ,ไทยปิโตรพลัส เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์,ศรีศุภกร โฮลดิ้ง :ชั้น 9 อาคาร U-TOWER 411 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
ที่ตั้ง ไทยปิโตรพลัส, ไทยปิโตรพลัส เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์, ศรีศุภกร โฮลดิ้ง: ชั้น 9 อาคาร U-TOWER 411 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

สถานะงบการเงินบริษัท 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2554 พบความเคลื่อนไหวทางการเงินดังนี้

ปี 2553 ผู้สอบบัญชีบริษัทคือ นายโกศล ตังคะพิภพ งบดุลปี 2553 และ กำไรขาดทุนปี 2553

ปี 2554 ผู้สอบบัญชีบริษัทคือ นายโกศล ตังคะพิภพ งบดุลปี 2554 และ กำไรขาดทุนปี 2554

งบไทยปิโตรพลัส 2553-2554
งบการเงิน บริษัท ไทยปิโตรพลัส จำกัด ปี 2553-2554

จากงบดุลและกำไรขาดทุนทั้ง 2 ปี ทรัพย์สินส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ที่ได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย ไม่ใช่การลงทุนในกิจการผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนทั้งหมดบันทึกเป็นอุปกรณ์ มูลค่าประมาณ 5 ล้านบาท จึงมีแนวโน้มว่าบริษัทยังไม่มีการลงทุนด้านปิโตรเลียมที่แท้จริง

ลูกหนี้สมาชิกสมทบรายที่ 5 บริษัท ไทยปิโตรพลัส เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เลขทะเบียนนิติบุคคล 0105553100207 กู้เงินจากสหกรณ์ฯคลองจั่น 1,500 ล้านบาท สถานะยังดำเนินกิจการ วันจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท 18 สิงหาคม 2553 ลักษณะกิจการเป็นการซื้อ ขาย เช่า อสังหาริมทรัพย์ ขอสัมปทานกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท จำนวนหุ้น 5 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาทมีกรรมการบริษัท 4 คน ได้แก่ 1. นายธเนศวัฒน์ นริพธพันธ์ 2. นายสุรจิตต์ ผดุงวิทย์ 3. นายศุภชัย ศรีศุภอักษร 4. นายสาธิต เตชะพูลผล (ดูโครงสร้างผู้ถือหุ้น)

ผู้ถือหุ้น ไทยปิโตรพลัส เอ๊กพอลเรชั่น แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์
ผู้ถือหุ้น บริษัท ไทยปิโตรพลัส เอ็กซพอลเรชั่น แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด

สถานที่ตั้งชั้น 9 อาคาร U-TOWER 411 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 อาคารดังกล่าวยังเป็นที่ตั้งของ สหกรณ์ฯ คลองจั่น สาขา U-TOWER, บริษัท ศรีศุภกร โฮลดิ้ง, บริษัท ไทยปิโตรพลัส, บริษัท ศรีศุภกร โฮลดิ้ง, บริษัท สหประกันภัย จำกัด (มหาชน), บริษัท ยูเนียน อินเตอร์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน), สมาคมสมาพันธ์่สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตแห่งเอเชีย (ACCU) และมูลนิธิพัฒนาสหกรณ์แห่งเอเชีย (CODFA)

สถานะการเงินบริษัท 3 ปี ตั้งแต่ ปี 2553-2554 พบความเคลื่อนไหวทางการเงินดังนี้ ปี 2553 ผู้สอบบัญชีบริษัท คือนายโกศล ตังคะพิภพ งบดุลปี 2553 และ กำไรขาดทุนปี 2553

ปี 2554 ผู้สอบบัญชีบริษัทคือ นายโกศล ตังคะพิภพ งบดุลปี 2554 และ กำไรขาดทุนปี 2554

งบการเงิน ไทยปิโตรพลัส เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ 2553-2554
งบการเงิน บริษัท ไทยปิโตรพลัส เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ 2553-2554

จากงบดุลและกำไรขาดทุนทั้ง 2 ปี ว่าทรัพย์สินส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน เป็นรูปแบบที่เหมือนกับ บริษัท ไทยปิโตรพลัส ที่ได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยค้างรับ) ซึ่งไม่ใช่การลงทุนในกิจการ ซื้อ ขาย เช่า อสังหาริมทรัพย์ ,ขอสัมปทานกรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังที่ระบุเอาไว้

