ThaiPublica > คอลัมน์ > Brexit เเละความรู้สึกเกลียดกลัวคนต่างชาติ

Brexit เเละความรู้สึกเกลียดกลัวคนต่างชาติ

11 กรกฎาคม 2016


ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
www.powdthavee.co.uk

ที่มาภาhttps://www.youtube.com/watch?v=ZbEZNhFY9TAพ :
ที่มาภาhttps://www.youtube.com/watch?v=ZbEZNhFY9TAพ :

เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน ผมเเละภรรยาได้มีโอกาสนั่งดูผลของการโหวต EU referendum ด้วยกันที่บ้านของเราทั้งสองคนในเมืองวอริค สหรัฐราชอาณาจักร ผลเเรกที่ออกมาก็คือเมืองนิวคาสเซิลโหวตให้ UK ยังอยู่ใน EU (50.07% โหวต “Remain”) ซึ่งก็เป็นผลที่ทั้งผมเเละภรรยาได้คาดการณ์กันไว้ตั้งเเต่ต้นเเล้วเพราะว่าไม่ว่าจะเป็นศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจที่ไหน (รวมไปถึง Centre for Economic Performance ที่ผมทำงานอยู่ที่ London School of Economics ด้วย) ต่างก็ออกมาพูดก่อน referendum กันทั้งหมดว่า ผลกระทบของการที่ UK ออกจาก EU ต่อเศรษฐกิจของคนในประเทศนั้นจะมีเเต่ลบกับลบ พูดง่ายๆก็คือไม่มีอะไรดีเลย มันก็เลยกลายมาเป็นมาตราฐานในการคิดของผมว่าคนใน UK ส่วนใหญ่ไม่น่าจะเป็นคนที่ไม่มีเหตุผลขนาดที่จะไม่สนใจปัญหาเศรษฐกิจที่จะตามมาในอนาคตเลย

How wrong was I?

เเต่พอใกล้ๆเที่ยงคืนผลอื่นๆที่ออกตามกันออกมากลับเป็นโหวต “Leave” ให้ UK ออกจาก EU กันทั้งนั้น ทั้งผมเเละภรรยาก็เริ่มใจตุ๊มๆต่อมๆเพราะเราทั้งสองเป็น “Remainers” ทั้งคู่ เเต่เราทั้งสองก็คิดว่ามันคงไม่เเย่ขนาดนั้นหรอกน่าเพราะมันยังเหลืออีกตั้งสองร้อยกว่าถิ่นที่ผลยังไม่ออก ไปนอนก่อนเเล้วค่อยตื่นมาดูก็ได้ เพราะยังไงๆ UK ไม่มีทางออกจาก EU เเน่ๆ

ผมเเละภรรยาตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอนตีสี่ครึ่ง เเละหลังจากที่เราทั้งสองงัวเงียตื่นขึ้นมาดูผลนั้นผมเเละภรรยาถึงกับต้องช็อกกับสิ่งที่เรากำลังเห็นอยู่บนหน้าจอทีวีของเราตอนประมาณตีห้า

“15 ล้านคนโหวตให้ UK ออกเเละ 14 ล้านคนโหวตให้ UK อยู่”

ผมเเละภรรยามองหน้ากันเเล้วพูดพร้อมๆกันว่า เป็นไปได้ยังไง นี่มันกำลังเกิดอะไรขึ้นกันอยู่เนี่ย

หลังจากนั้นไม่นาน หลังจากที่การนับโหวตของทุกๆถิ่นในสหรัฐราชอาณาจักรได้จบลงเเละเป็นที่เเน่นอนเเล้วว่า Brexit จะต้องเกิดขึ้นเเน่ๆ ผมเเละภรรยาก็เกือบที่จะนั่งน้ำตาไหลด้วยกันทั้งสองคน มันเป็นความเศร้าอย่างชนิดที่เราทั้งสองคนอธิบายไม่ได้ โดยเฉพาะตัวผมซึ่งผมคิดว่าผมเข้าใจความไม่มีเหตุมีผลของคนเราค่อนข้างดี เเต่ตัวผมเองผมก็คิดไม่ถึงมาก่อนเลยว่าความไม่มีเหตุมีผลของคนนั้นจะ widespread เเละสามารถครอบคลุมจำนวนคนเกือบทั่วทั้งประเทศได้เสียขนาดนี้

