ThaiPublica > คอลัมน์ > เปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มความสุข(2): การเปลี่ยนจุดที่ควรจะโฟกัสในชีวิต

เปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มความสุข(2): การเปลี่ยนจุดที่ควรจะโฟกัสในชีวิต

24 กุมภาพันธ์ 2015


ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
www.powdthavee.co.uk

คุณผู้อ่านว่าคนกลุ่มไหนน่าจะมีความสุขมากกว่ากันระหว่าง คนที่อาศัยอยู่ใน Midwest ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถ้าคุณผู้อ่านไม่เคยไปมาก่อน Midwest ของสหรัฐอเมริกาเป็นสถานที่ๆมีอุณภูมิโดยเฉลี่ยในหน้าหนาวเเล้วประมาณ -2 องศาเซลเซียส เเละมีหิมะตกเกือบทุกปี

คนที่อาศัยอยู่รัฐเเคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถานที่ๆมีอุณภูมิโดยเฉลี่ยในหน้าหนาวประมาณ 21 องศาเซลเซียส เเละมีเเดดออกตลอดเกือบทั้งปี

ได้คำตอบกันหรือยังครับ ถ้าได้เเล้วผมอยากจะขอถามคำถามกับคุณผู้อ่านอีกข้อหนึ่ง คุณผู้อ่านว่าคุณผู้อ่านจะมีความสุขมากขึ้นกว่าเเต่ก่อนเยอะไหมถ้าคุณผู้อ่านรวยขึ้น

California Dreaming

ถ้าให้ผมเดาผมจะขอเดาว่าคุณผู้อ่านส่วนใหญ่คงกำลังคิดอยู่ว่า (1) คนที่อาศัยอยู่รัฐเเคลิฟอร์เนียน่าจะมีความสุขมากกว่าคนที่อาศัยอยู่ใน Midwest ของสหรัฐอเมริกา เเละ (2) ถ้ารวยขึ้นก็น่าจะมีความสุขมากขึ้นเป็นธรรมดา

ทั้งสองคำตอบนี้ไม่ใช่คำตอบที่เเปลก เเถมทั้งสองคำตอบยังเป็นคำตอบที่นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Printon) เเละเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลทางด้านเศรษฐศาสตร์อย่างเเดเนียล คานีเเมน (Daniel Kahneman) มักจะพบเห็นได้เป็นประจำจากการเก็บข้อมูลงานวิจัยของเขาเมื่อสิบกว่าปีที่เเล้ว

ยกตัวอย่างงานวิจัยชิ้นหนึ่งของทั้งสองที่ตีพิมพ์ในวารสาร Psychological Science ไปในปีคศ. 1998 ในการทดลองชิ้นนี้ทั้งสองได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม กลุ่มเเรกเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมิชิเเกน (Michigan) เเละมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สเตท (Ohio State) ซึ่งทั้งสองมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในใจกลาง Midwest ของสหรัฐอเมริกา เเละกลุ่มที่สองเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเเคลิฟอร์เนีย เออไวน์ (California Irvine) ในรัฐเเคลิฟอร์เนีย โดยเเดเนียล คานีเเมน เเละเพื่อนร่วมงานเดวิด ชคาร์ด (David Schakde) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก (Chicago) ได้ทำการถามคำถามง่ายๆกับคนทั้งสองกลุ่มว่า

“คุณว่าคนกลุ่มไหนน่าจะมีความสุขมากกว่ากันระหว่างคนที่อาศัยอยู่ใน Midwest หรือ คนที่อาศัยอยู่รัฐเเคลิฟอร์เนีย”

ทั้งสองนักวิจัยพบว่าคนทั้งสองกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นคนในกลุ่มที่อาศัยอยู่ใน Midwest หรือเเคลิฟอร์เนีย ต่างก็ให้คำตอบที่เหมือนกันว่าคนที่อาศัยอยู่รัฐเเคลิฟอร์เนียน่าจะมีความสุขมากกว่าคนที่อาศัยอยู่ใน Midwest หลังจากนั้นเเดเนียล คานีเเมนเเละเดวิด ชคาร์ดก็ให้คนทั้งสองกลุ่มประเมินความสุขของตัวเองโดยให้พวกเขาตอบคำถามที่เกี่ยวกับความสุขที่มีข้อความดังต่อไปนี้