ลูกหนี้สมาชิกสมทบรายที่ 6 บริษัท ศรีศุภกร โฮลดิ้งเลขทะเบียนนิติบุคคล 0105553097991 กู้เงินจากสหกรณ์คลองจั่น 250 ล้านบาท สถานะทางบัญชี-ยังดำเนินกิจการ วันจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท 11 สิงหาคม 2553 ลักษณะกิจการ-ประกอบกิจการนำเข้า จำหน่าย ประมูลเพื่อการค้าอาวุธยุทโทปกรณ์ทุกชนิด รวมทั้งยุทธปัจจัยที่ใช้ในราชการนำเข้า ทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท จำนวนหุ้น 10 ล้านหุ้น ราคาหุ้น 100 บาท มีกรรมการบริษัท 5 คน ได้แก่ 1. นายธเนศวัฒน์ นริพธพันธ์ 2. นายสุรจิตต์ ผดุงวิทย์ 3. นายสหพล สังข์เมฆ 4. นายธงชัย จิตรนวเสถียร 5. นายศุภชัย ศรีศุภอักษร (ดูโครงสร้างผู้ถือหุ้น)

รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ศรีศุภากร โโฮลดิ้ง จำกัด
รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ศรีศุภกร โฮลดิ้ง จำกัด

สถานที่ตั้งชั้น 9 อาคาร U-TOWER 411 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 อาคารดังกล่าวยังเป็นที่ตั้งของ สหกรณ์ฯ คลองจั่น สาขา U-TOWER, บริษัท ศรีศุภกร โฮลดิ้ง, บริษัท ไทยปิโตรพลัส, บริษัท ศรีศุภกร โฮลดิ้ง, บริษัท สหประกันภัย จำกัด (มหาชน), บริษัท ยูเนียน อินเตอร์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน), สมาคมสมาพันธ์่สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตแห่งเอเชีย (ACCU) และมูลนิธิพัฒนาสหกรณ์แห่งเอเชีย (CODFA)

สถานะงบการเงินบริษัท 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2554 พบเคลื่อนไหวทางการเงินดังนี้

ปี 2553 ผู้สอบบัญชีบริษัทคือ นายโกศล ตังคะพิภพ งบดุลปี 2553 และ กำไรขาดทุนปี 2553

ปี 2554 ผู้สอบบัญชีบริษัท คือนายโกศล ตังคะพิภพ งบดุลปี 2554 และ กำไรขาดทุนปี 2554

งบการเงิน ศรีศุภากร โฮลดิ้ง 2553-2554
งบการเงิน บริษัท ศรีศุภากร โฮลดิ้ง จำกัด 2553-2554

จากงบดุลและกำไรขาดทุนทั้ง 2 ปี ทรัพย์สินส่วนใหญ่ 1000 ล้านบาท อยู่ในรูปของเงินลงทุนระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับรายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไทยปิโตรพลัส และ บริษัท ไทยปิโตรพลัส เอ็กพลอเรชั่น ฯ ที่บริษัท ศรีศุภากร โฮลดิ้ง ถือหุ้นบริษัทละ 480 ล้านบาท ทรัพย์สินอีกส่วนหนึ่งคือ เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัท ไทยปิโตรพลัส, บริษัท ไทยปิโตรพลัส เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ และบริษัท ศรีศุภกร โฮลดิ้ง ต่างมีบริษัท ศรีศุภากร โฮลดิ้ง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน 2 บริษัทแรก มีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่เกี่ยวโยงกันกับ 2 บริษัทแรก อีกทั้งกรรมการบริษัททั้ง 3 ยังมีชื่อซํ้ากันหลายคน

จากการตรวจสอบข่าวย้อนหลัง (ดูข่าว1) และ (ดูข่าว 2) พบว่าบริษัท ไทยปิโตรพลัส จำกัด มีความพยายามที่จะขอสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม โดยบริเวณที่ขอสัมปทานปิโตรเลียมคือแปลงหมายเลข L37 พื้นที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยจากข่าวระบุว่าจะเข้าร่วมยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมในครั้งที่ 21 ตามที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ประกาศเชิญชวน แต่ปัจจุบันการเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 ยังไม่เกิดขึ้น ส่วนการเปิดสัมปทานครั้งที่ 20 ดำเนินการไปเมื่อปี 2550 ก่อนบริษัท ไทยปิโตรพลัส จำกัด ก่อตั้ง

ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังนางบุญบันดาล ยุวนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักบริหารสัมปทานปิโตรเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งนางบุญบันดาลกล่าวว่า ไม่มีรายชื่อบริษัท ไทยปิโตรพลัส จำกัด เป็นผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม ส่วนกรณีการโอนสัมปทานระหว่างบริษัท ต้องทำเรื่องผ่านไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งก็ต้องถูกบันทึกว่าเป็นผู้รับสัมปทานแล้วเช่นกัน

ทั้งนี้ จากรายงานประจำปี 2554 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติปรากฏว่าไม่พบรายชื่อบริษัท ไทยปิโตรพลัส จำกัด หรือ บริษัท ไทยปิโตรพลัส เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ส่วนพื้นที่สัมปทาน L37 นั้น บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด เป็นผู้ประมูลสัมปทานได้ในการขอสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 20

ความเคลื่อนไหวเหตุการณ์สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นล่าสุด

วันที่ 17 พฤษภาคม 2556 ที่สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น เวลาประมาณ 10.00 น. ขณะที่สหกรณ์เปิดดำเนินการให้สมาชิกทำธุรกรรม ฝาก-ถอนเงิน นายมณฑล กันล้อม รักษาการณ์ประธานดำเนินการสหกรณ์ฯ คลองจั่น พร้อมด้วยคณะกรรมการชุด 28 ที่เหลืออยู่ และนายอารีย์ แย้มบุญยิ่ง ผู้จัดการสหกรณ์ฯ คลองจั่น เดินทางมาพร้อมกับชุดรักษาความปลอดภัยจำนวนหนึ่ง และตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 (น.4) เข้ามายังสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นเป็นครั้งแรกในรอบ 45 วัน เมื่อมาถึงสหกรณ์ฯ นายมณฑลและคณะเข้าห้องไอที ชั้น 2 ของสหกรณ์ ซึ่งเป็นที่ควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ของสหกรณ์ทันที

หลังจากคณะของนายมณฑลเดินทางมาถึงไม่นาน นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ คลองจั่น เดินทางเข้ามายังสหกรณ์ฯ คลองจั่นพร้อมการ์ดจำนวนหนึ่ง และได้เปิดห้องประชุมเกยุราพันธ์ เพื่อพูดคุยกับสมาชิก

สถานการณ์ในขณะนั้น สมาชิกบางส่วนเข้าไปซักถามและต่อว่านายมณฑลและคณะ แต่ถูกการ์ดและตำรวจกันออกไป ส่วนบันไดขึ้นไปชั้น 2 มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเฝ้าไม่ให้มีสมาชิกขึ้นไป จากนั้นมีสมาชิกสหกรณ์ที่ทราบเหตุการณ์เดินทางมาสมทบที่สหกรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ บางส่วนเข้าไปฟังนายศุภชัยในห้องประชุม บางส่วนจับกลุ่มพูดคุยและสังเกตการณ์ บางส่วนโห่เสียงดังแสดงความไม่พอใจที่นายมณฑลไม่เข้ามาทำงานที่สหกรณ์เป็นเวลานาน

ด้านเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ส่วนหนึ่งยังปฏิบัติงานตามปกติ เพราะยังมีสมาชิกจำนวนมากที่รับบัตรคิวถอนเงินแล้ว 500 คน แต่ก็มีเจ้าหน้าที่สหกรณ์บางส่วนที่แสดงท่าทีไม่พอใจฝ่ายนายมณฑลและนายอารีย์ โดยตะโกนต่อว่าและส่งเสียงโห่ใส่ฝ่ายนายมณฑลอยู่บริเวณชั้น 1

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ต.อ.บรรลือศักดิ์ ขลิบเงิน เจรจาขอใช้ห้องประชุมกับนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ที่มาภาพจาก เฟซบุ๊ค หนังสือพิมพ์เกลียวเชือก
วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ต.อ.บรรลือศักดิ์ ขลิบเงิน เจรจาขอใช้ห้องประชุมกับนายศุภชัย ศรีศุภอักษร
ที่มาภาพ: เฟซบุ๊กหนังสือพิมพ์เกลียวเชือก

