ThaiPublica > คนในข่าว > ซีรีส์ 15 ปี วิกฤติ 2540 “บรรยง วิเศษมงคลชัย” สวมวิญญาณ “เอเอ็มซี” แก้หนี้เน่า ต้องไม่ใช่แค่ “ซื้อมาขายไป”

ซีรีส์ 15 ปี วิกฤติ 2540 “บรรยง วิเศษมงคลชัย” สวมวิญญาณ “เอเอ็มซี” แก้หนี้เน่า ต้องไม่ใช่แค่ “ซื้อมาขายไป”

15 ตุลาคม 2012


ในโอกาสครบรอบ 15 ปี วิกฤติ 2540 ซึ่งถูกบันทึกเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์วิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลก ที่มีผลกระทบรุนแรงและสร้างความเสียหายมหาศาลให้กับประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของวิกฤติ แต่ 15 ปีผ่านมา ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤติครั้งนั้น ทั้งผู้ก่อวิกฤติ ผู้แก้วิกฤติ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ มีการปรับตัวและได้เรียนรู้อะไรจากวิกฤติครั้งนี้บ้าง และประเทศไทยซึ่งฝ่ามรสุมวิกฤติครั้งนั้นมาได้จนถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่อย่างไร เพื่อตอบโจทย์คำถามดังกล่าว สำนักข่าวไทยพับลิก้าได้รวบรวมบทสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องมานำเสนอในซีรีส์ “15 ปี วิกฤติ 2540 ประเทศไทยอยู่ตรงไหน”

สำนักงานไทยพับลิก้า ได้สัมภาษณ์พิเศษ “บรรยง วิเศษมงคลชัย” กรรมการและประธานคณะกรรมการจัดการ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ซึ่งหลายๆ คนยกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้เสีย เนื่องจากผ่านประสบการณ์การทำงานในบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ที่แก้ไขปัญหาหนี้เสียตั้งแต่บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ซึ่งปิดตัวไปแล้ว จากนั้นก็มาทำงานที่ บสก. ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งนี้ 2 วาระ ปัจจุบันนั่งเป็นกรรมการและเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ดังนั้น ประสบการณ์ต่างๆ มาจากการลงมือปฏิบัติจริง จึงน่าจะเป็นบทเรียนที่สำคัญเกี่ยวกับจัดการหนี้เสียในช่วงที่ผ่านมาและในอนาคต

ประเด็นสัมภาษณ์ มุ่งเน้นเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของระบบสถาบันการเงินของเอเอ็มซี ว่ามีบทบาทจัดการหนี้เสียมากน้อยแค่ไหน และประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้เอเอ็มซีเป็นเครื่องมือ หรือกลไกจัดการแก้ปัญหาหนี้เสียของระบบสถาบันการเงิน ได้ให้บทเรียนอะไรบ้าง ซึ่งสัมภาษณ์โดย “บุญลาภ ภูสุวรรณ” บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวไทยพับลิก้า

แต่ก่อนจะเข้าประเด็นการบริหารจัดการหนี้เสียของเอเอ็มซี นายบรรยงได้สะท้อนมุมมองของผู้ที่อยู่ในแวดวงสินเชื่อมาก่อนว่า เห็นสัญญาณฟองสบู่แตกหรือไม่อย่างไร และหนี้เสียที่เกิดขึ้นจากวิกฤติ 2540 มีมากน้อยแค่ไหน

ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “บรรยง วิเศษมงคลชัย” ตอนที่ 1

หนี้เสียของระบบสถาบันการเงินที่มีมากถึง 2.5 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 50% ของสินเชื่อทั้งระบบในขณะนั้น หลังเกิดวิกฤติแล้วมีการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือเอเอ็มซี ทั้งของภาครัฐและเอกชนขึ้นมาจัดการหนี้เสียจำนวนมหาศาลนี้ 15 ปีผ่านไป หนี้เสียจำนวนนี้เหลืออยู่เท่าไร

ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “บรรยง วิเศษมงคลชัย” ตอนที่ 2

วิกฤติ 2540 ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากหมดตัว มีปัญหาหนี้สินเพราะชำระคืนหนี้เงินกู้แบงก์ไม่ได้ ต้องเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ในการเจรจาปรับโครงสร้างนี้มีข้อจำกัด มีความยากลำบากอย่างไร ที่สำคัญ บทบาทของเอเอ็มซีต้องแก้ปัญหานี้ด้วยจิตวิญญาณ และลูกหนี้ประเภทใดมีปัญหาหนักที่สุดในการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “บรรยง วิเศษมงคลชัย” ตอนที่ 3

ปัญหาหนี้เสียที่เกิดจากวิกฤติ 2540 มีทั้งลูกหนี้ดี ลูกหนี้ไม่ดี และลูกหนี้ประเภทไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย “บรรยง วิเศษมงคลชัย” เจอลูกหนี้ประเภทไหนมากที่สุด และลูกหนี้ที่เขาประทับใจเป็นอย่างไร

ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ บรรยง วิเศษมงคลชัย” ตอนที่ 4

บทเรียนจากการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของ “บรรยง วิเศษมงคลชัย” เขามั่นใจว่า เอเอ็มซีเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาหนี้เสียของระบบสถาบันการเงิน และในอนาคต หากเกิดวิกฤติอีกครั้ง เอเอ็มซียังคงมีบทบาทสำคัญ แต่เอเอ็มซีที่มีอยู่พร้อมหรือไม่กับวิกฤติครั้งใหม่ รายละเอียดเรื่องนี้เป็นอย่างไร

ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “บรรยง วิเศษมงคลชัย” ตอนที่ 5

จากประสบการณ์แก้ไขปัญหาหนี้เสียมาอย่างโชกโชน และเห็นความยากลำบากของลูกหนี้มามากมาย แต่สิ่งที่เขาเป็นห่วงมากในอนาคตคือ ทุกคน “ลืม” ความเจ็บปวดที่ผ่านมา 15 ปี ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “บรรยง วิเศษมงคลชัย” ตอนที่ 6 (จบ)