“ในชีวิตของคุณ คุณมีความสุขกับชีวิตมากน้อยเเค่ไหน? 0 = น้อยที่สุด เเละ 10 = มากที่สุด”

เเต่เเทนที่เราจะเห็นความสุขของคนที่อาศัยอยู่ในรัฐเเคลิฟอร์เนียมีค่าเฉลี่ยที่สูงกว่าความสุขของคนที่อาศัยอยู่ใน Midwest ทั้งสองนักวิจัยกลับพบว่าค่าเฉลี่ยความสุขของคนทั้งสองกลุ่มกลับมีค่าที่เท่ากัน พูดง่ายๆก็คือโดยเฉลี่ยเเล้วคนที่อาศัยอยู่ในรัฐเเคลิฟอร์เนียไม่ได้มีความสุขมากน้อยไปกว่าคนที่อาศัยอยู่ในMidwest ของสหรัฐอเมริกาเลย

คล้ายๆกันกับเวลาที่คนเราส่วนใหญ่มักจะคิดกันว่า ”ถ้าเรารวยขึ้นเราน่าจะมีความสุขมากขึ้นกว่าเเต่ก่อนเยอะ” เเต่ในความเป็นจริงเเล้วนักวิจัยส่วนใหญ่มักจะพบกันว่าเงินเเทบจะใช้ซื้อความสุขไม่ได้เลย หรือถ้าซื้อได้ก็จะได้เเค่นิดเดียวเท่านั้น

จุดโฟกัสลวงตา (focusing illusion)

อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สิ่งที่คนเราคิดว่าควรจะเป็นเเละสิ่งที่เป็นความเป็นจริงเเตกต่างกันมากขนาดนึ้

เเดเนียล คานีเเมนอธิบายในงานวิจัยของเขาว่าเหตุผลหลักๆที่ทำให้คนเราส่วนใหญ่มักจะคิดกันว่าคนที่อาศัยอยู่ในรัฐเเคลิฟอร์เนียมีความสุขกว่าคนที่อาศัยอยู่ใน Midwest เพราะเขาอาศัยอยู่ในถิ่นที่มีภูมิอากาศที่ดีกว่า (Midwest นั้นหนาวยะเยือกเกือบทั้งปี ส่วนเเคลิฟอร์เนียจะมีอุณภูมิที่อุ่นเเละน่าอยู่ตลอดทั้งปี) เเต่ในความเป็นจริงเเล้วนั้นความสุขของคนเราเเทบจะไม่มีความสัมพันธ์อะไรกับภูมิอากาศที่เราอาศัยอยู่เลย ในทางกลับกันตัวเเปลความสุขของคนเรามักจะเป็นสิ่งที่ทั้งคนที่อาศัยอยู่ใน Midwest เเละเเคลิฟอร์เนียต่างก็น่าจะมี(หรือไม่มี)พอๆกัน อย่างเช่นการมีชีวิตคู่เเละการมีเพื่อนที่ดี เป็นต้น

พูดง่ายๆก็คือเวลาที่คนเรากำลังทำการเปรียบเทียบระหว่าง A กับ B (ไม่ว่า A เเละ B จะเป็นอะไรก็ตาม) เรามักจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามันเเตกต่างเป็นที่สุดระหว่าง A กับ B มากจนเกินไป (ในกรณี Midwest เเละเเคลิฟอร์เนียก็คือภูมิอากาศนั่นเอง) ถึงเเม้ว่าข้อเเตกต่างตัวนั้นๆอาจจะไม่มีความสำคัญอะไรในฟังก์ชันความสุขของคนเราเลยเเม้เเต่นิดเดียว เเดเนียล คานีเเมนเรียก bias ตัวนี้ของคนเราว่า focusing illusion หรือ จุดโฟกัสลวงตา

