ThaiPublica > คอลัมน์ > นานเท่าไรจึงตระหนักว่าไม่ยั่งยืน?

นานเท่าไรจึงตระหนักว่าไม่ยั่งยืน?

9 กรกฎาคม 2012


สฤณี อาชวานันทกุล

“การพัฒนาที่ยั่งยืน” (sustainable development) คือวิถีการพัฒนาที่สรุปได้สั้นๆ ว่า คำนึงถึงคนรุ่นหลังมากกว่าคนรุ่นปัจจุบัน องค์การสหประชาชาติและอีกหลายองค์กรพยายามรณรงค์ส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา แต่แนวคิดนี้ถูกกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจบดบัง ต่อเมื่อวิกฤติสิ่งแวดล้อมลุกลามและทวีความรุนแรง ประกอบกับวิกฤติการเงินและวิกฤติเศรษฐกิจลูกใหญ่ตอนปลายทศวรรษ 2010 ทำให้ผู้สังเกตการณ์หลายคนตั้งความหวังว่า อาจถึงเวลาที่ผู้ดำเนินนโยบายทั่วโลกจะหันมาใส่ใจกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในวงกว้างจนเกิดเป็นกระแสใหม่ได้สำเร็จ

ในประเทศไทย การพัฒนาที่ยั่งยืนดูจะยังอยู่อีกยาวไกล ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีปัญหาเชิงโครงสร้างหลายประการที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในคอลัมน์ Info * Graphic * Fun ตอนนี้ ผู้เขียนสรุปสถานการณ์และยกตัวอย่างมาสั้นๆ พอเป็นสังเขป

(คลิกที่รูปเพื่ออ่าน)

นานเท่าไรจึงตระหนักว่าไม่ยั่งยืน?
นานเท่าไรจึงตระหนักว่าไม่ยั่งยืน?