เพราะว่าถ้าเขารู้ว่าการออกจาก EU จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ร้ายเเรงต่อตัวของคนที่โหวต “Leave” เอง (เพียงเเค่หนึ่งชั่วโมงหลังจาก Brexit เงินปอนด์ก็ตกอย่างที่ไม่เคยตกมากว่า 30 ปี รวมไปถึงราคาหุ้นในหลายๆที่ก็ตกตามกันไปด้วย) เเล้วทำไมเขายังทู่ซี้โหวตให้ UK ออกจาก EU ที่มีทั้ง single market เเละ free movement of labour กันอยู่

Brexit and xenophobia

เเต่หลังจากนั้นเพียงเเค่วันเดียว ผมก็เริ่มพอที่จะเข้าใจในเหตุผลของคนส่วนใหญ่ที่โหวต “Leave” ได้ว่า พวกเขาโหวตอย่างนั้นไม่ใช่เพราะเขาเข้าใจผิดว่า Brexit จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเเละของตัวของเขาเองดีขึ้น เเต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้เขาโหวตอย่างนั้นเพราะพวกเขาปักใจเชื่อว่า Brexit จะทำให้จำนวนคนที่อพยพเข้ามาในประเทศ ที่มาเเย่งงานคนอังกฤษทำบ้าง หรือมารับสวัสดิการฟรีๆของอังกฤษบ้าง (immigration) ลดลงไป

ในฐานะที่ตัวผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่อพยพเข้ามาทำงานเเละกินอยู่ในประเทศอังกฤษ ผมก็ต้องขอบอกว่าจำนวนของคนอพยพเข้าประเทศเพื่อที่จะขอรับสวัสดิการของอังกฤษนั้น พอเราคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เเล้ว ถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก (จาก 5.3 ล้านคนที่อยู่ในลิสท์ของคนที่รับสวัสดิการ เเค่ 7% เท่านั้นเป็น immigrants) เเละจาก 31 ล้านคนที่ทำงานในประเทศอังกฤษ เเค่ 4.9 ล้านคน (หรือ 16%) เท่านั้นเป็นคนที่อพยพมาทำงานในประเทศ

เเต่อย่างไรก็ตาม “ปัญหาของคนอพยพเข้าประเทศ” ก็ถูกใช้ให้กลายเป็น propaganda ที่ทางฝ่ายรณรงค์ให้ UK ออกจาก EU ใช้ในการหาเสียงเป็นหลัก (ดูตัวอย่างได้จากโปสเตอร์ที่หัวหน้าพรรค UK Independent (UKIP) Nigel Farage ใช้ในการหาเสียง) ซึ่งก็ก่อให้เกิดการปลุกเร้าคนที่เเต่ก่อนรู้สึกเกลียดคนต่างชาติอยู่เเล้ว (หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า xenophobia) ให้รู้สึกเกลียดเเละอยากให้ immigrants ออกจากประเทศไปมากกว่าเดิม

Nigel Farage เเละโปสเตอร์ของ “Leave” campaign
Nigel Farage เเละโปสเตอร์ของ “Leave” campaign

Xenophobia เเละทฤษฎี Social Norm

เเละหลังจากการจบ EU referendum เพียงเเค่ไม่กี่วันก็มีข่าวว่าอัตตราของ hate crime (อาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการเกลียดชัง) ก็พุ่งตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมถึง 500% — จากประมาณเฉลี่ยอาทิตย์ละ 63 เคสขึ้นมาเป็น 331 เคสเพียงเเค่อาทิตย์เดียวหลังจาก Brexit) ซึ่งส่วนใหญ่เเล้วเป็นเเค่คนผิวขาวอังกฤษตะโกนบอกคนผิวขาวเหมือนกันที่เป็น EU อย่างเช่นคนโปเเลนด์ เเละคนโรมาเนีย เเละคนที่ต่างสีผิวเเละศาสนาอย่างเช่นคนที่เป็นคนผิวดำ คนเอเชีย คนที่เป็นมุสลิมเป็นต้น ให้ “กลับบ้านไปซะ พวกเราโหวตให้พวกเเกออกไป พวกเราชนะเเล้ว” เเต่ก็มีอีกหลายเคสที่ถึงกลับทำร้ายร่างกายเเละข้าวของกัน