สถานการณ์อยู่ในภาวะตึงเครียด ชั้นล่างมีทั้งการ์ดของนายมณฑลและการ์ดของนายศุภชัยเฝ้าอยู่ ส่วนบริเวณนอกอาคารก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบประจำการอยู่ จนกระทั่ง พ.ต.อ.บรรลือศักดิ์ ขลิบเงินรอง ผบก.น.4 เดินทางเข้ามายังสหกรณ์ฯ คลองจั่น และเข้าพูดคุยกับนายศุภชัยเพื่อสอบถามสถานการณ์ จากนั้นจึงเรียกผู้แทนสหกรณ์ 4 คน ตามคำสั่งศาลแพ่ง รวมทั้งนายศุภชัย และฝ่ายนายมณฑล ไปเจรจา 2 ฝ่าย เพื่อหาข้อยุติเรื่องการจัดประชุมใหญ่ 2 ฝ่าย ที่ห้องประชุมคณะกรรมการ ชั้น 2 ของสหกรณ์ฯ

ผู้ร่วมเจรจาฝ่ายนายมณฑลประกอบด้วย คณะกรรมการชุดที่ 28 ที่ยังไม่ลาออก ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งประกอบด้วย ผู้แทนสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ กรรมการสหกรณ์ (9 เม.ย.) โดยนายศุภชัยขึ้นไปบนชั้น 2 ด้วยแต่ไม่ได้เข้าร่วมวงเจรจา ผลการเจรจาไม่ได้ข้อสรุปเพราะปัญหาฝ่ายเจ้าหน้าที่สหกรณ์ไม่ต้องการให้นายอารีย์ทำหน้าที่ผู้จัดการใหญ่สหกรณ์ฯ คลองจั่นต่อไป จากนั้นเวลาประมาณ 16.00 น. นายมณฑลพร้อมทีมงานจึงเดินทางกลับ

วันที่ 17 พฤษภาคม การเจรจา 2 ฝ่ายเพื่อหาข้อยุติเรื่องการจัดประชุมใหญ่ของสหกรณ์ฯ ที่มาภาพ : เฟซบุ๊ค หนังสือพิมพ์เกลียวเชือก
วันที่ 17 พฤษภาคม การเจรจา 2 ฝ่าย เพื่อหาข้อยุติเรื่องการจัดประชุมใหญ่ของสหกรณ์ฯ
ที่มาภาพ: เฟซบุ๊ก หนังสือพิมพ์เกลียวเชือก

วันที่ 19 พฤษภาคม 2556 ที่สหกรณ์ฯ คลองจั่น ซึ่งเป็นวันปิดทำการสหกรณ์ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 (น.4) และสถานีตำรวจลาดพร้าวจำนวนกว่า 30 นาย ประจำการอยู่รอบๆ สหกรณ์ โดยมี พล.ต.ต.นัยวัฒน์ ผะเดิมชิต ผู้บัญชาการ น.4 ร่วมสังเกตการณ์ด้วย เมื่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวแจ้งว่า มาเพื่อป้องกันเหตุทะเลาะวิวาท

ส่วนบริเวณพื้นที่สหกรณ์ พบเจ้าหน้าที่สหกรณ์และชายกลุ่มหนึ่ง โดยมีการตั้งกล้องวิดีโอจากในสหกรณ์เพื่อบันทึกภาพรอบๆ สหกรณ์ อีกทั้งหน้าสหกรณ์พบสมาชิกสหกรณ์กลุ่มหนึ่งจับกลุ่มพูดคุยกัน เมื่อสอบถามก็ได้ความว่า มีข่าวจากสมาชิกและกรรมการสหกรณ์ชุดวันที่ 9 เมษายน 2556 (ฝ่ายนายศุภชัย ศรีศุภอักษร) ว่านายมณฑลจะนำคนเข้ามาที่สหกรณ์เหมือนวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 แต่นายศุภชัยทราบข่าวก่อนจึงแจ้งทางตำรวจ นำรถยนต์จอดขวางประตูสหกรณ์ เตรียมคนและสมาชิกบางส่วนเพื่อขัดขวางไม่ให้นายมณฑลเข้าสหกรณ์

ผู้สื่อข่าวสอบถามกับแม่ค้าในบริเวณดังกล่าว พบว่ามีคนเข้าไปในสหกรณ์ตั้งแต่ประมาณตี 4 จนกระทั่งเวลาประมาณ 13.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มคนในสหกรณ์จึงสลายตัว เพราะไม่พบว่านายมณฑลเดินทางมาจริง

