ThaiPublica > คอลัมน์ > Faulty by Design? การกำกับดูแลธุรกิจไทย แบ่งตามที่มาของผู้กำกับดูแล

Faulty by Design? การกำกับดูแลธุรกิจไทย แบ่งตามที่มาของผู้กำกับดูแล

17 พฤษภาคม 2012


สฤณี อาชวานันทกุล

ในยุคที่แทบไม่มีใครถกเถียงอีกต่อไปว่ารัฐควรหรือไม่ควรกำกับตลาด (ยกเว้นนักคิดขวาจัดที่ยังฝันลมๆ แล้งๆ ว่า ตลาดเสรี “ดูแลตัวเองได้”) โครงสร้างเชิงสถาบันของการกำกับดูแลธุรกิจในประเทศไทยยังล้าหลังอย่างน่าเป็นห่วงแต่มีน้อยคนที่สังเกตเห็น กฎหมายสำคัญหลายฉบับที่ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรจำนวนมาก รวมทั้งฉบับที่สำคัญที่สุด คือ พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสนามแข่งขันที่เท่าเทียมและขจัดการใช้อำนาจเหนือตลาด ยังดูจะเป็นเพียง “เสือกระดาษ” เท่านั้น ในสายตาของผู้สังเกตการณ์หลายคนรวมทั้งผู้เขียนคอลัมน์

โดยคำนึงถึงภาษิตโบราณว่า “ถ้ากลัดกระดุมเม็ดแรกผิด มันก็จะผิดไปตลอด” Info * Graphic * Fun ตอนนี้ขอนำเสนอโครงสร้างคณะกรรมการที่มีอำนาจกำกับดูแลธุรกิจสำคัญๆ ในไทย แบ่งตามประเภทที่มาของกรรมการแต่ละคน เรียงตามสัดส่วนตัวแทนจากธุรกิจที่อยู่ใต้การกำกับดูแล จากมากไปหาน้อย พร้อมทิ้งปุจฉากับคนอ่านว่า มีประเทศอื่นนอกจากไทยอีกหรือไม่ที่ผู้อยู่ใต้กำกับสามารถส่งตัวแทนมากำกับตัวเอง? เป็นไปได้หรือไม่ที่โครงสร้างคณะกรรมการแบบนี้จะนำไปสู่การกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม?

หมายเหตุ: สำหรับรายชื่อและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดต่างๆ ผู้สนใจสามารถสืบค้นได้จากหน้านี้บนเว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

(คลิกที่รูปเพื่ออ่าน)

Faulty by Design? โครงสร้างการกำกับดูแลธุรกิจบางประเภท
Faulty by Design? โครงสร้างการกำกับดูแลธุรกิจบางประเภท