คำถามก็คือว่า Brexit ทำให้คนกลายเป็นคนเหยียดคนต่างชาติงั้นหรือ คำตอบก็คือไม่นะครับ ผมไม่เชื่ออย่างนั้น ผมเชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่โหวต “Leave” เป็นคนที่เหยียดคนต่างชาติทุกคน เเต่ผมเชื่อว่าคนที่เหยียดคนต่างชาติทุกคนโหวต “Leave”

เเล้วถ้างั้นทำไมจำนวนของ hate crime ถึงเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัวอย่างนั้นในเพียงเเค่อาทิตย์เดียวหลังจาก Brexit

คำตอบอยู่ในทฤษฎี “ระเบียบเเละมาตราฐานสังคม” ของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล จอร์จ อัคเคลอฟ (George Akerlof) ครับ ทฤษฎีนี้มีอยู่ว่าคนในสังคมส่วนใหญ่จะประพฤติตามกฎหรือ code ของสังคมที่คนส่วนใหญ่เชื่อกัน ถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมเชื่อว่า “ไม่ควรตัดผมวันพุธกัน” เราก็จะเห็นว่าร้านตัดผมในสังคมนั้นๆก็จะปิดกันวันพุธ เเละถ้าใครเเหกกฎไปตัดผมกันในวันพุธให้คนอื่นเห็น คนๆนั้นก็จะถูกสังคมประณามหรือทำโทษได้

เเต่ถ้ามีวันใดวันหนึ่งเกิดมีจำนวนคนที่เริ่มฝืนกฎเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ความเชื่อในระเบียบเเละมาตราฐานสังคมก็จะเปลี่ยนไป ผลลัพธ์ของการประณามจากสังคมก็จะมีประสิทธิ์ภาพลดน้อยลงตามๆไปกับจำนวนคนที่ยังเชื่อกฎนั้นๆอยู่

ความรู้สึกเกลียดกลัวคนต่างชาติก็เหมือนๆกันนะครับ จากเเต่ก่อนคนพวกนี้อาจจะเเสดงตัวออกมาไม่ได้มากเพราะกฎเเละความเชื่อของคนในสังคมส่วนใหญ่ก็คือ “การเหยียดคนต่างชาติ ต่างสีผิว ต่างศาสนา เป็นสิ่งที่ไม่ดีเเละผิดกฎหมาย”

เเต่เพราะผลจาก EU referendum ทำให้คนพวกนี้คิดว่า “เฮ้ย มีคนตั้ง 17 ล้านคนไม่อยากให้คนต่างชาติเข้ามาในประเทศง่ายๆเหมือนเเต่ก่อนอีกเเล้ว” พวกเขาถึงกล้าเเสดงออก เเละกล้าทำในสิ่งที่พวกเขาไม่กล้าที่จะทำในช่วงก่อนที่ Brexit จะเกิดขึ้นเพียงเเค่เพราะว่าพวกเขาคิดว่า Brexit เป็น “สัญญาน” ว่าจำนวนคนที่เชื่อใน code เดิมๆนั้นได้ลดลงไปจากเดิมเเล้ว

เเละถึงเเม้ว่าผมเเละภรรยาจะยอมรับถึงผลของการโหวตที่เป็นประชาธิปไตยในครั้งนี้ เราทั้งสองต่างก็หวังว่า “ความมีเหตุมีผล” ของคนจะกลับมาหาคนส่วนใหญ่ในประเทศที่เราเรียกว่า “บ้าน” ในเร็ววันนี้