วันที่ 20 พฤษภาคม 2556 นายมณฑล กันล้อม โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊กส่วนตัวของตัวเอง มีเอกสารหลายฉบับดังนี้

หนังสือเชิญประชุมใหญ่วิสามัญ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2556 เชิญประชุมวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 เวลา 8.00- 13.00 น. ที่โรงแรมทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพฯ อ้างอิงจากมติที่ประชุมคณะกรรมการชุดที่ 28 ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 ในหนังสือดังกล่าวมีข้อความเน้นว่า ผู้มีสิทธิลงคะแนนต้องเป็นสมาชิกสมบูรณ์เท่านั้น (เป็นสมาชิกเกิน 6 เดือน) ส่วนผู้ลงเลือกตั้งกรรมการ ต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่ 58 และระเบียบที่ 15 พร้อมระบุว่ากำลังส่งหนังสือเชิญประชุมไปที่บ้านสมาชิกทุกคน

คำสั่งศาลแพ่ง คดีดำ 1764/2556 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม มีใจความว่า ห้ามผู้แทนสหกรณ์ 4 คน ที่ศาลเคยให้อำนาจทำธุรกรรมของสหกรณ์แทนคณะกรรมการ มิให้ดำเนินการจัดประชุมใหญ่ในวันที่ 26 พฤษภาคม เพราะเจตนารมณ์ที่ศาลตั้งผู้แทนชั่วคราว 4 คน ก็เพื่อให้ทำธุรกรรมเท่านั้น อีกทั้งปรากฏว่ากรมส่งเสริมสหกรณ์มีคำสั่งให้นายมณฑล กันล้อม รักษาการณ์ประธานสหกรณ์ฯ จัดประชุม และนายมณฑลก็มีหนังสือเชิญประชุมวันที่ 28 พฤษภาคม

วันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ที่สหกรณ์ฯ คลองจั่น มีประกาศของสหกรณ์ติดอยู่ 2 ฉบับ ฉบับแรก เป็นประกาศของสหกรณ์แจ้งงดให้บริการถอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2556 จากก่อนหน้านี้ที่ให้สมาชิกถอนรวมทุกบัญชีไม่เกินรายละ 20,000 บาท ที่สาขาคลองจั่นไม่เกินวันละ 500 คน ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม ถึงวันที่ 18 พฤษภาคม โดยให้เหตุผลว่าตามคำสั่งศาลแพ่ง คดีดำ 1764/2556 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ให้อำนาจผู้แทนที่เป็นเจ้าหน้าที่ 4 คน ทำธุรกรรมแทนกรรมการ จนถึงวันที่ออกหนังสือ มีเพียงธนาคาร (กรุงไทย) เพียงแห่งเดียวที่ให้สหกรณ์ถอนเงินฝากได้ ส่วนธนาคารอื่นๆ ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

ในวันดังกล่าวยังอนุญาตให้สมาชิกถอนเงินได้ แต่จำกัดจำนวนสมาชิกเหลือเพียง 100 คน โดยยังให้บริการรับฝากและชำระหนี้อยู่ ขณะเดียวกันมีสมาชิกสหกรณ์จำนวนหนึ่ง

ส่วนประกาศอีกฉบับหนึ่งคือ หนังสือเชิญประชุมวิสามัญ เชิญสมาชิกสหกรณ์ฯ เข้าร่วมประชุมใหญ่วิสามัญ วันที่ 26 พฤษภาคม เวลา 8.00-13.00 น. ที่ศูนย์ประชุมสหกรณ์ อาคาร ยู ทาวเวอร์ ศรีนครินทร์ ลงนามโดยนายวีรยุทธ รุจิเรข และนางจันทร์ฉาย ขันธะหัตถ์ ซึ่งทั้งคู่เป็นรองผู้จัดการสหกรณ์และผู้แทนชั่วคราวตามคำสั่งศาลแพ่ง ลงวันที่ 18 พฤษภาคม อ้างถึงคำสั่งคำสั่งศาลแพ่ง คดีดำ 1764/2556 และหนังสือคำสั่งของกรมส่งเสริมสหกรณ์ กษ 1107/1449 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม ซึ่งเป็นฉบับเดียวกับที่นายมณฑล กันล้อม อ้างในหนังสือเชิญประชุมเช่นกัน โดยมีข้อสังเกตว่า วาระการประชุมดังกล่าวมีเพียงวาระเลือกตั้งประธาน คณะกรรมการ และผู้ตรวจสอบกิจการเท่านั้น ซึ่งต่างจากหนังสือเชิญประชุมของนายมณฑล ที่มีทุกวาระเหมือนการประชุมใหญ่ประจำปี