เหมือนกันกับตอนเวลาที่คนเราคิดถึงผลลัพธ์ของความรวยกับความสุข คนเรามักจะนึกถึงเเต่ชีวิตที่สะดวกสะบาย ชีวิตที่เราสามารถใช้เวลาเกือบทั้งวันเเละทุกวันในการตีกอล์ฟหรือดูทีวีจอยักษ์ เเต่ผลของการวิจัยของเเดเนียล คานีเเมนกลับพบว่าคนรวยส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับคนที่จนกว่าเเล้วนั้นกลับใช้เวลาในเเต่ละวันของเขาในการทำงานเเละในการเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน ซึ่งล้วนเเต่เป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียด เเละใช้เวลาน้อยมากกับกิจกรรมผ่อนคลายอย่างเช่นการออกกำลังกายหรือการดูทีวีเป็นต้น ซึ่งล้วนเเต่เป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขทั้งนั้น ซึ่งพอฟังดูเเล้วมันจึงไม่น่าจะเป็นที่เเปลกใจเลยว่าทำไมคนรวยส่วนใหญ่ถึงไม่ได้มีความสุขมากน้อยไปกว่าคนจน เเต่ถ้าเราถามคนธรรมดาทั่วไป เกือบร้อยทั้งร้อยคงจะเลือกชีวิตที่รวยมากกว่าชีวิตที่จนกันทั้งนั้น นั่นก็เป็นเพียงเพราะว่าเวลาคนธรรมดาทั่วไปคิดถึงผลข้างเคียงของการมีเงิน พวกเขากลับไม่ค่อยจะให้น้ำหนักอะไรเลยกับการที่พวกเขาต้องทำอะไรบ้างเพื่อที่จะได้เงินต้วนั้นมา

เเละด้วยเหตุผล focusing illusion นี้เองที่ที่ทำให้คนหลายๆคนเลือกที่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันในออฟฟิศหรือเดินทางไปกลับจากที่ออฟฟิศ เเทนที่จะพยายามเเบ่งเวลาให้ถูกต้องในเเต่ละวัน

การเปลี่ยนจุดที่ควรจะโฟกัสในชีวิต

บทเรียนสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ของเเดเนียล คานีเเมนก็คือ ในการตัดสินใจจะทำอะไรซักอย่าง สิ่งที่เราไม่ค่อยจะคิดถึงกัน (เพียงเพราะคุณสมบัติของสิ่งนั้นๆไม่ได้มีความสัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับสิ่งที่เรากำลังคิดจะตัดสินใจทำ อย่างเช่นการเดินทางไปทำงานไกลๆเพื่อที่จะได้เงินเดือนที่เยอะขึ้นเป็นต้น) อาจจะมีผลข้างเคียงกับความสุขมากกว่าที่เราคิดทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าคนเราเเคร์ว่าการตัดสินใจของเราจะมีผลกับความสุขของตัวเราเองมากน้อยเเค่ไหน เราควรจะให้ความสนใจกับคอนเซ็ปต์ focusing illusion ของเเดเนียล คานีเเมนให้มากขึ้น เเละเเทนที่จะตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราชอบอะไรมากกว่ากันระหว่าง A กับ B เราควรจะถามตัวเราเองว่าทั้งสองช้อยส์นั้นจะทำให้เราจำเป็นต้องเปลี่ยนการดำเนินชีวิตประจำวันของเราไปในทางไหนบ้าง เเละเราจะชอบการใช้ชีวิตประจำวันเเบบไหนมากกว่ากัน ซึ่งถ้าเราสามารถทำได้ โอกาสที่เราจะเลือกสิ่งที่จะส่งผลให้เรามีความสุขพอๆกันกับความสุขที่เราคาดเอาไว้ตั้งเเต่ตอนเเรกก็น่าจะมากขึ้นตามๆกัน

อ่านเพิ่มเติม
Kahneman, D., Krueger, A. B., Schkade, D., Schwarz, N., & Stone, A. A. (2006). Would you be happier if you were richer? A focusing illusion. science, 312(5782), 1908-1910.
Schkade, D. A., & Kahneman, D. (1998). Does living in California make people happy? A focusing illusion in judgments of life satisfaction. Psychological Science, 9(5), 340-346.