ThaiPublica > Native Ad > บทความร่วมมือ > สาธารณสุขย้ำจุดยืนในเวทีอนุสัญญารอตเตอร์ดัม ยันสังคมไทยต้องไร้แร่ใยหิน

สาธารณสุขย้ำจุดยืนในเวทีอนุสัญญารอตเตอร์ดัม ยันสังคมไทยต้องไร้แร่ใยหิน

3 กรกฎาคม 2015


คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติหนุนขึ้นบัญชีดำแร่ใยหินไครโซไทล์ในเวทีโลก ย้ำอนุกรรมการกำหนดท่าทีประเทศไทยในเวทีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมต้องใช้ข้อมูลที่รอบด้านและมีความรู้เรื่องอันตรายจากแร่ใยหินอย่างถูกต้อง พร้อมขอให้ทุกหน่วยงานดูแลผู้บริโภค เร่งกระจายข้อมูลถึงผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ดูแลผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ

วันที่ 3 กรกฎาคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วย ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วม ได้รับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง "มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน"
วันที่ 3 กรกฎาคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วย ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วม ได้รับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน”

วันที่ 3 กรกฎาคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วย ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วม ได้รับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน”

ศ.ดร.วันที่ 3 กรกฎาคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วย ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วม ได้รับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมมอบให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งส่งรายงานของ “คณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบจากแร่ใยหิน” ซึ่งระบุถึงอันตรายจากการสัมผัสและสูดดมแร่ใยหิน พร้อมเอกสารจุดยืนของ องค์การอนามัยโลก ไปยังผู้แทนของ อนุกรรมการอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (Rotterdam Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and Pesticides in International Trade: RC) ในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลไกภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทำหน้าที่กำหนดท่าทีประเทศไทยในเวทีอนุสัญญารอตเตอร์ดัม

นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ได้เข้าชี้แจงเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุม กล่าวว่า คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้เน้นย้ำความสำคัญของการให้ข้อมูลอันตรายจากแร่ใยหินไครโซไทล์ที่ถูกต้อง ชัดเจน และทันสมัยมาโดยตลอด เนื่องจากที่ผ่านมามีความพยายามของบริษัทเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกใช้แร่ใยหิน ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอให้พิจารณาใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทยได้ต่อไป โดยอ้างมติที่ประชุมอนุสัญญารอตเตอร์ดัม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 (Rotterdam Convention COP7 Meeting) ว่า ไม่ได้มีการขึ้นบัญชีแร่ใยหินไครโซไทล์เป็นสารเคมีอันตรายตามภาคผนวก III โดยอ้างเอกสารของ International Chrysotile Association (ICA) ซึ่งแท้จริงเป็นองค์กรที่สนับสนุนการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสถาบันการศึกษา เพื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเรื่องแร่ใยหินไครโซไทล์ในการประชุมของอนุสัญญารอตเตอร์ดัม เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 พบว่า การพิจารณาของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการพิจารณาแล้วหลายครั้งแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งที่ประชุมใหญ่ได้รับทราบผลกระทบทางสุขภาพในผู้ประกอบอาชีพและประชาชนทั่วไป ทำให้หลายประเทศที่เป็นกลางวิตกกังวล และไม่ต้องการให้ประชาชนของตนต้องเสี่ยงชีวิต ได้สนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนเป็นสารเคมีอันตรายทันที

“ขณะนี้มีประเทศสมาชิกและภาคีของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมจำนวนถึง 37 แห่ง สนับสนุนให้บรรจุแร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ไว้ในบัญชีภาคผนวกที่ 3 ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัม ซึ่งถือเป็นสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และมีแนวโน้มของภาคีสมาชิกให้การสนับสนุนมากขึ้นทุกครั้ง ความยากอยู่ที่วิธีการหาข้อตกลงของการประชุมไม่ได้ใช้การโหวตหาเสียงข้างมาก แต่ใช้การหาฉันทมติที่ทุกภาคีต้องเห็นด้วย 100 % ในขณะที่ภาคีสมาชิกที่คัดค้านก็มักเป็นประเทศผู้ส่งออกแร่ใยหินรายใหญ่ การจะหาข้อตกลงแบบสมบูรณ์จึงเป็นเรื่องยากมาก”

ภายหลังจากการอภิปรายอย่างกว้างขวาง และพิจารณาข้อมูลวิชาการจากหลายแหล่ง คสช. จึงมีมติมอบให้กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงไปยัง คณะกรรมการวัตถุอันตราย ถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหินไครโซไทล์ตามรายงานของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกระทรวงสาธารณสุข ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีไปแล้ว เพื่อสนับสนุนให้คณะกรรมการฯ พิจารณาขึ้นทะเบียนเป็น วัตถุอันตรายประเภทที่ 4 หรือกลุ่มที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สสส. กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค เร่งสื่อสารและทำความเข้าใจถึงอันตรายของแร่ใยหินไครโซไทล์ไปยังผู้จำหน่าย ผู้ใช้ และผู้รับเหมาก่อสร้างต่างๆ ซึ่งขณะนี้องค์กรวิชาชีพ เช่น สภาสถาปนิก สภาวิศวกร ต่างก็เห็นความสำคัญและผลกระทบทางสุขภาพของเรื่องนี้แล้ว

นอกจากนั้นคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติยังมอบให้ คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ทำการทบทวนมติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ การปรับค่ามาตรฐานความปลอดภัยใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จากเดิมที่อนุญาตให้มีแร่ใยหินปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมที่ทำงานไม่เกิน 5 เส้นใยต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เป็นค่ามาตรฐานตามที่ สมาคมนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐของสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ คือ 0.1 เส้นใยต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เพื่อคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งเสนอให้ ร่าง พ.ร.บ.ขยะแห่งชาติ พ.ศ. … กำหนดให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าที่มีแร่ใยหินต้องรับซื้อคืนขยะปนเปื้อน เป็นต้น