วันที่ 23 พฤษภาคม 2556 สำนักส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 ส่งหนังสือลงวันที่ 23 พฤษภาคม แจ้งกลับต่อนายวีรยุทธ รุจิเรข และคณะ มีใจความว่า สำนักฯ พื้นที่ 2 ปฏิเสธเข้าร่วมประชุมใหญ่ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2556 ซึ่งเรียกประชุมโดยนายวีรยุทธ รุจิเรข ผู้แทนชั่วคราวสหกรณ์ เพราะพิจารณาพบว่า อำนาจเรียกประชุมใหญ่เป็นของคณะกรรมการชุดที่ 28 ดังนั้น การประชุมวันที่ 26 พฤษภาคม จึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับสหกรณ์

ตลอดอาทิตย์ที่ผ่านมา มีสมาชิกจำนวนมากได้รับหนังสือเชิญประชุมส่งมาที่บ้าน 2 ฉบับ คือ วันที่ 26 และวันที่ 28 พฤษภาคม สร้างความสับสนให้สมาชิกอย่างมาก ขณะที่เจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ คลองจั่นก็ไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ทุกคน จึงมีสมาชิกกลุ่มหนึ่งทำหนังสือถึงสำนักฯ พื้นที่ 2 เร่งรัดให้ชี้ชัดว่าการประชุมครั้งใดถูกต้องกว่ากัน และควรเข้าร่วมการประชุมครั้งใด

หลังจากที่มีคำสั่งศาลแพ่ง และหนังสือปฏิเสธเข้าร่วมประชุม ทางเจ้าหน้าที่สหกรณ์และนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ยังไม่ยกเลิกนัดสมาชิกวันที่ 26 พฤษภาคม แต่เปลี่ยนจากการประชุมใหญ่วิสามัญเป็นเปิดห้องประชุมให้สมาชิกได้พูดคุยสอบถามถึงสถานการณ์ที่ผ่านมาแทน

ขณะที่ศาลแพ่งนัดไต่สวนคำร้อง คดีเรียกทรัพย์คืน เลขที่คดีดำ 728/2556 ในวันที่ 27 พฤษภาคม เวลา 13.30 น. ที่ ห้องพิจารณาคดี 501 ศาลแพ่งรัชดา กรุงเทพฯ โดยมีโจทย์คือสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ส่วนจำเลยคือนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานดำเนินการสหกรณ์ฯ คลองจั่น

ด้านนางวรรณภา พิลังกาสา ประธานเครือข่ายสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น กล่าวว่า เครือข่ายสมาชิกสหกรณ์ฯ มีจุดประสงค์การจัดตั้ง 3 ข้อ ได้แก่ 1. เพื่อให้สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ซึ่งตั้งมา 30 ปี คงอยู่ให้บริการสมาชิกตลอดไป 2. เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ฯ คลองจั่น ที่มีเงินฝากทุกประเภท ได้รับเงินคืนและได้รับผลประโยชน์ตามความเป็นจริงและเป็นธรรม 3. เพื่อเป็นศูนย์รวมแลกเปลี่ยนข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ระดมความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกที่อยู่ในชมรม จะได้แก้ปัญหาต่างๆ ได้ทันเวลา ไม่ผิดพลาด ละเลย

นางวรรณภากล่าวอีกว่า แนวทางการทำงานมีข้อเดียว คือ ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนายมณฑลหรือนายศุภชัย จะทำงานโดยยึดผลประโยชน์สูงสุดของสมาชิกสหกรณ์ฯ เป็นหลัก หากสมาชิกคนใดอยากเข้าร่วมในเครือข่าย สามารถลงชื่อได้ที่คุณเดือน เลขานุการเครือข่าย เบอร์โทรศัพท์ 084-559-1616

ล่าสุด เครือข่ายส่งจดหมาย ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2556 ไปยังนายมานะ สุดสงวน ประธานชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนียนแห่งประเทศไทย เพื่อขอความคิดเห็นและแนวทางแก้ปัญหาสหกรณ์ฯ คลองจั่น